User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » "วิกฤติน้ำท่วม" ดันทราฟฟิกเน็ตพุ่ง
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

"วิกฤติน้ำท่วม" ดันทราฟฟิกเน็ตพุ่ง

ทรูฮิต"ระบุการ จราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 5% ส่วน "ฟรอสต์ฯ" สำนักวิจัยระดับโลก บอกการเปิดดูหน้าเว็บต่อวันสูงกว่าเดือนที่แล้วถึง 40%

วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้บทบาทของอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่างๆ โซเชียล เน็ตเวิร์คหลาย ประเภทถูกใช้เป็นช่องทางข้อมูลข่าวสารนอกเหนือจากสื่อหลักที่ทำหน้าที่อยู่ แล้ว แต่อาจไม่เพียงพอต่อข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลมาจากทุกพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม

"ทรูฮิต" ระบุการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (ทราฟฟิก) เพิ่มขึ้น 5% ส่วน "ฟรอสต์ฯ" สำนักวิจัยระดับโลก บอกการเปิดดูหน้าเว็บต่อวันสูงกว่าเดือนที่แล้วถึง 40% โซเชียล เน็ตเวิร์คใช้กันอย่างคึกคัก หัวข้อที่ถูกพูดถึงมากสุด หนีไม่พ้นเรื่อง "น้ำท่วม"


ทราฟฟิกบนเน็ตพุ่งพรวด
"ปิยะ ตัณฑวิเชียร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคนิค บริษัท ศูนย์วิจัยนวัตกรรม อินเทอร์เน็ตไทย จำกัด ผู้จัดทำสถิติข้อมูลการใช้บริการเว็บไซต์ในประเทศไทย (www.truehits.net) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมเป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (ทราฟฟิก) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลสำรวจล่าสุดพบว่า แต่ละวันมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3-5%


ทั้งนี้เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเว็บไซต์ของสำนักข่าว ต่างๆ และเว็บไซต์อันดับท็อป 10 ในประเทศไทย เช่น สนุก ดอท คอม (sanook.com) กระปุก ดอท คอม (kapook.com) เอ็มไทย ดอท คอม (mthai.com) เด็ก-ดี ดอท คอม (dek-d.com) และเอ็กซ์ทีน ดอท คอม (exteen.com) เป็นต้น

“กระปุกดอทคอมโดดเด่นขึ้นมามากที่สุด ปัจจุบันมียูนีคไอพีอยู่ราว 6 แสน ช่วงที่สถานการณ์มีท่าทีรุนแรงการเข้าชมทำลายสถิติตัวเองที่ 8 แสนต่อวัน โดยส่วนหนึ่งมาจากลิงค์ที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ใหม่ที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงาน สถานการณ์ครั้งนี้โดยเฉพาะชื่อว่า ไทยฟลัดดอทคอม (thaiflood.com)”

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์อื่นๆ ที่โดดเด่นขึ้นมามากกว่าปกติคือหนังสือพิมพ์ที่มีหัวข้อข่าวเป็นภาษาอังกฤษ 2 ฉบับคือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป และบางกอกโพสต์ โดยช่วงนี้อันดับความนิยมกระโดดขึ้นมามากกว่าเท่าตัว
ใช้โซเชียลฯ รับข่าวเพิ่มกว่า 10 เท่า

นายวรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง คอลัมนิสต์ด้านโซเชียล มีเดีย กล่าวว่า ปริมาณคนใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คติดตามข้อมูลข่าวสารช่วงน้ำท่วมขณะ นี้ น่าจะเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติมากกว่า 10 เท่า ขณะที่ มีปรากฏว่า มีจำนวนผู้ใช้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สมัครแอคเคาท์ทวิตเตอร์เอาไว้ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทวิตเเตอร์เพื่อเป็นข้อมูล หรือไม่ก็ไปแบ่งปันเพื่อนๆ คนอื่นที่อยู่เฟซบุ๊ค

"ผมว่า จำนวนคนใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คช่วงน้ำท่วม ตอนนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเยอะมาก จากช่วงเวลาปกติ เพราะมีทั้งผู้ที่ใช้งานทวีต หรือแบ่งปันข้อมูลกันอยู่แล้ว รวมกับผู้ใช้หน้าใหม่ ที่แค่สมัครแอคเคาท์ไว้เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะ เป็นเหมือนช่องทางการรับข่าวสารของคนอีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากช่องทางเอสเอ็มเอส และช่องทางจากสื่อกระแสหลัก"

เขาระบุว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปริมาณคนใช้โซเชียล เน็ตเวิร์ค หรือเว็บไซต์มากขึ้น เพราะถือเป็นช่องทางกระจายข่าวสารที่ไปถึงผู้ประสบภัยที่ต้องการความช่วย เหลือ หรือผู้ที่เป็นอาสาสมัคร ที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือได้เร็วมากกว่าสื่อกระแสหลัก จะเห็นว่า มีหลายอาสาสมัครที่ใช้ทั้งทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค และวอทส์แอพ ในกระจายข่าวสารถึงกัน

