User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ก้าวแรก SMART THAILAND
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ก้าวแรก SMART THAILAND

การ เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชากรไทย หากเปรียบเทียบกับ รายได้ที่ใช้จ่ายจริงเฉลี่ย (AVERAGE DISPOSABLE INCOME) ยังใช้น้อย จากผลสำรวจระบุ ตัวเลข รายได้ 3,000 บาท/เดือน/ประชากร 1 คน มีอัตราการใช้บรอดแบนด์เพียงแค่ 10% ขณะที่ประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์มีรายได้ต่อหัวน้อยกว่าไทย หรือมีรายได้เฉลี่ย 1,000-2,000 บาท แต่กลับมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มากกว่า หรือมีตัวเลขการเข้าถึง กว่า 20%


นั่น ชี้ให้เห็นว่าไทยมีค่าใช้จ่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับสูงมากเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่มีการพัฒนาด้านไอซีทีที่ก้าวหน้ากว่า โดยไทยมีค่าใช้จ่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 6.3% รองลงมาเป็นมาเลเซีย 3.8% อันดับ 3 นิวซีแลนด์อยู่ที่ 1.3% เกาหลีใต้ 1.2% ฮ่องกง 1.0% ญี่ปุ่น 1.0% ออสเตรเลีย 0.9% สุดท้าย สิงคโปร์ มีค่าใช้จ่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 0.8%

ทิศ ทางการพัฒนาโครงข่ายและบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของไทย (SMART THAILAND) จะออกมาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ที่จัดทำโดย บริษัท บิซิเนส นาวิเกเตอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด หรือบีเอ็นซี ซึ่งเป็นผู้ทำการศึกษา ในลักษณะสำรวจความคิดเห็น บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย และศึกษาโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของต่างประเทศ พร้อมๆ กับเปิดเวทีสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นทุกด้าน ทั้งหน่วยงานใต้สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายให้การจัดทำแผน SMART THAILAND ออกมาเป็นรูปธรรม

เสนธิป ศรีไพพรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิซิเนส นาวิเกเตอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด (บีเอ็นซี) กล่าว ว่า การจัดทำแผนโครงการ SMART THAILAND คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนพฤศจิกายน 2554 ก่อนส่งมอบแผนดังกล่าวให้กับ ก.ไอซีที ฐานะผู้ว่าจ้าง หลังจากนั้นก.ไอซีที จะเสนอให้กับคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (NITC) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติ คาดรัฐบาลจะนำผลการศึกษาฉบับนี้ไปใช้ในปีงบประมาณถัดไป

ส่วน รายละเอียดโครงการพัฒนาโครงข่าย และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ SMART THAILANDจุดประสงค์จะมุ่งเน้นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อ ระหว่างเมืองใหญ่ (BACKBONE) โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุน เพื่อกระจายเครือข่ายผ่าน fiber optic ให้ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยเครือข่าย BACKBONE จะเชื่อมต่อระหว่างอำเภอ หรือตำบล (BACKHAUL) เนื่องจากการเข้าถึงเครือข่าย BACKHAUL ในเขตชนบทค่อนข้างจำกัด เพราะต้นทุนสูงในการขยายโครงข่าย ซึ่งการลงทุนในส่วนนี้ภาครัฐจะเข้าไปสนับสนุนและเติมเต็ม

ส่วนการขยายโครงข่ายให้เข้าถึงประชาชน (LAST MILE) ควรให้เป็นไปตามกลไกของตลาด เมื่อท้องถิ่นมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ภาคเอกชนจะเป็นผู้เข้ามาให้บริการมากขึ้น โดยภาครัฐอาจเข้าไปสนับสนุนในบางส่วนเพื่อให้การให้บริการแก่ประชาชน เช่น Smart-Health และ Smart- Education สารบัญอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่าง ไรก็ตามหากมองกำลังซื้อของประชาชน กลุ่มคนเมือง ทั้งกทม.และปริมณฑล จะมีความรู้ความเข้าใจด้านไอซีที ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และแท็บเล็ต ได้มากกว่า และสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง (Direct Access) ขณะที่ประชาชนในเขตชนบทมีกำลังซื้อจำกัด

