User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เปิดมุมมอง 2 "กสทช." มิติคุ้มครองผู้บริโภคของอดีต NGO
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เปิดมุมมอง 2 "กสทช." มิติคุ้มครองผู้บริโภคของอดีต NGO

มากกว่าความใหญ่โตของภารกิจในการกำกับดูแลกิจการด้านโทร คมนาคมในอดีตในบทบาท "กทช." และล่าสุดกับบทบาทใหม่ที่เพิ่มขึ้นขององค์กรใหม่ "กสทช." กับงานด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

มากกว่ามูลค่า (มหาศาล) ที่เพิ่มขึ้น จากขอบเขตของอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมมากขึ้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ซึ่งจะว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีก็คงไม่ผิดนัก เพราะ 2 ใน 11 "กสทช." ชุดปัจจุบัน มีประสบการณ์ในการทำงานภาคประชาชนมาอย่างโชกโชน 1 ใน 2 ยังเคยเป็นอดีตผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ "สบท."

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับนี้จึงถือโอกาสพูดคุยกับ "2 กสทช." สุภิญญา กลางณรงค์ และ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ดังต่อไปนี้

สุภิญญา กลางณรงค์

กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

- ปัญหาของผู้บริโภคในปัจจุบัน

ปัญหา ด้านบรอดแคสต์เป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่เคยมีหน่วยงานเข้ามาดูแลปัญหาโดยตรง ต่างจากฝั่งโทรคมนาคมที่ก่อนหน้านี้ยังมี สบท. จึงสะสมปัญหามายาวนาน ทั้งคอนเทนต์และเทคนิค ผู้ประกอบการเยอะมาก แค่เคเบิลทีวีและวิทยุชุมชนก็เป็นหมื่นราย ข้อร้องเรียนปัญหาก็มีหลากหลาย ทั้งเนื้อหาละคร โฆษณาขายสินค้า ต่างกับด้านโทรคมฯที่มี โอเปอเรเตอร์น้อยราย ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่การให้บริการและมักส่งเรื่องไปจบที่ศาล ด้านบรอดแคสต์ต้องสร้างกลไกรับเรื่องร้องเรียนเพื่อหาแนวทางแก‰ป?ญหาร่วมกัน

- ดีไซน์กลไกคุ้มครองไว้แบบไหน

พ.ร.บ. ใหม่ให้ทำงานผ่านอนุกรรมการ 2 คณะ เพื่อทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบรอดแคสต์ กับโทรคมฯ แต่หัวใจสำคัญคือต้องหา ทีมงานมาสนับสนุนการทำงาน กำลังหารือกันว่าจะดีไซน์รูปแบบองค์กรอย่างไร หลักการทำงานควรรวมทั้ง 2 ด้านให้เป็นองค์กรเดียว เพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เทคโนโลยีมีการหลอมรวม จนคนดูทีวีบนมือถือได้ การแยกปัญหาทำได้ลำบาก แต่ กม. ระบุให้มี 2 ชุด จึงยังไม่ได้ข้อสรุป

- งานเร่งด่วนที่จะเร่งผลักดัน

ตาราง คลื่นความถี่และแผนแม่บททั้ง 2 กิจการเป็นเรื่องเร่งที่สุด เพราะถ้าไม่เสร็จจะทำงานอื่นต่อไม่ได้เลย แม้ตามกฎหมายจะกำหนดให้เสร็จภายใน 1 ปี แต่โดยส่วนตัวอยากให้เสร็จภายใน 6 เดือน

ขณะที่โครงสร้าง องค์กรก็สำคัญ แต่ กสทช.มีแต่บุคลากรด้านโทรคมฯกว่าพันคน ไม่มีด้านบรอดแคสต์เลย ทั้ง ๆ ที่การทำงานต้องเน้นเข้าหามวลชนและผู้ประกอบการจำนวนมาก แต่จะให้รับพนักงานมาทำด้านบรอดแคสต์ใหม่อีกเป็นพันคนคงไม่ได้ ตอนนี้บางส่วนงานคนล้น บางฝ่ายคนขาด เท่า ๆ ที่ประเมินไว้คงต้องหาคนมาทำงานด้านบรอดแคสต์อีกสัก 200 คน

