User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ควันหลงเด้งซีอีโอ "ยาฮู" มรสุมหลัง "กูเกิล-เฟซบุ๊ก" ผงาด
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ควันหลงเด้งซีอีโอ "ยาฮู" มรสุมหลัง "กูเกิล-เฟซบุ๊ก" ผงาด

ข่าวการปลดฟ้าผ่า "คารอล บาลซ์" ซีอีโอของ "ยาฮู" สร้างความตกใจให้แวดวงไอทีโลกอยู่ไม่น้อย แม้การปลดหรือเปลี่ยนตัวผู้บริหารในวงการนี้จะไม่แปลก และหลัง เปลี่ยนแปลงตลาดทุนตอบรับทันทีด้วยมูลค่าหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้น

สำนัก ข่าว "เอเอฟพี" รายงานว่า "คารอล บาลซ์" อดีตซีอีโอยาฮู โดนคณะกรรมการบริหารของบริษัทไล่ออกเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลอย่างเป็นทางการว่า ถือเป็นการทบทวนกลยุทธ์อย่างครอบคลุม เพื่อเป้าหมายในการเติบโตในอนาคต และต่างมุ่งมั่นที่จะสำรวจและประเมินความเป็นไปได้ต่าง ๆ พร้อมมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ยาฮูมีทิศทางการเติบโต มีนวัตกรรม และมอบสิ่งที่ดีให้ผู้ถือหุ้น

พร้อมกับแต่งตั้ง "ทีมอธี โมรส" ซีเอฟโอของ "ยาฮู" นั่งรักษาการในตำแหน่งซีอีโอแทน ระหว่างที่บอร์ดกำลังค้นหาซีอีโอคนใหม่

นัก วิเคราะห์ทั้งหลายต่างมองการเดินเกมครั้งนี้ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ "บาลซ์" ไม่สามารถนั่งเก้าอี้แม่ทัพยาฮูต่อได้ คือไม่สามารถกอบกู้สถานการณ์ของยาฮูกลับขึ้นมาได้ หลังจากเมื่อ 2 ปีก่อน "บอร์ดยาฮู" ยกมือสนับสนุนให้บาลซ์เข้ามานั่งเก้าอี้ซีอีโอเพื่อกอบกู้สถานการณ์ของ บริษัท หลัง "เจอร์รี่ หยาง" ผู้ก่อตั้งยาฮูและหนึ่งในบอร์ดของบริษัท ปฏิเสธข้อเสนอเทกโอเวอร์มูลค่า 47 พันล้านเหรียญจากไมโครซอฟท์

อย่าง ไรก็ตาม สิ่งที่ "บาลซ์" ทำระหว่างนั่งในตำแหน่ง "ซีอีโอ" คือการปรับลดคนงานเพื่อรักษากำไรไว้ โดยตั้งแต่รับตำแหน่ง "ยาฮู" มีรายได้ลดลงมากกว่า 25% แม้ว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า แต่ยังคงน้อยกว่ากำไรสูงสุดในช่วงปี 2004-2006

อะไรที่ทำให้ "ยาฮู" เดินทางมาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจปลดฟ้าผ่าทางโทรศัพท์

"วอลล์ สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า ด้วยจำนวนของปริมาณการเข้าถึงเว็บที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล บริษัทอินเทอร์เน็ตจึงดิ้นรนเพื่อเพิ่มกำไรด้วยการจัดพื้นที่โฆษณาบริเวณ ด้านข้างบทความ วิดีโอ หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อเสนอแก่ผู้ชมเว็บไซต์ โดยในยุคแรกของอินเทอร์เน็ตต้องยอมรับว่า ยาฮูและเอโอแอล คือ ผู้บุกเบิกวงการรายสำคัญ แต่ปัจจุบันยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 รายกำลังสูญเสียตลาดให้น้องใหม่มาแรง "เฟซบุ๊ก" และ "กูเกิล" ซึ่งต่างเป็นบริษัทต่างที่มีจุดแข็งในด้านการช่วยคอนซูเมอร์แก้ปัญหาและมี คอนเทนต์ที่มีความน่าสนใจมากกว่า

และแน่นอนว่าทั้ง "เฟซบุ๊กและกูเกิล" ต่างเป็นผู้เล่นหลักที่เข้ามาแย่งรายได้ของ "ยาฮู"

ผล ที่ตามมาคือ ยาฮูมีส่วนแบ่งการตลาดโฆษณาออนไลน์ในสหรัฐในปี 2011 ลดลงเหลือ 11% จาก 16.1% ในปี 2009 เช่นเดียวกับ "เอโอแอล" ที่มีมาร์เก็ตแชร์ลดลงเหลือ 2.7% จาก 4.4% ทั้ง ๆ ที่ตลาดโฆษณาออนไลน์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ด้วยตัวเลขกว่า 30% หรือมีมูลค่าตลาด 31.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2011

