User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ศุภชัย เจียรวนนท์ 8 ปีแห่งความหลัง "ใครว่า ซี.พี. ไม่เก่งเทเลคอม"
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ศุภชัย เจียรวนนท์ 8 ปีแห่งความหลัง "ใครว่า ซี.พี. ไม่เก่งเทเลคอม"

8 ปีก่อน "แม่ทัพกลุ่มทรู-ศุภชัย เจียรวนนท์" เดินทางมาลอนดอน เพราะมีนัดกับซีอีโอใหม่ "ออเร้นจ์" หลังฟรานซ์เทเลคอมเข้าเทกโอเวอร์ พร้อมกับส่งสัญญาณถอยทัพการลงทุนในเอเชีย ถัดจากนั้นไม่นาน "ออเร้นจ์" ก็โบกมือลา

8 ปีผ่านไป "ศุภชัย" กลับมาลอนดอนอีกครั้งเพื่อมาเยี่ยมชมกิจการของบริติชเทเลคอม และธุรกิจมือถือของกลุ่มฮัทชิสันภายใต้ แบรนด์ 3

อะไรเปลี่ยนไปบ้าง "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเขาดังต่อ ไปนี้

- 8 ปีที่แล้วกับวันนี้ต่างกันเยอะไหม

8 ปีที่แล้วถือเป็นจุดเปลี่ยน ตอนนั้นต้องยอมรับว่าเราเข้ามาในธุรกิจมือถือช้าไป ช้ากว่าคนอื่น ประกอบกับมี telecom crisis อีก ถ้าไม่มีเราคงไปได้ไกลกว่านี้มาก

telecom crisis ทำให้ออเร้นจ์ต้องถอนการลงทุน ซึ่งก็เกิดจากการประมูลคลื่นนี่ล่ะ ฟรานซ์เทเลคอมซื้อออเร้นจ์แล้วมีหนี้เยอะมาก ต้องขายทุกอย่างและถอนการลงทุนนอกยุโรป ครั้งนั้นทำให้เราไม่สามารถเพิ่มทุนได้เป็นปี เพิ่มทุนไม่ได้ก็ขยายเน็ตเวิร์ก ไม่ได้ กลายเป็นเน็ตเวิร์กที่แพงที่สุด แต่พื้นที่การให้บริการต่ำสุด น่าเสียดายมาก

แต่ในทางกลับกัน เราก็ได้เรียนรู้เยอะจากวิกฤตนั้น

3G เป็นโอกาสของเราที่จะทำได้ดี และประเทศไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่นถือเป็นเทิร์นนิ่งพอยต์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากแค่ 3G อย่างเดียว แต่ธุรกิจเดินเข้าสู่การเปิดเสรีด้วย เพราะเมื่อมีไลเซนส์ใหม่ก็จะไม่จำกัดที่สัมปทานอีกต่อไป แต่แน่นอนว่าการแข่งขันก็จะรุนแรงมากขึ้น

- ในภาพรวมดี

น่าจะดีสำหรับทรู ในฐานะเบอร์ 3 ต้องการจุดเปลี่ยน ไม่งั้นโอกาสที่จะพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำไม่ง่าย

- โดยส่วนตัวลุ้นแค่ไหน

ถาม ว่าลุ้นไหม ก็ลุ้นเหมือนกัน แต่ผ่านการลุ้นมาเยอะ เราก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤต ทุกครั้งที่เราชะงักจะเกิดจากปัจจัยภายนอกทั้งนั้น วิกฤตค่าเงินบาท วิกฤตเทเลคอม ตอนนี้สัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจของโลกก็มาถึงแล้วในยุโรป แต่ยังโชคดีที่ไทยและแถบเอเชียน่าจะยังดี ครั้งก่อนเราแย่ แต่ครั้งนี้ตลาดเรา ผู้บริโภคของเราน่าจะมีอำนาจที่จะซื้อ

- ลบคำสบประมาทที่บอกว่า ซี.พี.ทำ เทเลคอมไม่เก่งได้ไหม

ก็ คิดว่านะ เราไม่ได้บอกว่าเราเก่ง แต่คิดว่าเรารู้ all the trick หมดแล้ว คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ เราได้เรียนรู้หมดแล้ว ถึงจุดนี้จึงเป็นเรื่องของเราแล้วว่า เราจะสามารถขยายได้ไหม ตลาดเติบโตจะขยายทันไหม

ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญซึ่งเราก็มีบทเรียน มาก ทำให้เตรียมเรื่องเงินกู้อะไรต่าง ๆ เรียกว่าพยายามทำตนเองให้พร้อมที่สุด เทียบกับครั้งก่อน ครั้งนี้พร้อมกว่าครั้งที่แล้วเยอะ

ถามว่าเราเป็นบริษัทคนไทย กลัวบริษัทข้ามชาติอย่างเทเลนอร์ หรือสิงคโปร์ไหม ไม่กลัวครับ เพราะเรา เป็นคอนเวอร์เจนซ์เพลย์ด้วย มีทั้ง บรอดแบนด์ คอนเทนต์ และเคเบิลทีวี

- งานหนักต่อไปคือ

ตัว ที่จะยากขั้นต่อไป คือการเป็นแบนด์วิดท์เพลย์ เหมือนการขายแอ็กเซสทำให้มาร์จิ้นไม่สูง ตัวที่จะสูงขั้นต่อไปเป็นเรื่องแอปพลิเคชั่น คอนเทนต์ เรื่องคลาวด์ ซึ่งเราก็ถนัดกว่าคนอื่น แต่ก็มีอะไรให้เรียนรู้เยอะ เพราะทั่วโลกกำลังไปตรงนี้ เพลเยอร์ที่จะมีมาร์จิ้นสูงคือ แพลตฟอร์ม โพรไวเดอร์ คอนเทนต์โพรไวเดอร์ เราต้องเกาะ ตามแวลูเชนไป ถ้าไม่ตามก็ยังอยู่ได้ แต่อยู่ได้แบบขายคอมโมดิตี้ คือมีมาร์จิ้นระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่า เพิ่ม และคว้าโอกาส

เป็นยุคของคลาวด์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต บนแบนด์วิดท์ที่พร้อมใช้แล้ว

- มาดู 3 ของฮัทชิสันจะนำมาประยุกต์ใช้บ้างไหม

ก็ ต้องดูเพราะตลาดมีความแตกต่างกัน แพ็กเกจบริการของเขาจะ บันเดิลไปกับมือถือ แพ็กเกจที่ดีที่สุด คิด 32 ปอนด์ต่อเดือน รวมมือถือด้วย มีไอโฟนตัวเดียวที่ต้องจ่ายเพิ่ม 69 ปอนด์ สัญญา 2 ปี หรือแพ็กเกจ ดาต้าอย่างเดียว ไม่มีมือถือ จ่าย 15 ปอนด์ ใช้ได้ครึ่ง GB ต่อเดือน

เรา อยู่ในโมเมนตัมนั้นอยู่แล้ว เป็นคนแรกที่นำไอโฟนมาขาย โทรศัพท์ที่ขายอยู่ 70-80% ก็เป็นสมาร์ทโฟน ตอบโจทย์ 3G โมบายบรอดแบนด์ ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่ออกมา

- หลังเปิดทรูมูฟเอชแล้ว ต่อไปคืออะไร

โดย พื้นฐานอยู่ที่ความครอบคลุม คุณภาพและความเร็ว เรามีทั้งไว-ไฟ และ 3G ซึ่งก็คือการขายแบนด์วิดท์ ในแง่แบรนด์ต่อไปคนจะพูดถึงทรู มากกว่า ซึ่งจะหมายถึงซีมเลส แพลตฟอร์ม เป็นแบนด์วิดท์โซลูชั่น ซึ่งต้องรอ 3G เสร็จ

- เสร็จคือเมื่อไร

เมื่อคัฟเวอร์ทั่วประเทศ เราก็จะเป็นแบนด์วิดท์เพลย์ เพราะเรื่อง บรอดแบนด์คนต้องการอิสรภาพ ในการใช้ ต่อไปเราไม่ได้ขายวอยซ์ หรือขายดาต้า แต่ขายแบนด์วิดท์ เหมือนคนซื้อน้ำ แต่น้ำเอาไปใช้ทำอะไรล่ะ ซักผ้า ทำอาหาร

แบนด์ วิดท์จะกลายเป็นของบริโภคพื้นฐาน คนไม่ได้ซื้อทีวี หรือคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ แต่ซื้อแบนด์วิดท์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้ใช้แบนด์วิดท์ได้
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.