User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ทีโอที อ้างมึน ยกเลิกโนติสเอไอเอส 3.7 หมื่นล.
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ทีโอที อ้างมึน ยกเลิกโนติสเอไอเอส 3.7 หมื่นล.

ทีโอทีส่งหนังสือถึงเอไอเอส หลังยกเลิกหนังสือเตือน (โนติส) คดีความเรื่องความเสียหายจากการแก้สัมปทานมือถือมูลค่ากว่า 37,000 ล้านบาท อ้างสาเหตมาจากการคำนวนเงินผิดซ้ำซ้อน ด้านอนุญาโตฯสั่งถอนพิพาทออกจากระบบตั้งแต่ 10 ต.ค.

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2554 ทีโอทีได้ส่งหนังสือแจ้งถึง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ว่า ทีโอทีได้ขอยกเลิกการเรียกร้องจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่เอไอเอสแก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) รวมเป็นเงินมูลค่ากว่า 3.7 หมื่นล้านบาท โดยให้เหตุผลพบข้อเท็จจริงของตัวมูลค่าความเสียหายที่คลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดจากการคำนวนที่ซ้ำซ้อนของเก่า

ทั้งนี้จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีข้อพิพาทที่ทำให้บริษัทต้องดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการต่อทีโอที อีกต่อไป จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอสจึงได้ยื่นคำร้องขอถอนคำเสนอข้อพิพาท และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ต.ค. สถาบันอนุญาโตตุลาการได้แจ้งคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำเสนอข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า การที่ทีโอทีตัดสินใจยื่นฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย 37,000 ล้านบาท เป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) สมัยนั้น ได้มีมติให้ ทีโอทีฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้งหมด และค่าเสียหายจากการแปลงส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต รวมเป็นจำนวนถึง 7.5 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2553

“ถึงแม้จะมีกระแสข่าวออกมาว่าที่ยกฟ้องเพราะการเมืองมีการเปลี่ยน ขั้วก็ตาม แต่ยังยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจริงๆแล้วมีสาเหตมาจากเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานมีการคำนวนความ เสียหายที่ซ้ำซ้อน เราจึงต้องแจ้งไปยังอนุญาโตฯเพื่อถอนฟ้อง”

สำหรับค่าเสียหายในจำนวนดังกล่าวในเบื้องต้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นค่าเสียหายจากการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับเงินเพิ่มรวม 36,800 ล้านบาท และ 2. ส่วนที่เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่แก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) รวมเป็นเงินกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท รวมในช่วงนั้น ที่นายจุติ ให้ทีโอทียื่นฟ้องเอไอเอสรวม 75,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ประเด็นแรกที่เกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตนั้นได้มีการเสนอข้อพิพาทขึ้นสู่กระบวน การอนุญาโตตุลาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 และก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยที่ยังมิได้มีคำชี้ขาดแต่อย่างใด ส่วนในประเด็นของค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานทีโอที ได้ดำเนินการส่งหนังสือเตือน (โนติส) ไปยังเอไอเอส เพื่อให้ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ดังกล่าวแล้วตามจำนวนเงินที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือเงินจำนวนกว่า 37,000 ล้านบาท

โดยในขณะนั้น นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส ก็ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 4 ก.พ. 2554 ถึงฝ่ายกฎหมายของ ทีโอที เพื่อโต้แย้งการขอให้ชำระเงินดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าสัญญาสัมปทานไม่ได้กำหนดห้ามมิให้แก้ไขสัญญา อีกทั้ง ข้อสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความสมัครใจและความประสงค์ที่จะให้มีข้อผูกพันตามที่ปรากฏในข้อตกลง

อย่างไรก็ดี ทีโอที และ เอไอเอส ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะคู่สัญญา ดังนั้น เมื่อ เอไอเอส มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทีโอที จึงไม่มีสิทธิที่จะยกเหตุผลอันไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นกล่าวอ้างว่าเป็นข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาที่ไม่มีผลผูกพัน เอไอเอส และ ทีโอที ต่อไป

ขณะที่ นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในขั้นตอนการฟ้องร้องระหว่างทีโอที กับเอไอเอส ยังคงอยู่ในขบวนการทางกฎหมาย โดยกรณีภาษีสรรพสามิตโทรศัพท์มือถือ และค่าปรับ คิดเป็นเงิน 36,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ถึงแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ว่าการชำระ ภาษีสรรพสามิตของเอไอเอสเป็นไปอย่างถูกต้อง ทีโอที ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหาย แต่ทีโอที ก็ต้องยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครอง ฉะนั้นกรณีของการพิพาทก็อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของศาลปกครอง

ส่วนกรณีข้อพิพาทการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่ให้ปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) คิดเป็นเงิน 37,000 ล้านบาทนั้น ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติแต่อย่างใด

นอกจากนี้กรณีที่ทีโอทีได้ทำหนังสือแจ้งเตือนให้เอไอเอสชำระค่าเสีย หายรวมเป็นเงิน 75,000 ล้านบาทนั้น เป็นการพิจารณาเมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมานั้น เป็นการดำเนินการของฝ่ายกฎหมาย เพื่อแจ้งให้เอไอเอสรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีข้อพิพาททั้งหมด แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ากรณีข้อพิพาทดังกล่าว อยู่ในขบวนการพิจารณาฟ้องร้องที่ยังไม่มีข้อยุติ ทางฝ่ายกฎหมายก็ได้ทำหนังสือแจ้งให้เอไอเอสได้รับทราบอีกครั้ง
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.