User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ทีดีอาร์ไอจี้ทหารแจงบทบาทคุมบอร์ด กสทช.
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ทีดีอาร์ไอจี้ทหารแจงบทบาทคุมบอร์ด กสทช.

ทีดีอาร์ไอจี้ทหารแจงบทบาทคุมบอร์ด ดีเอสไอรับ "คดีพิเศษ" สรรหา กสทช.

ดีเอสไอ เสนอบอร์ด กคพ.รับคดีสรรหา กสทช.เป็นคดีพิเศษ อ้างผลสืบสวนพบข้อมูลน่าเชื่อหลายขั้นตอนผิดกฎหมาย นักวิชาการจี้ กสทช.ชุด ใหม่แสดงบทบาท ทำเพื่อประชาชนไม่ใช่เป็นเครื่องมือกลุ่มทุน "ทีดีอาร์ไอ" แนะทหารแถลงสัญญาประชาคม ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่ได้ทำเพื่อกองทัพ

รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) นัดแรก เพื่อพิจารณารับคดีไว้สอบสวนตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งดีเอสไอเตรียม เสนอให้บอร์ด กคพ.พิจารณารับคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาของคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้งนี้ เกิดจากนายพิชา วิจิตรศิลป์ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดีเอสไอ สืบสวนกรณีการสรรหา กสทช. ซึ่งคณะทำงานได้สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้น พบข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่ากระบวนการสรรหา กสทช.เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประกอบ ด้วย ประเด็นองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทักท้วงว่า ไม่อาจร่วมเป็นกรรมการสรรหาได้ เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ แต่คณะกรรมการสรรหา ยังคงดำเนินการสรรหาต่อไป ส่งผลให้มติคัดเลือก ถือเป็นคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงกรณีที่ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ได้ลาออก โดยมีการประชุมคณะกรรมการสรรหาครั้งที่ 1 วันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้มีตัวแทนสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมประชุมแทน ส่งผลให้องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ กรรมการสรรหาที่มาจากองค์กร ซึ่งไม่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ส่งผลให้การทำหน้าที่ไม่ชอบตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

ดีเอสไอยันกระบวนสรรหา กสทช.ไม่ชอบ
สำหรับวิธีการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา กสทช.เข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ 1. ผู้สมัครที่เข้ารับเลือกเป็น กสทช. ยื่นใบสมัครโดยแสดงความประสงค์สมัครหลายด้านทั้งที่กฎหมายกำหนดให้องค์กร ที่ขึ้นทะเบียนไว้สามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็น กสทช.ได้ ด้านใดด้านหนึ่ง 2. ผู้สมัครได้ยื่นใบสมัครแสดงความประสงค์สมัครหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งที่วุฒิการศึกษาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่สมัคร

3. ผู้สมัครยื่นเอกสารและหลักฐานการสมัครไม่ครบถ้วน แล้วมายื่นเอกสารแสดงวิสัยทัศน์เพิ่มเติมทีหลัง แต่คณะกรรมการสรรหา มีมติให้รับเอกสารได้ จึงอาจเป็นการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม

แหล่ง ข่าว กล่าวว่า ในชั้นสืบสวนยังพบว่าคณะกรรมการสรรหามีมติให้ทำลายบัตรลงคะแนน โดยไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้ทำได้ พบผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและกรรมการสรรหาเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำ งานที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ และคณะกรรมการเตรียมการยกร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ เคยเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ดังกล่าว น่าจะถือว่ามีสภาพร้ายแรง อันอาจทำให้มีการพิจารณามติคัดเลือกไม่เป็นกลาง

ดังนั้น ดีเอสไอจึงเสนอให้บอร์ด กคพ.พิจารณา รับคดี กสทช.ไว้สอบสวนเพื่อเป็นการป้องกัน และควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เนื่องจาก กสทช.มี อำนาจหน้าที่เป็นจำนวนมาก หากได้บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาบริหารหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศ

นักวิชาการหวั่นกองทัพเรียกคืนคลื่น
ด้าน นายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า รายชื่อของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่วุฒิสภา (สว.) ทั้ง 147 คน โหวตผ่านเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา กรรมการกสทช.ทั้ง 11 คน มาจากคนของกองทัพ 5 คน และสำนักงานตำรวจ 1 คน ซึ่งก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้แน่ชัดแล้วว่า การเรียกคืนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์จากกองทัพที่ถือครองมากเกินความจำเป็น และเจ้าเป็นของคลื่นมากกว่า 30% นั้น อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้เลย

ขณะที่ ภาระกิจหลักของกสทช.ใน การจัดทำแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์เป็นไปได้สูงว่า จะไม่สามารถร่างได้แล้วเสร็จ ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุไว้ว่ากสทช.ต้องจัดทำร่างฯแผนแม่บทให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีหลังจากรับตำแหน่ง

เขา กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวกรรมการกสทช.ที่เป็นคนในเครื่องแบบ จะยังอยู่ในราชการหรือนอกราชการไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ว่าการทำหน้าที่ของกรรมการกสทช.แสดงบทบาทในการใช้อำนาจได้มากน้อยเพียงที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน มีอำนาจที่ได้รับตามพ.ร.บ.กสทช ในการกำกับดูแลกิจการต่างๆ และเอาจริงเองจังกับการบังคับใช้กฎหมายหรือประกาศมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ กสทช.จะต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือหรือถูกครอบงำจากกลุ่มนายทุนเหมือนเช่นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในอดีต

"โพกับผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ต่างกันเลย จึงไม่แปลกที่จะมีกระแสข่าวการล็อบบี้โหวตกสทช.จากกลุ่มนายทุน ซึ่งรายชื่อกสทช.ที่ ออกมาก็เรียกได้ว่าเป็นคนที่ทหารส่งเข้าประกวด แล้วก็ได้ตำแหน่งจริงๆ ซึ่งที่ผมรู้สึกและรู้ว่ามีเบื้องลึกว่าโยงใยก็มี 6 คน เป็นนอมมินีกลุ่มทุน 3 คน เอ็นจีโอ 2 คน และนอมินีกองทัพ 1 คน แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีกสทช.ชุดนี้มีความหลากหลายน่าจะพอถ่วงดุลอำนาจกันได้บ้าง"

นายอานุภาพ เผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ที่มีการโหวตเลือกกสทช.ของ สว.มีกลุ่มนายทุนทุ่มเงินกว่า 3,700 ล้านบาท ในการใช้ซื้อเสียง และล็อบบี้โหวต ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวคำนวณจากมูลค่าเพียง 1% ของเม็ดเงินที่สะพัดใน 2 อุตสาหกรรมคือโทรคมนาคม และวิทยุกระจายเสียง-โทรทัศน์ปีละไม่ต่ำกว่า 3.7 แสนล้านบาท ซึ่งเงินเพียง 1% ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะสามารถซื้อเก้าอี้คนของตัวเองให้เข้าไปนั่งในตำแหน่ง และอยู่ในวาระได้นานถึง 6 ปี

ทีดีอาร์ไอแนะทหารแจงโปร่งใส
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า กสทช.ทั้ง 11 คน และมีทหารหลายคนถือเป็นภาพน่าเป็นห่วง ซึ่งจะเกิดคำถามได้ว่า บรรดาทหารจะเข้ามารักษาประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพ ในการได้กรรมสิทธิ์คลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ ดังนั้น บรรดาผู้ได้รับเลือก กสทช. ที่มาจากกองทัพจึงควรเร่งทำความกระจ่างต่อสาธารณชน ว่า ไม่ได้เข้ามารักษาผลประโยชน์กองทัพ แต่เข้ามาเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ

"ควร จะมีการแถลงให้สัญญาประชาคมว่า จะดำเนินการกำกับดูแล ออกใบอนุญาต ตามเจตนารมณ์ทางกฎหมาย เมื่อได้รับเลือกเข้ามาแล้ว ถึงจะมาจากหน่วยไหน ก็ต้องมองผลประโยชน์ของสาธารณชน มากกว่าผลประโยชน์ของสังกัดของตัวเอง"

"ต้องฝากให้ทหาร และตำรวจที่นั่งเป็น กสทช.ชุด นี้ แสดงความเป็นอิสระ เพราะการเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่จะอิสระเฉพาะโครงสร้าง แต่สิ่งสำคัญ ต้องมีจิตวิญญาณที่มีอิสระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ จะดีมากถ้าผู้ได้รับการคัดเลือกที่มาจากกองทัพจะร่วมกันแถลง ว่า จะมีแนวทางการกำกับดูแลอย่างไร และแสดงความโปร่งใสว่า การเข้ามาทำหน้าที่นี้ จะทำหน้าที่เพื่อสาธารณชนจริงๆ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของกองทัพ"

สำหรับประเด็น ข้อสงสัยของดีเอสไอใน กสทช.บาง คนที่จะขัดต่อคุณสมบัตินั้น หากมีความขัดแย้งเรื่องกฎหมาย ทางศาลปกครองจะเป็นผู้พิจารณา และไม่ใช่เหตุที่จะส่งผลให้ ชะลอการเสนอชื่อ กสทช. นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดเกล้าฯ "ผมไม่คิดว่า นายกฯ จะมีอำนาจที่จะไม่ทูลเกล้าฯ ถวาย เพราะถ้านายกฯ ไม่ทำก็ ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่"

เร่งตั้งองค์กรตรวจสอบคู่ขนาน
นายสมเกียรติ กล่าวว่า สิ่งสำคัญและเร่งด่วน กสทช.ต้องเลือกประธาน รองประธาน เลขาธิการ จัดองค์กรภายใน ถือเป็นโอกาสในการปฏิรูปสำนักงาน กสทช.โดยการจัดองค์กรควรให้มีความโปร่งใส ไม่ควรรับบุคลากรเข้ามามาก เพราะที่ผ่านมา มีการฝากบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติเข้ามาทำงาน

"ส่วนกิจการด้านโทรคมนั้น ตามกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ให้ กสทช.ต้องตรวจสอบสัญญาสัมปทานต่างๆ ทั้งโทรคม และวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ประเด็นนี้ จะเป็นบททดสอบถึงความตรงไปตรงมาว่า กสทช.ชุด นี้เป็นอิสระอย่างแท้จริงหรือไม่ เพราะอาจมีผู้ให้บริการมือถือบางแห่ง มีสัมปทาน ไม่ถูกต้อง หรือสถานีโทรทัศน์บางสถานีต่อสัญญาแบบไม่ถูกกฎหมาย ก็จะเป็นบทพิสูจน์ของ กสทช.ชุดนี้"
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.