User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » กูรู มองแท็บเล็ต ให้ผลลบต่อเด็ก 80.22%
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

กูรู มองแท็บเล็ต ให้ผลลบต่อเด็ก 80.22%

กู รู หนอนหนังสือ ถก นโยบาย One Tablet Pc Per Child ของกระทรวงศึกษาธิการ ถึงข้อดี-ข้อเสีย หลังผลสำรวจความคิดเห็นครูผู้ปกครอง นักเรียนป.1 จำนวน 809 คน ระบุ 95.72% ต้องการให้รัฐผลักดัน "วาระการอ่านแห่งชาติ" ต่อ ขณะที่ 80.22 %มองแท็บเลต แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่อาจก่อผลลบต่อเด็ก ทำให้สนใจการเรียนน้อยลง

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดครู และผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในชั้นประถม 1 และประชาชนทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 809 คน พบว่า 80.22% เชื่อว่าแม้ แท็บเล็ต จะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่อาจก่อผลด้านลบคือเด็กสนใจการเรียนลดลง หันไปสนใจเกมหรือเมนูอื่นๆ ในแท็บเล็ต จนส่งผลลบต่อสุขภาพเด็กเช่น สายตาเสีย ระบบประสาทสัมผัส ทักษะการเขียนลดลง โดยกังวลเรื่องการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เพราะครูและผู้ปกครองไม่สามารถดูแล หรือให้คำแนะนำการใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ตได้ตลอดเวลา

ที่สำคัญคือร้อยละ 18.06 เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและแท็บเล็ตมีราคาแพง ทั้งนี้สามารถสรุปข้อดี ของการใช้ Tablet ประกอบด้วย 47.74% สามารถศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้ได้ตลอดเวลา 32.44%เป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้กับการศึกษา 15.91%สะดวกในการพกพา 1.84%สามารถเปิดอ่านหรือหาข้อมูลย้อนหลังได้

ส่วนข้อเสีย ของการใช้ Tablet ประกอบด้วย 42.93% อาจเกิดการใช้งานผิดประเภท เนื่องจากใน Tablet มีเมนูต่างๆ ให้เล่นมากมาย ทำให้เด็กสนใจที่จะอ่านหนังสือหรือมีสมาธิในการอ่านหนังสือน้อยลง 22.22% เด็กจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่าการศึกษาในชั้นเรียน /เป็นการส่งเสริมให้เด็ก ยึดติดกับวัตถุนิยม 18.06%ราคาแพง / สิ้นเปลืองงบประมาณ 9.85%ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลหรือให้คำแนะนำได้เพราะ แท็บเล็ตสามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา 6.94% ทักษะในการเขียนของเด็กลดลง เด็กไม่ค่อยได้ฝึกเขียน

ข้อควรระวัง ของการใช้ Tablet ประกอบด้วย 36.60% การนำไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 32.87% ควรมีครูหรือผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพราะมีทั้งประโยชน์และโทษ 16.04%การดูแลรักษา อาจมีการชำรุดหรือสูญหาย 7.48%เด็กจะยึดติดกับเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกมากเกินไป ทำให้ไม่อยากเรียน 7.01%อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก เช่น สายตาเสีย ระบบประสาทสัมผัส ทักษะการฟัง เป็นต้น

รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวในงานเสวนา "วาระการอ่านแห่งชาติหายไป แต่ได้ One Tablet กลับมา" ว่า แท็บเล็ตมี 2 ความหมาย แปลว่าเป็นยาก็ได้ หรือจะแปลว่า เป็น แผ่นยาวๆ คล้ายกับกระดานชนวนก็ได้เหมือนกัน ดังนั้นในความหมายของตน มองแท็บเลตเป็นกระดานชนวน และที่กล่าวเช่นนั้น ไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี เพียงอยากให้มองนโยบาย One Tablet Pc Per Child ในหลายๆ ด้าน เนื่องจากเป็นนโยบายที่มีอายุของเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือกล่าวโดยสรุปง่ายๆ คือ เด็กที่จะใช้แท็บเล็ตได้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย เด็กอยู่ในภาวะที่สามารถอ่านออกเขียนได้ อ่านระหว่างบรรทัดได้อ่านออกเสียง ได้ และอ่านลักษณะวิเคราะห์เนื้อหาได้

ดัง นั้นถ้าเด็กยังอ่านหนังสือไม่แตกฉาน อุปกรณ์อย่างแท็บเลตจะไปเหมาะได้อย่างไร ในเมื่อเด็กประถม1ในชนบทส่วนใหญ่ ยังอ่านหนังสือไม่ออก สุดท้ายถ้าเด็กไม่มีคุณสมบัติการอ่านดังที่กล่าว เด็กจะเบี่ยงความสนใจไปเล่นเกมแทน หรือเด็กจะเป็นเพียงแค่ทางผ่าน และเมื่อเป็นเช่นนั้น รัฐจะทุ่มงบประมาณไปเพื่ออะไร ในเมื่อแท็บเลต 1 ตัวมีต้นทุนที่สูงกว่าหนังสือหลายเท่า ไม่ทนทาน และเสียง่าย และการใช้แท็บเลต ยังเกี่ยวข้องกับระบบสัญญาณโทรศัพท์ หากสัญญาณไปไม่ถึง อุปกรณ์ แท็บเลตก็ไม่ต่างจากกระดานชนวนธรรมดาชิ้นหนึ่งที่ใช้งานไม่ได้

วัลลภ ตังคณานุรักษ์ กรรมการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า ปีนี้ใช้เวลาอยู่กับเด็กมากที่สุดด้วยการเล่านิทาน สอนการอ่านด้วยการนำโปสเตอร์อักษรพยัญชนะไทยตั้งแต่ ก-ฮ และอักษรสระ มาเป็นเครื่องมือหรือเป็นแท็บเล็ตในความหมายของเขา เพราะปัญหาของเด็กตลอดช่วง 3 ปีมานี้ ส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก เพราะครูไม่รู้วิธีที่จะสอนให้เด็กอ่านหนังสือ บางคนอ่านได้แต่ไม่รู้ความหมายของหนังสือ

วรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากเด็กนำแท็บเลตมาไว้กับตัว จะทำให้เด็กมีความเป็นตัวตนสูง เกิดช่องว่างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โดยส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี แต่จะนำเทคโนโลยีมาเสริมตรงจุดไหน อย่างเช่นห้องสมุดซึ่งเป็นต้นทุนเดิมและเป็นแหล่งความรู้ที่ให้ประโยชน์กับ ทุกคน และควรจะทำอย่างไรที่จะสนับสนุนสิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนสื่อ การเรียนการสอนทางไกล (e-learning) ที่มีข้อจำกัด ให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.