"แต่สิ่งที่ต้องระวังมาก คือ เรื่องของข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง เพราะข่าวจะถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็วมาก และอาจไปสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นได้ คือ ผมมองว่าที่คนหันมาใช้โซเชียล เน็ตเวิร์ค มากช่วงนี้ อาจจะด้วยข้อจำกัดของสื่อจากทางภาครัฐที่ให้ข้อมูลได้ไม่รวดเร็ว หรือข้อมูลเรื่องการเตรียมตัวที่ไม่มากพอ ขณะที่ ในโซเชียล เน็ตเวิร์ค ทั้งทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค จะมีคนโพสแนวทางป้องกัน น้ำมาต้องทำอย่างไร คนก็หันมาหาข้อมูลจากทางนี้มากขึ้นกว่าปกติ" นายวรวิสุทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของเว็บไซต์ ไทยเทรนด์ http://www.lab.in.th/thaitrend ระบุว่า แทค (Tag) หรือหัวข้อของการทวีตที่มีคนพูดมากที่สุดคือ "Thaiflood" ส่วนวลีหรือคำที่พูดถึงมากสุด คือ "น้ำท่วม" และทวีตมากถึง 2 ล้านกว่าทวีตต่อวัน จากคนทวีตที่แอคทีฟเป็นจำนวนกว่า 2-3 แสนคนต่อวัน

คนเปิดเว็บดูข้อมูลพุ่ง 40%
ขณะที่ ผลการวิเคราะห์ของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกเปิดเผยว่า หน้าเว็บไซต์ระดับท็อป 10 มีการเปิดดูต่อวันสูงขึ้นจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา 40% ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ข่าว เช่น “Nationchannel.com” และ “Bangkokpost.com” โดยเติบโตมากกว่าเท่าตัวภายใน 1 เดือน ขณะที่เว็บไซต์ของ “มติชน” และ “คมชัดลึก” มีอัตราการเติบโตของการเปิดชมมากกว่า 50%

"มนธิสินี กีรติไกรนนท์" ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่า ปริมาณของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่ออ่านเว็บไซต์ข่าวในประเทศเพิ่มขึ้นอย่าง มาก ส่วนใหญ่สามารถแบ่งวัตถุประสงค์ได้เป็นสองลักษณะคือ เชื่อมต่อกับผู้อื่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการอัพเดทข่าวน้ำท่วมผ่านทาง เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และใช้ตรวจสอบสถานการณ์ของน้ำ รวมถึงรับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

"เฟซบุ๊คยังคงเป็นเครือข่ายหลักที่ได้รับความนิยมสูง ขณะนี้มีผู้ใช้ในประเทศไทยเกือบถึง 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 17% ของประชากร เทียบกับปีที่ผ่านมาเดือนนี้มีอัตราการเติบโตมากกว่าเท่าตัว ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราผู้ใช้เฟซบุ๊คเติบโตเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก บราซิล และอินเดีย และมีแนวโน้มว่าอัตราการเติบโตจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสูงถึง 150% ใกล้เคียงกับประเทศอินเดีย ที่มีอัตราการเติบโต 162%" เธอกล่าว

ผลักนโยบายสู่รัฐช่วยส่วนรวม
"ปรเมศวร์ มินศิริ" ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์กระปุกดอทคอม และเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ช่วยผู้ประสบภัย "Thai Flood" เล่า ถึงสถานการณ์การติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ไทยฟลัดของประชากรอินเทอร์เน็ตในแต่ ละวันว่า มีผู้เข้าชม 2-3 แสนครั้ง ในทวิตเตอร์มีแทร็คข้อความวันละ 3 แสนข้อความ มีผู้ติดตามล่าสุด (21 ต.ค.) 64,935 คน ขณะนี้ทีมงานที่มีประมาณ 10 คน กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อรวบรวมข้อมูล จากเดิมที่ประเมินสถานการณ์ทุก 24 ชม. เปลี่ยนเป็นทำทุกๆ 12 ชั่วโมง

เขาเผยว่า แนวทางการทำงานยังยึดมั่นเรื่องการไม่แสวงหาผลกำไรภายใต้ 4 บทบาทสำคัญคือ การเป็นศูนย์ข้อมูลที่ดี น่าเชื่อถือ รวดเร็ว ศูนย์ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทำหน้าที่ช่วยบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกับนกแอร์ และล่าสุดผลักดันนโยบายสู่ภาครัฐ

“ผมมีพื้นฐานความรู้ด้านวิศวกรจึงอยากเข้ามาช่วยเหลือด้านนี้ ไม่ได้อยากเข้าไปก้าวก่ายงานของใคร คิดว่าถ้าไม่ทำรังสิตจะตาย ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับส่วนรวม” หัวเรือใหญ่ไทยฟลัดทิ้งท้าย
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.