User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » สานต่อ ECIT ชูไอทีพัฒนา SMEs เพาะนักพัฒนาตอบโจทย์ซอฟต์แวร์มือถือ
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

สานต่อ ECIT ชูไอทีพัฒนา SMEs เพาะนักพัฒนาตอบโจทย์ซอฟต์แวร์มือถือ

กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม จับมือ ม.ศรีปทุม บ่มเพาะมือดีโปรแกรมมือถือ ดึงจับคู่เจ้าของโรงงานสร้างแอพฯ รองรับ เร่งเครื่องเดินหน้า ECIT ปี 55 หลังสร้างผลงานดีต่อเนื่อง...



นายวีรพล ศรีเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการแอพพลิเคชั่นผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม นำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านการใช้ระบบ ERP ออนไลน์ หรือระบบ e-commerce และ e-supply chain ซึ่งเป็นโปรแกรมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้สามารถต่อยอดจากฐานลูกค้าเดิมและแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิม

โดย ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enhancing SMEs Competitiveness Through IT: ECIT ) มีการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ERP และซอฟต์แวร์เชิงเดี่ยวให้มาบริการในระบบ SaaS หรือ Software as a Service บนระบบ Cloud Computing ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ซอฟต์แวร์ราคาประหยัด และต่อมายังได้มีการพัฒนาระบบ e-commerce และ e-supply chain ทำให้เอสเอ็มอีมีเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและมีช่องทางการตลาดใหม่ๆ โดยใช้ระบบไอที

ในปี 2555 จะมีการพัฒนาโครงการ ECIT อีกครั้ง เนื่องจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเล็งเห็นทิศทางความนิยมของการใช้งานแอพพลิเค ชั่นผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่อุตสาหกรรมการบริการได้นำระบบดังกล่าวมาใช้มากขึ้น แต่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังไม่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ความสนใจเนื่องจากตลาด กลุ่มดังกล่าวมีความซับซ้อนทำให้ขาดแคลนนักพัฒนา เมื่อมีจำนวนนักพัฒนาเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปีแรกจะมีแอพพลิเคชั่นด้านอุตสาหกรรมมารองรับประมาณ 10-20 โปรแกรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและม.ศรีปทุมจะร่วมกันหาแนวทางสนับสนุนทั้งส่วนของ นักพัฒนาซอฟต์แวร์และภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการนำโปรแกรมไปใช้งาน

สำหรับ เป้าหมายในปี 2555 ของโครงการ ECIT กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตั้งเป้ามีเอสเอ็มอีเข้าใช้ระบบ ERP ออนไลน์จำนวน 120 ราย และใช้โปรแกรมทั่วไปผ่านระบบออนไลน์อีก 80 ราย นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าสู่ระบบ e-commerce และระบบ e-supply chain จำนวน 2,000 ราย โดยมีการอบรมการใช้งานไอทีให้ได้ 700 ราย เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใช้ระบบไอทีของ ECIT ต่อไป รวมถึงการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมอีก 1,000 ราย ส่งเสริมระบบ Dead Stock Management จำนวน 200 กิจการ ด้วยงบประมาณทั้งโครงการตลอดปี 2555 ประมาณ 50 ล้านบาท

นายชัยวัฒน์ อุตตมากร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยี และคณบดีเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ม.ศรีปทุมให้ความร่วมมือในโครงการ ECIT เพื่อพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีด้วยระบบไอที ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางการประยุกต์ใช้ไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้โรงงานจำนวน 700 โรงได้เข้าฝึกอบรมด้านไอทีเชิงลึกแตกต่างจากเดิมที่เน้นแค่เพียงด้านพื้นฐาน โดยจะนำหลักสูตรที่อยู่ในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีและหลักสูตร คพอ. ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดเป็นแกนหลักในการพัฒนาบุคลากร

โด ยม.ศรีปทุมจะทำความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมใน 2 ด้าน คือ ในส่วนแรกจะมีการสร้าง Incubation Center หรือศูนย์บ่มเพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความตั้งใจและมีพื้นฐานในการนำไอทีไป ใช้ หลังจากนี้จะมีการผลักดันให้กลุ่มเอสเอ็มอีได้เข้าร่วมโครงการหลักของ ECIT โดยคัดเลือกและประสานกับซอฟต์แวร์เฮ้าส์ที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ในระบบ SaaS หรือ Software as a Service ที่ทำงานผ่านระบบ Cloud Computing จากการคัดเลือกของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในส่วนที่สอง ม.ศรีปทุม จะจัดโครงการ Econovation Appcenter and Incubator for Mobile Developers เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านดังกล่าวอย่างมาก โดยความต้องการในปัจจุบันมีมากกว่าแรงงานถึง 3 เท่า

ในโครงการนี้ ม.ศรีปทุมจะผลักดันให้เกิดวิสาหกิจด้านแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS , แอนดรอยด์ และแบล็กเบอรี่ โดยผลักดันให้นักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมโทรศัพท์ เคลื่อนที่ซึ่งคาดว่าในปีแรกจะมีประมาณ 40 รายได้ จัดตั้งบริษัทใหม่ของตนเอง โดยสิ่งที่ม.ศรีปทุมสนับสนุนจะเริ่มตั้งแต่การให้สิ่งอำนวยความสะดวกในการ เริ่มต้นธุรกิจ เช่น การให้ใช้ Mobile Application Lab หรือห้องทดลองการสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีศูนย์ศึกอบรมของแอปเปิ้ลโดยตรง หรือ Authorized Training Center โดยมี Registered iOS Developer Program เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนไอโฟน รวมถึงโครงการ iTune U สำหรับนักพัฒนาจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น

สำหรับรายละเอียดของผู้เข้า ร่วมโครงการบ่มเพาะการสร้างแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ คาดว่าผู้เข้าร่วมจำนวน 20 ราย จะมาจากนักศึกษาจบใหม่ที่มีแนวคิดและตั้งใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ หรือเป็นผู้ว่างงานที่มีความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจในระยะ 1-3 ปีที่ผ่านมาแต่ธุรกิจยังไม่เข้มแข็งและมีความสนใจด้านดังกล่าว รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอื่นหรือผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดวิสาหกิจด้าน Mobile Application ไม่ต่ำ 10 รายต่อปี
ไทยรัฐออนไลน์
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.