User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ถามตรง รมต.ไอซีที 'เอไอเอส-ดีแทค-ทรูมูฟ'
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ถามตรง รมต.ไอซีที 'เอไอเอส-ดีแทค-ทรูมูฟ'

แม้ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที จะถูกโปรโมตให้นั่งหัวโต๊ะในกระทรวงไอซีที แต่ทว่าปัญหาในกระทรวงไอซีทีนั้นมีภารกิจที่ต้องสะสางหลายเรื่องโดยเฉพาะ เรื่องสัญญาสัมปทาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ของค่ายมือถือ 3 ราย ไล่เลียงตั้งแต่ เอไอเอส , ดีแทค และ ทรูมูฟ และ กรณีเรื่องของผลคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองที่ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นมูลค่า 4.3 หมื่นล้านพร้อมดอกผล กรณีใช้อำนาจเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มชินคอร์ป
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางข้อพิพาทกรณีสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ยัง ถูกตั้งข้อสงสัย อยู่ในขณะนี้
*** กรณีศาลฎีกาฯพิพากษาเรื่องสัญญาสัมปทานเอไอเอส
ผมเรียนอย่างนี้เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลและเปลี่ยนนโยบายอำนาจสั่งการของใหม่ ขึ้นมาเรื่องทุกเรื่องที่สังคมตั้งคำถามและเป็นข้อสังเกตเอาไว้เมื่อท่าน นายกฯมอบนโยบายกับหัวหน้าส่วนราชการไปแล้วและผมก็มอบนโยบายพร้อมให้ปลัด( นางจารุวรรณ บุญเพิ่ม) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรกเรื่องที่กระทรวงมีหน่วยงานตรวจสอบ สตง. (สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน)หรือ ป.ป.ช.(คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ในทุกเรื่องมีการตรวจสอบเหตุไม่ชอบมาพากลและหน่วยงานทำหนังสือมาถึงกระทรวง ผมให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รวบรวมแล้วสรุปรีบนำหารือเพื่อให้ดำเนินการ ต่อไป
ส่วนคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งเป็นเรื่องที่สนใจของประชาชน คือ สัญญาระหว่าง กสท กับ ทรู หรือ ดีแทค ทั้งหมดที่เป็นประเด็นสังคมต้องการความโปร่งใสก็ให้คณะกรรมการชุดที่ปลัด สั่งการเรื่องไหนเสร็จก่อนก็หารือก่อน
การตั้งคณะกรรมการขึ้นมานั้น ขอเรียนว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนก็ต้องยุติไป นอกจากเรื่องเป็นราชการปกติ แต่ตัวคำสั่งคณะกรรมการไม่สามารถรายงานใครได้ เราก็เลยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่
ส่วนกรอบเวลานั้นไม่ได้บอกท่านปลัดว่าต้องมีกรอบเวลา 7 - 15 วัน แต่ผมพูดในที่ประชุม ติดตามงาน ให้เกียรติท่านดำเนินการให้เร็วตามที่สังคมต้องถามและถ้าถามแล้วไม่มีคำตอบ ทุกคนรู้สึกว่าเราทำหน้าที่ได้ถูกต้องหรือไม่ให้โอกาสกระทรวงทำหน้าที่เพราะ ข้าราชการกระทรวงนี้ก็ทำงานหนักอยู่แล้วเพราะเสาร์-อาทิตย์ก็ทำงานอยู่แล้ว
***เรียงลำดับความสำคัญดูก่อนหรือไม่
ผมไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นที่สังคมอยากทราบ ในขณะเดียวกันกระทรวงก็ขับเคลื่อนนโยบายที่ประกาศเอาไว้วันนี้ที่เป็นเรื่อง เร่งด่วนที่ต้องทำต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันหลายคนสะท้อนปัญหาว่ากระทรวงไอซี ทีใครขึ้นมาก็ไม่ได้มองไปข้างหน้าแต่ว่ามารื้อมาไล่ในเรื่องเก่า ๆ ผมคิดว่าจะไม่ทำอย่างนั้น แต่จะทำคู่กันไปบนมาตรฐาน ที่จะไม่ให้เอกสิทธิ์ใครเหนือใครเราอยากมองเห็นการพัฒนาไอทีของประเทศเท่า เทียมและยุติธรรม
***มีนโยบายไหนที่ทบทวน
เรื่องที่เป็นนโยบายเดิมและไม่ขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลนี้ไม่มีเหตุผล ยับยั้ง แต่ว่าส่วนของเนื้อและวิธีการปฏิบัติบางอย่างถ้าฝ่ายกระทรวงเห็นว่ามีวิธี การดีกว่าภายใต้งบประมาณเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการไม่มีเหตุผลยับยั้ง
