User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ถึงเวลา 'โมบายล์ แอพพ์' เพื่อ 'เอสเอ็มอี'
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ถึงเวลา 'โมบายล์ แอพพ์' เพื่อ 'เอสเอ็มอี'

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน อุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enhancing SMEs Competitiveness Through IT: ECIT) หรือ อีซีไอที อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตั้งแต่การใช้ระบบจัดการทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ออนไลน์ , ระบบอี-คอมเมิร์ช (e-commerce) และระบบอี-ซัพ พลาย เชน (e-supply chain) หรือระบบของการขาย การซื้อ และแลกเปลี่ยน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เข้ามาใช้งานไอทีเพื่อช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจ

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมามีเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 70 ราย เป็น 80 ราย ตั้งเป้าสิ้นปี 2554 จะมีเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการถึง 170 ราย

นายวีรพล ศรีเลิศ รองอธิบดีกรมส่ง เสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ก้าวต่อไปของโครงการอีซีไอทีปี 4 หรือปี 2555 คือ ขยับสู่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรือ “โมบายล์ แอพพ์” (Mobile App) ที่ถือว่าเป็นการเริ่มโครงการใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเห็นว่าทิศทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านระบบ โทรศัพท์มือถือมีเพิ่มขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมภาคบริการได้นำระบบนี้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทว่าสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังไม่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ความสนใจ อาจเป็นเพราะตลาดกลุ่มนี้มีความซับซ้อน ขณะที่จำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านนี้กำลังขาดตลาดทำให้โมบายล์ แอพพ์ ของภาคอุตสาหกรรมเกิดปัญหาการขาดแคลนสวนทางกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นดัง นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุมสร้างศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือ ถือเพื่อเอสเอ็มอี เบื้องต้นคาดใช้งบประมาณในการพัฒนาบุคลากร 1 แสนบาทต่อคน จำนวน 40 คน โดยศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะเริ่มอมรมได้ประมาณปลายปีนี้ และโมบายล์แอพพ์ ตัวแรกสำหรับเอสเอ็มอีจะแล้วเสร็จราวเดือน ก.ค. 2555 หรือใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 เดือน

ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ อุตตมากร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยี และคณบดีเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยศรีปทุมในโครงการนี้มี 2 ส่วน คือ สร้างศูนย์บ่มเพาะของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความตั้งใจและมีพื้นฐานในการนำไอ ทีไปใช้ และสร้างศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาโมบายล์ แอพพ์ เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่น
ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเอสเอ็มอีในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเวลานี้ในตลาดยังไม่มีใครทำขณะที่เอสเอ็มอีในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีถึง 2 แสนราย

“วันนี้ความต้องการรู้ข้อมูลของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมการผลิตไม่ใช่การนำ ข้อมูลของโรงงานทั้งหมดมาอยู่บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แต่ต้องการนำข้อมูลแบบเรียลไทม์ในแต่ละส่วนที่สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน การตัดสินใจในเชิงธุรกิจมาแสดงให้เห็น เช่น การแสดงสินค้าคงคลังในเวลานั้น ๆ การดูราคาสินค้าเพื่อวิเคราะห์การขาย และการดูรายการสั่งซื้อสินค้า โดยสิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาโมบายล์ แอพพ์ เพื่อรองรับการใช้งาน” ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าว

การพัฒนาโมบายล์ แอพพ์ เพื่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เสมือนกรุยทางเพื่อนำไอทีเข้าสู่เอสเอ็มอี เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันนี้ ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า จะพัฒนาโมบายล์ แอพพ์ ให้รองรับการใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส ของแอปเปิ้ล, ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ของกูเกิล และระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ ของริม

สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องโมบายล์แอพพ์ สู่เอสเอ็มอี นอกจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นศูนย์กลางเพื่อฝึกอบรมแล้ว ยังมีหน่วยงานเครือข่ายที่ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมให้ความรู้และอบรม อาทิ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(ซอฟต์แวร์พาร์ค), สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) และทรู แอพพ์เซ็นเตอร์ (True Appcenter) เป็นต้น

หากถามถึงความสำเร็จของโครงการนี้ ดัชนีชี้วัดคือ จำนวนยอดดาวน์โหลดเพื่อนำโมบายล์ แอพพ์ ที่พัฒนาโดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมโครงการ 40 คนไปใช้งาน

นั่นหมายถึงมูลค่ามหาศาลจากเอสเอ็มอีภาคอุตสาหกรรมการผลิต 2 แสนราย และการดึงเอสเอ็มอีก้าวสู่การใช้ไอทีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอีกขั้น หนึ่ง.
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.