ประเด็นสำคัญ คือยาฮูและเอโอแอล "ก้าวผิดพลาด" ในการขยายธุรกิจของตนเองออกนอกกรอบที่เป็นอยู่ ประกอบกับความล่าช้าในการรับรู้ถึงความแรงของเครือข่ายสังคม เพื่ออัพเดตบริการ อีเมล์ของตนเองที่ครั้งหนึ่งเคยครองความเป็นเจ้าตลาดเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง รายใหม่ ๆ

หากย้อนหลังไปไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับนักการตลาดสามารถสร้างกำไรได้ อย่างมาก เนื่องด้วยจำนวนเว็บไซต์ที่สามารถดึงดูดผู้ชมจำนวนมากและเป็นที่สนใจของนัก โฆษณายังมีจำนวนไม่มาก แต่ปัจจุบัน ด้วยจำนวนเว็บไซต์ที่มีมากขึ้น นักโฆษณาได้กระจายเม็ดเงินบางส่วนไปยังเว็บไซต์คู่แข่งที่มีกลุ่มเป้าหมาย ใกล้เคียงกัน และยังกดอัตราค่าโฆษณาบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้ลดลงได้ด้วย

จุด อ่อนอีกอย่างหนึ่งของผู้เล่นในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตที่พึ่งเม็ดเงินจาก โฆษณาเป็นหลัก คือ หากผู้ใช้งานไปอยู่ที่ไหน นักโฆษณาจะตามไปสถานที่แห่งนั้น และสิ่งนี้กำลังสร้างผลกระทบให้กับ "ยาฮู" เพราะปัจจุบันเฟซบุ๊ก ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 700 ล้านคนทั่วโลกกำลังเป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด

ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา รายได้ของ "ยาฮู" ลดลง 23% เหลือ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากช่วงเวลาเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา

ขณะ เดียวกันจากรายงานของ SQAD WebCosts มูลค่าเฉลี่ยการเข้าถึงผู้ชมจำนวน 1 พันรายของยาฮูลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 6.50 เหรียญสหรัฐ ณ เดือน ก.ค. 2011 จาก 7.65 เหรียญสหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หากย้อนกลับไปในปี 1998 ยาฮูเคยมีมูลค่าสูงถึง 25 เหรียญสหรัฐต่อการ เข้าชม 1 พันรายเลยทีเดียว

"เฮ นรี่ โบลด์เจท" อดีตนักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีตมองว่า การไล่บาลซ์ออกอาจเป็นการบ่งชี้ว่า ผลประกอบการในไตรมาสปัจจุบันยังไม่ได้ดีขึ้น หรือบางทีอาจแย่กว่าเดิม เนื่องจากองค์กรทั้งหลายตัดงบประมาณโฆษณา ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่เกิดขึ้น

"CNN Money" รายงานว่า ยาฮู ไม่ใช้ผู้นำนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกต่อไป เพราะยาฮู เลิกพัฒนาระบบเสิร์ช แต่หันไปเป็นพาร์ตเนอร์กับบริการ Bing ของ ไมโครซอฟท์แทน แต่ "ยาฮู" ยังมีสิ่งที่ทำได้ดี คือการนำผู้ใช้งานเข้าสู่เครือข่ายต่าง ๆ เช่น ยาฮูไฟแนนซ์ กีฬา บริการแชร์ภาพ เป็นต้น

"ทริป คลาวด์ไฮด์" นักวิเคราะห์จากโกลบอล อีควิตี้ รีเสิร์ช กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของยาฮูเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่น่าเสียดายที่สายเกินไป เพราะธุรกิจของยาฮูเสียหายไปแล้ว ส่วน "โจเซฟ เอสคอลลี่" นักวิเคราะห์จาก Jefferies&Co. กล่าวว่า พวกเราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่บอร์ดของยาฮูจะบรรลุข้อตกลงที่จะขายบริษัท ทั้งหมด หรือบางส่วนให้กับบริษัทอื่นแล้ว ก่อนแต่งตั้งซีอีโอใหม่ โดยมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม คือหุ้นละ 18-20 เหรียญสหรัฐ

เช่นเดียวกับ วอลล์สตรีต เจอร์นัล กล่าวว่า ยาฮูกำลังเปิดทางตนเองให้ผู้เสนอราคาที่เหมาะสม แม้ว่า "เจอร์รี่ หยาง" จะบอกแก่พนักงานอย่างชัดเจนว่า บริษัทไม่ได้มีไว้เพื่อขายก็ตาม

และไม่แน่ว่าแผนการควบรวมกับ "ไมโครซอฟท์" อาจมีการหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.