User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » แท็บเล็ต คนไทยประกอบเองได้ ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อ
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

แท็บเล็ต คนไทยประกอบเองได้ ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อ

เนค เทค วอนเพิ่มทุนวิจัย และพัฒนาของประเทศจาก 0.5% ของจีดีพี ในปีงบประมาณถัดไป ชี้ แท็บเล็ต ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อ เชื่อ คนไทยทำได้

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังศึกษานโยบายของรัฐบาล ในประเด็นเรื่องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพราะสิ่งที่รับทราบ รัฐต้องการ จะเพิ่มตัวเลขค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ไปเป็น 7-8 เท่าภายใน 5 ปี หลังจากนี้เนคเทค จะหันไปมุ่งสนองนโยบายเพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจ เพราะไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลที่จะคาดหวัง ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมก็คาดหวังด้วย การทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา จะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นบูรณาการ โดยเฉพาะการวิจัยด้านการเกษตร จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที เข้าไปเป็นตัวช่วย เพื่อสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับ

สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมารองรับ นักวิจัยให้เข้ามาทำวิจัย ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเครื่องไม้ เครื่องมือ โดยเฉพาะ จะทำอย่างไรให้มีนักวิจัย ระดับปริญญาโท –ปริญญาเอก เข้ามาอยู่ในระบบ และทำวิจัยกันมากขึ้น ซึ่งคงต้องมีงบประมาณเข้ามาสนับสนุน ในระดับมาตรฐาน 1-2 ล้านต่อโครงการ

การวิจัยและพัฒนา ของไทย ที่ยังไปไม่ถึงไหน จะเห็นได้จากตัวเลขค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนา เพียง 0.25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี ซึ่งยังอยู่ที่เท่านี้มาตลอด ยังก้าวไปไม่ถึง 0.5% ของจีดีพี เหมือนปัญหาไก่ กับไข่ อะไรสำคัญกว่ากัน ขณะที่คนที่จะให้เงินงบประมาณมาทำวิจัย ก็ไม่มั่นใจว่าจะมีผลงานออกมา แต่แนวทางที่ถูกต้องรัฐบาลน่าจะยอมให้งบ ประมาณมาสักก้อน เชื่อว่าจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบ จะมีคนหันมาทำวิจัยกันมากขึ้น

ขอให้รัฐบาลจริงจัง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเตรียมพร้อมบรรยากาศ การวิจัยและพัฒนาของประเทศ เพราะหากไม่พร้อม คนไม่มี งบประมาณไม่มี ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาที่รัฐตั้งเป้าไว้ 7-8 เท่าอาจจะไปไม่ถึง 2% ของจีดีพี แต่ก่อนที่จะไปถึง 2% ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่ 1% แรก รัฐต้องให้ความสำคัญด้วย เพราะเป็นก้าวแรก ก้าวของการปูพื้นฐาน แต่หากก้าวแรกไปไม่ออก เป้าหมายก็ไม่เกิด ทั้งนี้มองว่ารัฐบาลต้องมีความชัดเจนในปีงบประมาณหน้า ในการที่จะขยับตัวเลขค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา จาก 0.25% ของจีดีพี เป็น 0.5% ของจีดีพี

รัฐไม่จำเป็นต้อง ซื้อแท็บเลตพีซี แจกทั้งหมด

ดร.พันธ์ ศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาโจทย์นโยบายแจกแทบเลตพีซี ของกระทรวงไอซีที โดยร่วมกับกลุ่มนักวิจัย เพราะมองว่า โปรแกรมประยุกต์ และเนื้อหา หรือแม้แต่ตัวเครื่อง คนไทย มีขีดความสามารถทำได้ โดยเฉพาะคนไทยเก่งเรื่องการประกอบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ก็สามารถหาซื้อได้ ซึ่งหาก คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ จะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณไปได้มาก เพราะไม่จำเป็นต้องซื้อทุกอย่าง

โดย เฉพาะในส่วนตัวเนื้อหา ในการพัฒนาเป็นดิจิตอลคอนเท้นต์ สามารถที่จะร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ให้เกิดผลงาน ซึ่งปัจจุบันก็มีการตั้งโครงการเกี่ยวกับแท็บเลตพีซีอยู่แล้ว แต่ต้องมาศึกษาว่าจะทำอย่างให้โครงการนี้เกิดการต่อยอด ส่วนจะแจกฟรีอย่างไร ต้องไปดูที่กลไก ก็มีหลายกลไกที่ดำเนินการได้ อาทิ ภายใน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็มีกองทุนวิจัย สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ได้

สำหรับเนคเทค เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการวิจัย และพัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม จนสามารถถ่ายถอดไปสู่การใช้ประโยชน์ ได้จริงขณะเดียวกันยังส่งเสริมการพัฒนากำลังคน และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการสารสนเทศที่จำเป็นต่อการเพิ่มขีด ความสามารถในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่มีการระบุไว้ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มุ่งเน้นการสร้างสรรค์มูลค่าของข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันเนคเทค มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาสื่อดิจิทัล ล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็น ห้องปฏิบัติการวิจัยสารสนเทศสื่อประสม (DMI) ที่เน้นการวิจัยและพัฒนาสาระดิจิทัลเป็นหลัก รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างอุป สรค์ (Demand) หรือความต้องการของตลาด ทั้งในส่วนของเทคโนโลยี และบุคลากร ทั้งการวิจัยพัฒนา การพัฒนาบุคลากร โดยจะเป็นการดำเนินงานแบบครบวงจร ที่อาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง

สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนา ที่ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ได้แก่ โครงการ Smart Health เป็นหนึ่งในสาม Flagships มีเป้าหมายในการนำไอที มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ระบบสารสนเทศเพื่อการแพทย์และสุขภาพ โดยสามารถนำไปใช้วิเคราะห์การเกิดโรคอุบัติใหม่ การวางแผนด้านการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์และนโยบายสาธารณสุขเชิงรุก มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพทีดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.