User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » 3G ติดปีก "ครีเอ้" โกอินเตอร์ บูม "แอปไทย" ฝันเข้าตลาดหุ้น
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

3G ติดปีก "ครีเอ้" โกอินเตอร์ บูม "แอปไทย" ฝันเข้าตลาดหุ้น

"แอป" ไทยบนเวทีโลกคงไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม เพราะจะว่าไปตลาดแอปพลิเคชั่นเปิดกว้างสำหรับทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามีแอปอะไรออกมาก็ได้ ดังนั้นกว่าจะประสบความสำเร็จจึงไม่ง่าย

"ครีเอ้" เป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาแอปสัญชาติไทยที่มองตลาดโลกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน โดยเริ่มก้าวแรกด้วยการเปิดทางให้ยักษ์มือถือมือวางอันดับ 2 ของเมืองไทย "ดีแทค" เข้ามาร่วมทุนด้วยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยกับ "ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครีเอ้ จำกัด หลากหลายแง่มุมทั้งมีต่อแผนอนาคตของพวกเขาเอง และมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นดังนี้

- สถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน

มี แนวโน้มดีขึ้นจากการที่ประเทศไทยเริ่มมีเครือข่ายความเร็วสูงอย่าง 3G โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังดีแทคได้ให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ช่วยขยายฐานผู้ใช้ในไทยมากขึ้นด้วย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากพอ ที่จะเริ่มคิดถึงการออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

- รายได้หลักมาจากอะไร

มา จากแอปพลิเคชั่นประเภทเซอร์วิส เราเน้นรูปแบบธุรกิจที่ลงทุนเยอะช่วงแรก แต่ได้เงินกลับมาต่อเนื่องทุกเดือน ทำแอปเกี่ยวกับระบบการสื่อสารจับ กลุ่มลูกค้าดีแทคเป็นหลัก ก่อนหน้านี้ มีแอปสมาร์ทแชท, พุชเมล์ และเพลย์กราวนด์ ล่าสุดทำโซเชียลแอปร่วมกับดีแทค เป็นแอปที่ทำให้ฟีเจอร์โฟนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้

รายได้อีกส่วนมา จากการรับพัฒนาแอปพลิเคชั่น มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 20% รายได้จากแอปที่ให้บริการบนดีแทค 80% คิดเป็นรายได้ปีละหลายสิบล้าน โตปีละ 10-20%

- แผนในการขยายธุรกิจ

ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มฐานผู้ใช้โซ เชียลแอปให้ถึง 1 ล้านคน และมีแผนนำไปเปิดตลาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง เพราะมีฐานผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนเป็นจำนวนมาก จะเข้าไปคุยกับผู้ให้บริการในประเทศนั้น ๆ เริ่มจากเทเลนอร์เพราะคุ้นเคยกับดีแทค แต่คงต้องเพิ่มฟีเจอร์ให้มากกว่านี้ และรอให้ตลาดในไทยอิ่มตัวก่อน ค่อยไปต่างประเทศ เพราะจะทำให้ฟีเจอร์และราคาแข่งกับบริษัทต่างประเทศได้

- การร่วมทุนกับดีแทคส่งผลต่อการ ครีเอ้อย่างไร

ดี แทคถือหุ้น 51% ตั้งแต่ปี 2551 มีจุดประสงค์ 3 ข้อ 1.เราต้องการให้ดีแทคช่วยด้านการตลาดและโปรโมต แอปพลิเคชั่น 2.ต้องการเตรียมช่องทางสำหรับขยายไปต่างประเทศ

และ 3.ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้บริษัทในฐานะเป็นบริษัทลูกดีแทคเมื่อต้องเข้าตลาดหุ้น

หลัง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดีแทค ทำให้งานเรามีสเกลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดดีแทคเปิด 3G ส่งผลกับเราเยอะ เนื่องจากแอปพลิเคชั่นของเราเกี่ยวกับการสื่อสาร เมื่อใช้ได้ดีขึ้นเร็วขึ้น คนอยากใช้มากขึ้น

3G ช้าทำให้ธุรกิจครีเอ้ชะลอตัวไปด้วย เพราะเราลงทุนโปรเจ็กต์เกี่ยวกับ 3G เยอะ เช่น วิดีโอสตรีมมิ่งหรือโซเชียลเน็ตเวิร์กความเร็วสูง

- คิดอย่างไรกับนโยบายแจกแท็บเลต

โดย ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างโอเค เพราะการเข้าถึงข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศเป็นเรื่องสำคัญ คอมพิวเตอร์อาจใหญ่เกินไป แต่แท็บเลตเหมือนหนังสือเพียงพอกับการใช้อินเทอร์เน็ต และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องทำให้มีอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่ายในทุกที่ด้วย

