User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เบื้องลึก จ้องล้มสรรหา11 กสทช.
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เบื้องลึก จ้องล้มสรรหา11 กสทช.

ม้กระบวนการสรรหา กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จำนวน 11 คนได้ผ่านการลงคะแนนลับจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา แต่เส้นทางกลับไม่ราบรื่นอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง ไม่เฉพาะแต่คำถาม กรณีที่มีนายทหารได้รับคัดเลือกเข้ามาถึง 5 คน
แต่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนไล่หลังตามมาคือการเปิดเกมกดดันของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ไปนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) แทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แล้วพูดเสียงดังฟังชัดจนทำให้ว่าที่ กสทช.จำนวน 11 คน และ วุฒิสภา สะเทือนไปตาม ๆ กัน
alt เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม เชื่อว่ากระบวนการสรรหาครั้งนี้ไม่ตรงไปตรงมา พร้อมกับมอบหมายให้เรื่องนี้เป็นคดีพิเศษ มิหนำซ้ำ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอออกมารับลูกจะรีบตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำ ไปประกอบการพิจารณา
คำถามและข้อสงสัยจึงตามมาอีกว่าในเมื่อ กระบวนการสรรหาผ่านขั้นตอนจากวุฒิสภาตามกฎหมายแล้ว และ ทำไม รองนายกฯร.ต.อ.เฉลิม ต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาเป็นคดีพิเศษ และ เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ดีเอสไอ โดยตรงหรือไม่
ในขณะที่ ว่าที่ กสทช.ทั้ง 11 คน ก็พร้อมเดินหน้าและเตรียมประชุมลับเพื่อคัดเลือกประธาน และ รองประธาน ในวันจันทร์ที่ 12 กันยายนนี้ ก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ
alt*** "หมอรี่" ไม่หวั่น
นายประวิทย์ ลี่สถาพร ว่าที่ กสทช. สาขาด้านคุ้มครองผู้บริโภค กิจการโทรคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีที่ ดีเอสไอ จะตรวจสอบขั้นตอนการสรรหานั้นไม่มีปัญหาเพราะเป็นอำนาจตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามหลังจากวุฒิสภาเสนอรายชื่อแล้วภายใน 15 วันต้องมีการเลือกประธานและรองประธานตามกฎหมาย พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช. หลังจากนั้นทางประธานวุฒิสภา ต้องส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรีเพื่อนำรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกขึ้น ทูลเกล้าฯ
"ผมว่าเรื่องนี้ก้าวก่ายไม่ได้หรอกเมื่อมีการคัดเลือกประธานและรองประธาน ขั้นตอนต่อไปสำนักเลขาธิการวุฒิสภาต้องส่งเรื่องต่อไปยังประธานวุฒิสภาหาก เลขาฯวุฒิสภา หยุดการพิจารณาก็จะถูกกล่าวหาว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ และ ก็ไม่กังวลเพราะกระบวนการสรรหาเป็นไปตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว หากจะสะดุดอะไรก็ต้องรอจนกว่าศาลจะพิจารณา"
นอกจากนี้ นายประวิทย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งแรกที่ต้องการเข้ามาดำเนินการ คือ การปรับโครงสร้างภายใน คือ ตำแหน่ง เลขาธิการ กสทช. กฎหมายระบุไว้ชัดเจนเมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช.อย่างเป็นทางการต้องเลือก เลขาธิการ ภายใน 90 วัน โดยคณะกรรมการ กสทช.จะทำหน้าที่เลือกบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งดังกล่าว และตำแหน่งนี้ก็ควรจะมีคุณสมบัติเป็นนักบริหารไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่อง กิจการวิทยุโทรคมนาคม และ กิจการโทรทัศน์
"รูปแบบคณะกรรมการบอร์ดได้เปลี่ยนไปแล้วจากเดิม กทช.(สำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ: ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.) ประกอบด้วยคณะกรรมการบอร์ดเพียง 7 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 คนดังนั้น เลขาธิการ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นนักบริหาร"
***นายกฯไม่มีอำนาจชะลอรายชื่อ
ขณะที่นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ว่าที่ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคกระจายเสียงและโทรทัศน์) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจชะลอรายชื่อเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าชะลอกระบวนการเสนอรายชื่อเท่ากับว่าต้องการล้มกระบวนการสรรหา กสทช.
"หน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าเพิกเฉยเท่ากับว่าล้วงลูกฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้นควรนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯส่วนกระบวนการก็ทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไป ถ้าตรวจสอบในภายหลังแล้วว่าผิดจริงค่อยพิจารณาในภายหลัง"
*** "นที"ปิดปาก
ทางด้านพ.อ.นที ศุกลรัตน์ ว่าที่ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีที่ ดีเอสไอ นำเรื่องกระบวนการสรรหาเป็นคดีพิเศษนั้น "ผมไม่ต้องการพูดในเรื่องนี้ พูดไปแล้วเสียหาย เพราะผมมีส่วนได้ส่วนเสียเดี๋ยวจะหาว่าก้าวก่าย"
alt พ.อ.นที ยังกล่าวอีกว่า เป้าหมายหลังได้รับการโปรดเกล้ฯอย่างเป็นทางการมีหลายอย่างที่ต้องการทำ เช่น การออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี และ การจัดระเบียบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบอร์ดใหญ่ คือ กสทช.ทั้ง11 คน
***เลือกประธาน/รอง กสทช.
ส่วนนายสุทธิพล ทวีชัยการ ว่าที่ กสทช.ด้านนิติศาสตร์ กล่าวสั้นๆว่า ในเบื้องต้นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นว่าที่ กสทช.ได้มีการเจรจากันบ้างแล้วเพื่อที่จะเลือกประธาน และ รองประธาน กสทช. ตามกฎหมายกำหนดภายในระยะเวลา 15 วันในวันจันทร์ที่ 12 กันยายนนี้
ต้องจับและติดตามอย่างใกล้ชิดว่า เส้นทาง11 กสทช. จากนี้ไปจะถูกเกมกดดันของรัฐบาลปู 1 กรณีกระบวนการสรรหา จะจบลงอย่างไร ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกวุฒิสภา ต่างมั่นใจว่าขั้นตอนกระบวนการสรรหากสทช.เดินตามกฎหมายทุกประการแล้ว ขณะที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลกลับมองว่าไม่โปร่งใส
อีกไม่นานก็คงรู้ เพราะ เรื่องนี้ถูกเปิดเกมล้มมาอย่างต่อเนื่องและเป็นขบวนการโดยมีผลประโยชน์นับแสนล้านเป็นเดิมพัน!
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.