User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » จัดระเบียบคลื่นสร้างแฟร์เกม โจทย์หิน "กสท(บ)ช." ลบภาพตัวแทนกองทัพ-กลุ่มทุน
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

จัดระเบียบคลื่นสร้างแฟร์เกม โจทย์หิน "กสท(บ)ช." ลบภาพตัวแทนกองทัพ-กลุ่มทุน

"ธุรกิจบรอดแคสต์วันนี้ ไม่มี กสทช.ก็ไม่ส่งผลอะไร ผู้ประกอบการหาทางออกให้ธุรกิจตนเองอยู่แล้ว แต่มีก็ทำให้เกิดช่องทางใหม่ ๆ ที่ธุรกิจจะทำรายได้อีกมาก ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น หวังว่า กสทช.จะเป็นผู้วางกฎระเบียบเอื้อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมั่นคง ไม่ใช่มาสั่นคลอน" จำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี บิ๊ก "เจเอสแอล" กล่าวตรงไปตรงมา

เช่นเดียวกับบิ๊กหนองแขม "ประวิทย์ มาลีนนท์" พูดชัดถ้อยชัดคำว่า จุดเริ่มต้นขององค์กรกำกับดูแลเริ่มขึ้นในปี 2540 ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "คลื่นความถี่" เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปทำให้ใคร ๆ เข้าถึงและเป็นเจ้าของสื่อได้ ประเทศที่เจริญกว่าไทยมีคลื่นความถี่พอกันก็ใช้พอ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การจัดสรรคลื่นแต่อยู่ที่กระบวนการใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากผลกระทบของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ประกอบการพยายามจัดระเบียบกันเองอยู่แล้ว สิ่งที่กังวลคือ กฎกติกาของ กสทช.จะตามทันไหม

"มี กสทช.หรือไม่มีคงไม่กระทบมากกว่านี้ ดังนั้นบทบาท กสทช.ที่อยากเห็นคือ เป็นผู้อำนวยความสะดวกทำให้เกิดการเปิดเสรีอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่สร้างกฎให้รุงรัง"

ผู้ประกอบการฟาก "โทรคมนาคม" ก็เช่นกัน อยากเห็นการจัดระเบียบความถี่และการแข่งขันเป็นธรรม โดยพุ่งเป้าไปยังการออกใบอนุญาตใหม่ คลื่น 2.1 GHz

"การประมูลความถี่ 3G ช้าไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว เมื่อมี กสทช.ก็หวังว่าจะเดินต่อได้ เราไม่สนว่า กสทช.ชุดนี้มีองค์ประกอบจากตัวแทนกลุ่มไหน เอ็นจีโอ, การเมือง, ทหาร หรือธุรกิจ เพราะเชื่อว่ากระบวนการตรวจสอบที่มีช่วยได้ หลายเรื่องอยู่ในความสนใจของสังคม ไม่ง่ายที่จะเอื้อหรือปกป้องผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมแสดงความเห็น

พลันที่กระบวนการคัดเลือก "11 กสทช." โดยวุฒิสภาเสร็จสิ้น ปรากฏรายชื่อดังนี้ พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี, พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ, พันเอกนที ศุกลรัตน์, พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, นายสุทธิพล ทวีชัยการ, พันตำรวจเอกทวีศักดิ์ งามสง่า, ผศ.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์, รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์, นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์, นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และพลเอกสุกิจ ขมะสุนทร

ใครเป็นตัวแทนใคร มีสายสัมพันธ์กับใคร ยากพิสูจน์ได้ชัดแจ้ง แต่เมื่อกึ่งหนึ่งประกอบด้วย 5 ทหาร 1 ตำรวจ "กสทช." ชุดนี้จึงโดนตั้งฉายาว่า "กสทบ."

หลายฝ่ายมองว่า ไม่ใครก็ใครโดยเฉพาะฟากที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกิจการ "วิทยุ-โทรทัศน์" ด้วยว่า "กสทช." มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ทั้งระบบ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐที่ถือครองคลื่นอยู่ โดยต้องยกเลิกสัมปทานวิทยุ โทรทัศน์ และปลดล็อกคลื่นความถี่จากเจ้าของเดิม เพื่อนำคลื่นมาออกประมูล
"วิทยุ-โทรทัศน์ และโทรคมนาคม" ต่างเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลนับแสนล้านบาท ทั้งมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะจับจ้องที่มาที่ไปของ "กสทช." เป็นพิเศษ

12 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่มีประชุมนัดแรก เพื่อโหวตเลือก "ประธานกสทช." และรองประธาน รวมถึงจัดสรรหน้าที่ว่าใครจะรับผิดชอบงานในคณะทำงานชุดใด ระหว่าง "โทรคมนาคมกับวิทยุกระจายเสียง-โทรทัศน์"

"พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี" นั่งเก้าอี้ "ประธาน กสทช." ตามคาด

คำถามที่ (ว่าที่) ประธาน กสทช.โดนถามมากที่สุดหนีไม่พ้น ฉายา "กสทบ." ของ กสทช.ชุดนี้

"การมีทหารเยอะคงไม่เกี่ยวอะไรกับการทำงานของ กสทช. และคงไม่ทำให้เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่คืนให้ประชาชนล่าช้า เพราะเป็นเรื่องหลักที่มุ่งมั่นจะทำอยู่แล้ว" พล.อ.อ.ธเรศกล่าวสั้น ๆ พร้อมกับออกตัวว่า ยังไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธาน กสทช.เป็นทางการ

ตำแหน่งรองประธาน ได้แก่ "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" ด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ และ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ด้านกิจการโทรคมนาคม

คณะทำงานฝั่งโทรคมนาคมประกอบด้วยนายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร

ฟาก "วิทยุกระจายเสียง-โทรทัศน์" มี พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า, นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์, นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ

กระบวนการต่อจากนี้คือ การส่งทั้ง 11 รายชื่อให้นายกรัฐมนตรีเพื่อทูลเกล้าฯ แต่งตั้ง

"สุทธิพล" ว่าที่ กสทช.ฝ่ายกฎหมาย กล่าวว่า กฎหมายเขียนชัดว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีรับทราบแล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เรื่องดุลพินิจคงไม่มี เพราะทำได้แค่ดูว่าเอกสารครบถ้วนหรือไม่ แต่กฎหมายไม่ได้เขียนไว้ว่า ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในกี่วัน แต่เชื่อว่าทุกฝ่ายอยากให้ปัญหาของชาติได้รับการแก้ไขโดยเร็ว คาดว่าเลขาธิการวุฒิสภาคงเร่งเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด

"หากนายกรัฐมนตรีนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ล่าช้าก็คงต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าเพราะอะไร" สุทธิพลย้ำ และพูดถึงกรณี "ดีเอสไอ" รับเรื่องการสรรหา "กสทช." เป็นคดีพิเศษด้วยว่า "ไม่น่าเป็นความเสี่ยงให้ กสทช.ชุดนี้เป็นโมฆะ หากติดตามกระบวนการสรรหา กสทช.มาตลอดจะรู้ว่า เข้มข้นแค่ไหน สังคมให้ความสนใจ มีกรรมการตรวจสอบหลายขั้น ไม่น่ามีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย โดยส่วนตัวมองว่า ทุกอย่างเลยขั้นตอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาสกัดได้แล้ว"

จึงยังคงต้องลุ้นกันอีกอึดใจจนกว่าทั้ง "11 กสทช." จะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นทางการ
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.