ส่วนที่ ดูด้านคุ้มครองผู้บริโภคข้อเสนอโดยส่วนตัว คือให้เป็น 1 หน่วยงาน โดยใช้ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนร่วมกัน แต่แยกภารกิจเพื่อให้ประสานงานได้ใกล้ชิด ไม่เทอะทะ คาดว่าช่วงแรก 30-40 คน

- มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่วางไว้

ปัญหา ร้องเรียนด้านบรอดแคสต์ที่ต้องเร่งจัดการคือเรื่องคอนเทนต์ ทั้งเนื้อหาละครและโฆษณา จะเน้นการทำงานในเชิงรุก ต้องหาทางทำให้เสียงของผู้บริโภคสะท้อนไปถึงผู้ผลิต คอนเทนตŒ โดยอาจเปิดเวทีฟอรั่มทุกเดือน เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาวางกติการ่วมกัน ขีดเส้นว่าอะไรคือเสรีภาพของสื่อที่ไม่ควรเข้าไปยุ่ง อะไรที่อยู่ในจุดที่สมควรตรวจสอบโดยคนนอกหรือองค์กรวิชาชีพ เปิดเวทีให้ผู้บริโภคสะท้อนปัญหา ความต้องการ รวมถึงให้ผู้ประกอบการเสนอแผนปรับปรุง

ปัญหาเนื้อหาโฆษณาตามเคเบิล ทีวีหรือทีวีดาวเทียมจะประสานกับ อย. ออกแบบกระบวนการตรวจสอบก่อนให้ออกอากาศที่สอดรับการได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.ด้วย

ทั้งเร่งแก้ปัญหาคลื่นวิทยุกวนกัน แม้ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ refarming คลื่นความถี่ใหมˆ แบ่งโซนเพื่อสาธารณะ ธุรกิจ และชุมชน แต่คงยาก เป็นแผนระยะยาว 4-5 ปี ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล การแก้ปัญหาระยะสั้นที่มองไว้คือ ดึงมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอาชีวะเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานเครื่องส่งวิทยุชุมชน

- ปัญหาที่หนักใจ

เหนื่อย ใจ มากกว่า กสทช. เพิ่งตั้งไข่ ใจอยากให้เดินหน้าทำงานเร็ว ๆ แต่ตอนนี้ต้องมาประชุมเน้นหนักไปในเรื่องการจัดระเบียบงานบริหาร อาทิ โครงสร้างองค์กร กำลังคน ซึ่งไม่ค่อยถนัดแถมมีปัญหาศึกนอกศึกในอีก แรงเสียดทานเยอะ แต่ต้องทำให้ดีที่สุด คนคาดหวังกับองค์กรนี้ไว้มาก ต้องทำให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาลในการใช้เงิน

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา

กิจการโทรคมนาคม

- ปัญหาที่พบมากในปัจจุบัน

จาก ประสบการณ์ในการทำงาน สบท. ปัญหาหลัก ๆ ไปอยู่ที่เรื่องการเก็บเงินผิด วันหมดอายุของระบบพรีเพด คุณภาพบริการ เมื่อมาเป็น กสทช. คงต้องเร่งสะสางปัญหาพวกนี้

เรื่องแรกที่ต้องเร่ง คือ วันหมดอายุ พรีเพด เพราะศาลปกครองมีคำสั่งให้ กสทช.ต้องบังคับโอเปอเรเตอร์ปฏิบัติตามประกาศ กทช.ว่าด้วยมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เกี่ยวกับวันหมดอายุบริการแบบพรีเพด ภายใน 90 วัน หลังมีคำสั่งศาล ซึ่งผ่านมาราว 30 วันแล้ว ฉะนั้นต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อบังคับใช้ประกาศเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และเอกชนไม่เจ๊ง

เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตาม ม.31 ว.2 พ.ร.บ.กสทช. ที่ระบุให้ กสทช.ต้องออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ และ มีการใช้เครือข่ายหรือโฆษณาอันมีลักษณะค้ากำไรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ เน้นที่ปัญหา สแปม เอสเอ็มเอส หรือเอสเอ็มเอส หลอกเอาเงิน เป็นภารกิจหลักที่ต้องหาทางออก

เรื่องใบอนุญาต 3G แม้ไม่ใช่ปัญหาผู้บริโภคโดยตรง แต่ทุกฝ่ายต้องการให้เกิด โอเปอเรเตอร์ และผู้ใช้บริการ ไม่ใช่แค่ความต้องการทางเทคนิค แต่หมายถึงทางออกที่จะรับมือลูกค้าหลังสัมปทาน อีก 4-5 ปีนี้จะมีลูกค้ากลุ่มนี้ 10-20 ล้านคน ไม่มีมาตรการรับมือก่อนโกลาหลแน่นอน

- อุปสรรคในการทำงาน สบท.

การ บังคับใช้กม.ให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ สบท. แต่มีขั้นตอนในส่วนของกรรมการ กสทช. และสำนักงาน ทั้งการกำกับดูแล ตีความและบังคับใช้กม. ถ้าขาดการสนับสนุนจากส่วนหนึ่งส่วนใดก็จบ สิ่งที่ต้องทำคือชักจูงให้ครบทุกด้าน

อย่างนัมเบอร์พอร์ต กม.ประกาศใช้มา 2 ปีกว่าแล้ว แต่ประชาชนยังไม่สามารถใช้ได้ทั่วประเทศ ฉะนั้นต้องบูรณาการทำงานทั้งหมดเพื่อรองรับการบังคับใช้ กม.ให้มีประสิทธิภาพ

- มีงานส่วนไหนที่น่าหนักใจ

โครงสร้าง องค์กรใหม่ยังไม่เรียบร้อย บุคลากรเดิมอยู่แต่ในด้านโทรคมนาคม เมื่อมีภารกิจด้านบรอดแคสต์ด้วยต้องหาทางทำให้โครงสร้างการทำงานมี ประสิทธิภาพโดยไม่ใหญ่เกินไป ก่อนรับตำแหน่ง สำนักงาน กสทช.ได้จ้างที่ปรึกษาไว้หลายเจ้า คงต้องนำผลการศึกษามาดู

การสรรหา เลขาธิการ สำนักงาน กสทช. ที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ในแนวปฏิรูปก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ ซึ่งต้องเร่งสรรหาให้ได้ใน 90 วัน ซึ่ง กสทช.มีมติแล้วว่า จะให้กระบวนการสรรหาเป็นแบบเปิด ไม่ใช่นึกอยากหยิบชื่อใครก็ได้

- มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุก

ด้าน บรอดแคสต์มีความเชื่อ เรื่องการทำความเข้าใจร่วมกัน ส่วนโทรคมนาคมภารกิจ สบท. ที่ผ่านมา ทำให้รู้ปัญหาแล้วว่า วนเวียนในกลุ่มนี้จะให้สำนักงานรวบรวมข้อเท็จจริงปัญหามาเสนอ เพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยออกประกาศหรือกฎระเบียบให้ โอเปอเรเตอร์นำไปปรับปรุงคุณภาพ บริการให้ดีขึ้น

- การคุ้มครองผู้บริโภคจะดีขึ้น

11 กสทช. ตกลงว่าจะให้แต่ละคนกำหนดเป้าหมายว่า ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งต้องเห็นอะไรเกิดขึ้น ก่อนนำมารวมกันเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายรวม แยกตามมิติต่าง ๆ อาทิ มิติคุ้มครองผู้บริโภคที่จะกำหนดกติกา การคุ้มครองด้านราคาและคุณภาพ มิติการกำกับดูแล ฯลฯ เพื่อนำทั้งหมดมากำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน อีก 1-2 เดือนจะมีการประกาศยุทธศาสตร์ออกมา
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.