ดัง นั้นแผนงานโครงการ SMART THAILAND จึงเน้นให้บริการโครงข่ายร่วมกัน (Shared Facilities) เช่น ประชาชนใช้อินเทอร์เน็ตผ่านศูนย์บริการไอซีทีชุมชน หรือนักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตที่โรงเรียนประจำตำบล จากข้อจำกัดทั้งความรู้ความเข้าใจด้านไอซีทีของคนในชนบท จึงมุ่งเน้นให้ประชาชนใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานภาครัฐผ่านเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น การให้การศึกษาแก่นักเรียนผ่านระบบ video conference การให้บริการสาธารณสุขแก่พื้นที่ห่างไกล

โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่กทม.ผ่านระบบ Telepresence การให้บริการทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ โดยในทุกตำบล จะมี Node ของโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อให้บริการของรัฐแก่ประชาชนและเปิดให้ผู้ ให้บริการที่สนใจเชื่อมต่อ จึงจะสนับสนุนเป้าหมายการครอบคลุมของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 80% ในปี 2558 และ 95% ในปี 2563

ที่ ประเทศนอร์เวย์นั้น เท่าที่ได้ศึกษาพบว่า นอร์เวย์ มีค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขต่อจีดีพี ประมาณ 9.7% มีประชากรผู้สูงวัย และวัยทำงานกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง ทำให้การให้บริการด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นห่างไกลทำได้ยาก เพราะใช้เวลาในการเดินทางนานและค่าใช้จ่ายสูง แต่มีการบูรณาการโครงข่ายของหน่วยงานด้านสาธารณสุขประจำภูมิภาคทั้ง 5 แห่ง เป็นโครงข่ายที่ใช้ร่วมกันผ่านการจัดตั้ง The Norwegian Healthnet Ltd. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Patient record :EPR) และระบบการรักษาพยาบาลทางไกล (Telemedicine) ซึ่งเป็นระบบสื่อสารผ่าน videoconferencing รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลผู้ป่วยระหว่างกัน เป็นการฝึกอบรม และให้ความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขทางไกล

ระบบ รักษาทางไกลที่นอร์เวย์ มี 2 แบบ ได้แก่ Real-time คือเป็นการรักษาพยาบาลทันทีผ่านระบบ ส่วนใหญ่เป็นการตรวจรักษาพยาบาลพื้นฐาน เช่น การตรวจรักษาโรคหู คอ จมูก การตรวจโรคผิวหนัง หรือการควบคุมการฟอกไตผู้ป่วยผ่านระบบรักษาพยาบาลทางไกล, ระบบ Offline คือการจัดส่งข้อมูลทั้งภาพ หรือภาพและเสียง ประกอบกับคำวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ผ่านระบบอีเมล์ที่มีความปลอดภัยสูง ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยก่อนการทำศัลยกรรม หรือการตรวจโรคผิวหนังเบื้องต้น

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า ประเทศไทยมีความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตความเร็วสูง และระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐที่ไม่แพ้ประเทศอื่น ซึ่งโครงข่ายความเร็วสูงนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านอื่นของรัฐบาล เช่น การสร้างสันติสุข และความปลอดภัยให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถใช้โครงข่ายในการให้บริการด้านสาธารณสุขทางไกล รวมทั้งนโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยรัฐจะวางโครงข่ายไปให้ก่อนในสิ่งที่เอกชนไม่ลงทุน ส่วนการที่ประชาชนจะเข้าถึงเครือข่าย ในรูปแบบ (Open Access) จะมี กสท.โทรคมนาคม และทีโอที ร่วมเข้ามาให้บริการ ซึ่งโมเดลจะออกมาเป็นอย่างไร จะมีการพิจารณาในวาระต่อไป โดยล่าสุด ได้นำแผนงานไอซีทีกว่า 10 โครงการเสนอต่อ รองนายกรัฐมนตรี โกวิท วัฒนะ เพื่อพิจารณาแล้ว
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.