ถาม ว่าจะส่งผลต่อตลาดแอปพลิเคชั่นแค่ไหน คงช่วยในแง่การเรียนรู้ เพราะแท็บเลตที่แจกคงไม่ใช่เครื่องสเป็กสูง เน้นเข้าเว็บไซต์ได้ ประหยัดไฟ ทั้งตลาดแอปพลิเคชั่นผลักดันด้วยตัวผู้บริโภคเองอยู่แล้ว

- ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแค่ไหน

ได้ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการตั้งบริษัท เพราะเราอยู่ในอาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ค่าเช่าถูก และได้รับการยกเว้นภาษี 8 ปี แต่คิดว่าโครงการที่ซิป้าทำไม่ค่อยตรงเป้า เฉพาะจุดเกินไป บางปีเน้นเกมไปต่างประเทศ อีกปีเน้นแอนิเมชั่น อีกปีเน้นโมบายแอปทำให้มีบริษัทบางกลุ่มได้ประโยชน์บางกลุ่มไม่ได้ประโยชน์ ไม่ช่วยผลักดันภาพรวมของอุตสาหกรรม

สิ่งที่อยากให้ภาครัฐทำ คือเน้นช่วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานให้บริษัทซอฟต์แวร์ในไทย เช่น สร้างอาคารแบบซอฟต์แวร์พาร์คมาก ๆ เพราะมีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากที่ต้องการเข้ามาอยู่ในซอฟต์แวร์พาร์คแต่ ไม่มีที่ เตรียมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไว้ให้ใช้, เตรียมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เซิร์ฟเวอร์สำหรับอำนวยความสะดวกให้บริษัทเกิดใหม่ และพาออกไปโรดโชว์บ้าง

นอกจากนี้ ควรทำให้มีเงินทุนที่กู้ได้ง่าย เรื่องการขอบีโอไออยากให้ชัดเจนกว่านี้ เพราะกฎเข้มงวดเกินไป เหมาะกับบริษัทต่างชาติมากกว่า เนื่องจากกำหนดให้ต้องลงทุน 1 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ แต่บริษัทซอฟต์แวร์สิ่งที่ลงทุนเยอะที่สุดคือ คน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ จึงอยากให้ปรับนโยบายลดการลงทุนเหลือ 2-3 แสนก็พอแล้ว

- อุปสรรคของบริษัทพัฒนาแอปในไทย

เรื่อง แรกคือ โครงสร้างพื้นฐานยังน้อย ในกรุงเทพฯอาจเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ต่างจังหวัดหรือชานเมืองยังไม่พร้อม เครือข่าย 3G และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไม่ค่อยมี 2.เรื่องเงินทุน หาเงินทุนได้ค่อนข้างยาก คนที่มีแค่ไอเดียหรือความสามารถไม่ใช่จะทำกันได้ 3.ตลาดในไทยไม่ใหญ่มาก มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเมือง 3-5 ล้านคน ยิ่งเป็นไอโฟนอย่างเดียวอาจมีแค่ 1 ล้านคน ตลาดเล็กเกินอาจได้ไม่คุ้มทุน หากทำควรทำในระดับตลาดโลกไปเลย ซึ่งคนไทยอาจติดปัญหาเรื่องภาษา

บริษัท ในไทยส่วนใหญ่ยังเน้นรับจ้างทำแอปให้คนอื่นมากกว่าพัฒนาของตนเอง ทำให้บริษัทไทยต้องมาแข่งกันเอง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เพราะตลาดเรายังเล็ก การรับจ้างทำแอปให้บริษัทอื่นทำให้บริษัทนำผลงานมาใช้ใหม่อีกไม่ได้ ทั้งกำหนดทิศทางของบริษัทไม่ได้เหมือนทำของตนเอง

- แพลตฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย

ไอ โอเอสและแอนดรอยด์เพราะผู้ใช้โตต่อเนื่อง แต่อาจแข่งลำบากและต้องดูโมเดลธุรกิจให้ดี ที่ไม่คิดว่าระบบปฏิบัติการอื่นน่าสนใจ เพราะมองว่าถ้าไม่ใช่บริษัทใหญ่จริง ไม่ควรลงทุนมาก ๆ กับอะไรที่ยังไม่แน่นอน ต้องดูฐานผู้ใช้ ดูว่าเขาขายได้กี่เครื่องก่อน

ตอนนี้ก็รอให้ตลาดชัดก่อนดีกว่า ศึกษาไว้ก่อนได้ แต่ถ้าลงทุนไปผูกกับระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ เลยจะลำบาก เพราะไม่รู้ว่าแบรนด์ต่าง ๆ จะตัดหางระบบของเขาเมื่อไรถ้าไม่ประสบความสำเร็จ

ด้านซิมเบียนของโน เกียหากใครทำธุรกิจบนระบบปฏิบัติการนี้อยู่แล้วก็ยังโอเค เพราะฐานผู้ใช้เยอะ แต่ถ้าเป็นบริษัทใหม่ไม่ควรทำบนซิมเบียน อาจยังดีอยู่บ้างในกลุ่มฟีเจอร์โฟน
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.