User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ยุคของ "คลาวด์คอมพิวติ้ง"
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ยุคของ "คลาวด์คอมพิวติ้ง"

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคต่อไปไม่ใช่รูปแบบเดิม ๆ ที่ต้องเก็บไฟล์ทุกอย่างไว้ในฮาร์ดดิสก์ แต่ขยับไปสู่เทคโนโลยีที่เรียกว่า "คลาวด์คอมพิวติ้ง"

"เว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยน" รายงานว่า ในอดีตเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ก หากต้องการทำไฟล์เอกสาร, ตาราง หรือเขียนอีเมล์ ต้องทำผ่านโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง ข้อมูลทั้งหลายจะเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ แม้คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต แต่การทำงานยังเกิดเฉพาะในตัวเครื่อง

ปัจจุบันเริ่มมีคนใช้วิธีให้ คอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตามาก่อนประมวลผล หรือทำงานแทน โดยเครื่องเหล่านั้นอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต "คลาวด์" (ตั้งชื่อตามลักษณะแผนภาพเน็ตเวิร์กที่วาดเป็นรูปก้อนเมฆ) เมื่อวิธีการดังกล่าวเริ่มแพร่หลาย ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนไม่น้อยจึงกลายเป็นผู้ใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง"

ขณะ นี้การใช้งานยังขยายไปถึงการทำงานบนสมาร์ทโฟน, ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์พกพาอย่างเน็ตบุ๊ก ข้อมูลส่วนใหญ่บนอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้เก็บเอาไว้ในเครื่อง แต่เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ให้บริการอย่างกูเกิล, ยาฮู, เฟซบุ๊ก, อะเมซอน และไมโครซอฟท์ หากต้องการมากกว่าเช่าคอมพิวเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนบนคลาวด์ เช่น บริการของอะเมซอนในขณะนี้

บริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เพราะความประหยัดเป็นหลัก ทำให้ไม่ต้องตั้งแผนกงานไอทีซึ่งเป็นทั้งส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ทำให้ เกิดกำไร พวกเขายังมีทางออกอื่นด้วยการใช้เทคโนโลยีคลาวด์เปิดโอกาสให้บริษัทไอทีดูแล ระบบไอทีพื้นฐานแทน สิ่งที่องค์กรเหล่านี้ต้องทำมีแค่จ่ายค่าเช่าการใช้งานคลาวด์เท่านั้น

สำหรับ ผู้บริโภคทั่วไปหันมาใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เพราะฝีมือของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ อาทิ ไมโครซอฟท์, กูเกิล หรือยาฮู ที่เสนอรูปแบบบริการที่เป็นประโยชน์ โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่านี่คือเทคโนโลยีคลาวด์แบบหนึ่ง

ตัวอย่างที่ เห็นได้ชัด ได้แก่ เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิล หรือบิง, เว็บเมล์"ฮอตเมล์" หรือ "จีเมล์", เว็บโพสต์รูป"ฟลิกเกอร์" หรือ "พิคาซ่า" และ โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" เป็นต้น

บริการเหล่านี้คือ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" ที่ให้ใช้งานได้ฟรี แต่อาจหารายได้ผ่านโฆษณาทั้งไม่ต้องการซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อเปิดใช้ เว้นแต่เว็บบราวเซอร์สักตัวในเครื่อง

"คลาวด์คอมพิวติ้ง" ยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์หลายด้าน กลุ่มที่ชอบถ่ายรูป ข้อดีของการเก็บภาพไว้บนคลาวด์ คือทำให้เผยแพร่ภาพให้คนอื่นเห็นได้สะดวก ใช้เป็นคลังภาพสำรองกรณีฮาร์ดดิสก์เสีย โดย "ฟลิกเกอร์" เป็นเว็บไซต์ด้านรูปภาพที่ขึ้นชื่อที่สุด แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเริ่มตีตื้นขึ้นมา เนื่องจากทั้งคู่ทำให้ผู้ใช้นำภาพไปแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้โดยสะดวก

ผู้ ที่นิยมเสียงเพลง "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เปิดโอกาสให้ฟังเพลงจากที่ไหน เวลาใด ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้ ทำให้ค่ายเพลงเก็บข้อมูลเพลงที่ซื้อไว้แบบออนไลน์ ข้อมูลลำดับการเล่นของลูกค้าแต่ละคน

"แอปเปิล" ไอ-คลาวด์ เป็นเจ้าตลาดเพลงออนไลน์ แต่เซอร์วิสของแอปเปิลก็ต้องพบกับคู่แข่งสำคัญ "โซนี่ มิวสิก อันลิมิเต็ด" ที่มีจุดเด่นเรื่องการมีคลังเพลงที่โดดเด่น ฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ หรือเกมเพลย์สเตชั่น 3 ได้

คลาวด์คอม พิวติ้งสำหรับ "นักเล่นเกม" ต่างออกไป ไม่ได้ใช้ระบบให้ลูกค้าอัพโหลดไฟล์เกมไว้บนเซิร์ฟเวอร์ ผู้เล่นไม่ได้เป็นเจ้าของเกมโดยตรง แต่เล่นเกมของผู้ให้บริการผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง

ผู้ให้บริการเกมผ่าน คลาวด์รายใหญ่บริษัท "ออนไลฟ์" คิดค่าบริการเป็นรายเดือน จากนั้นจะถ่ายทอดสดภาพเกมไปสู่หน้าจออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ลูกค้ารายนั้นใช้ ทั้งจอคอมพิวเตอร์, จอเครื่องแมค, จอทีวี หรือแม้แต่แท็บเลต

นอกจากคลาวด์จะเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์แล้ว ยังเริ่มมีอิทธิพลไปสู่ฮาร์ดแวร์แบบใหม่ด้วย

"กูเกิล" ออกแล็ปทอปชื่อ "โครมบุ๊ก" ให้การทำงานของเครื่องส่วนใหญ่พึ่งคลาวด์เซอร์วิสจาก "กูเกิล"

"โค รมบุ๊ก" จะต่อไปยังเว็บบราวเซอร์ทันทีที่เปิดเครื่อง เช่นเดียวกับ "แท็บเลต" ของอะเมซอน "คินเดิ้ล ไฟร์" ที่ใช้กับคลาวด์เซอร์วิสของบริษัทได้
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.