***สัญญาสัมปทานเหลื่อมล้ำ
เรื่องนี้หลังจากถูกบรรจุอภิปรายไม่ไว้วางใจ (กรณีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) อนุมัติให้กลุ่มบริษัททรูฯได้รับสิทธิ์ทำการตลาดและขายเป็นระยะเวลา 14.5 ปี) เรื่องนี้จะส่งเข้า ป.ป.ช. ตรวจสอบโดยอัตโนมัติเพราะฉะนั้นกระบวนการในการวินิจฉัยว่าใครถูกใครผิดไม่ ได้อยู่ในอำนาจกระทรวงที่จะไปชี้หรือวินิจฉัยเรื่องนั้นๆ ขณะที่การดำเนินการเรื่องดังกล่าวกำลังดำเนินการไป
คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นต้องดูเรื่องอำนาจหน้าที่กระทรวงอยู่ภายใต้อำนาจ หน้าที่ของกระทรวงหรือไม่ถ้าหากได้พิจารณาแล้วอยู่ในอำนาจหน้าที่ก็เป็น เหตุผลสำคัญให้นำเรื่องดังกล่าวนี้ขึ้นมาสำหรับการตรวจสอบว่าถูกต้องโปร่งใส เป็นธรรมหรือไม่ เรื่องนี้ดูได้จากพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้านก็ไม่เห็นด้วยกับการทำสัญญาอัน นี้เพียงแต่ว่าเมื่อเราเป็นเสมือนกับผู้เสียหายได้ร้องต่อสภากระบวนการได้ กลับไปสู่คนกลาง คือ ป.ป.ช. เพราะเรื่องนี้สังคมอยากรู้ตั้งข้อสังเกต ผมเชื่อว่ามีผลวินิจฉัยออกมา
***อัยการสูงสุดชี้ขาด
อัยการสูงสุดได้ชี้มาแล้ว เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อไป ทาง กสท และ ทรู เชื่อว่าทำถูกให้อัยการสูงสุดและตีความออกมาว่าทำได้ เพราะทางอนุญาโตตุลาการชี้ประเด็นดังกล่าว แต่ว่ากระบวนการยังไม่จบเพราะมี ป.ป.ช. ตรวจสอบมีเงื่อนไขอย่างอื่นหรือไม่ขัดข้องกฎหมายหรือทำผิดเลยใช่หรือไม่ เพราะ ป.ป.ช.ตรวจสอบทุกเรื่องที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจเพราะเป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญ
***ถ้า ป.ป.ช.ตรวจสอบว่ามีมูล
ถึง ป.ป.ช.วินิจฉัยว่ามี "มูล" และนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการชั้นศาลก็ต้องสู้กันในชั้นศาล คล้ายกับรถดับเพลิง(กรณีทุจริตซื้อรถดับเพลิงกทม.)ที่เข้าสู่กระบวนการของ ศาล แต่ว่าอำนาจบริหารไม่อนุญาตให้ไปถูกแทรกแซงกระบวนการของศาล ไม่ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้ไม่มีในอดีต
กรณีที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถูก ทรูมูฟ และ ดีแทค ดำเนินการฟ้องร้องไม่ชำระค่าเชื่อมวงจรเรื่องนี้ก็อยู่ในชั้นกระบวนการของ ศาล
***การจัดตั้ง กสทช.
ถ้าเรายังมีความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา ยังให้รัฐสภาที่ทำงานของประชาชนต้องมั่นใจ ผมคิดว่าวันนี้การแทรกแซงทำยากนะครับเพราะไม่ใช่กระบวนการที่เราเข้าไปยุ่ง ได้เลยเพียงแต่พูดบนข้อเท็จจริง ทิศทางของประเทศต้องเตรียมไว้อนาคตจะเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของ กสทช. และมีความสำคัญไม่ใช่พูดเรื่องคลื่นโทรศัพท์ แต่จะพูดวิทยุโทรคมนาคม และ วิทยุชุมชน
ผมอยากเห็นหน่วยงานกำกับดูแลเกิดขึ้นและมีมาตรฐานเหมือนกันสัมปทานไหนหมด สัญญาทิศทางเดินไปตามทิศทางที่หน่วยงานกำกับดูแลได้ประชุมและเห็นควรเราอาจ ไม่เห็นสัมปทานอีกต่อไปก็ได้จะเห็นใบอนุญาต(License) ซึ่งกำหนดกรอบผลประโยชน์ให้กลับสู่ประเทศชาติชัดเจนผมก็รอ
**กรณีที่เอกชนซื้ออุปกรณ์โครงข่ายมือถือ 2 จี
ผมได้มอบหมายให้คณะกรรมการดูแลเรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาบน ข้อมูลดังกล่าวผมคิดว่าน่ามีเงื่อนไขมากกว่านั้นคงไม่ได้ซื้ออุปกรณ์คืนโดย ไม่มีเงื่อนไขอื่นใครจะไปลงทุนหมื่นล้านโดยไม่มีอะไรเลยเป็นไปไม่ได้ต้องดู ข้อเท็จจริง
ผมคิดว่า ทรู ขอซื้อกรณีได้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ คืนอีกครั้งเขาก็สามารถให้บริการลูกค้าระบบ 2จีได้อีกระยะหนึ่ง เอกชนดูแล้วอาจคุ้มทุนแต่เงื่อนไขของทรูไม่ได้บอกว่าซื้อคืนแน่ๆ แต่นั่นยิ่งทำให้เราระวังเรื่องดังกล่าวว่าถ้าหากในอนาคต ทรู ซื้ออุปกรณ์โครงข่ายคืนแล้วไปอะไรแล้วแต่ได้คลื่นคืนกลับมาและไปทำกำไร มหาศาลวันนี้ที่เราอนุมัติและเห็นชอบวันข้างหน้าเราก็ยับเยิน
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.