User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ส่องสหรัฐฯ สะท้อนไทยบนสมรภูมิไซเบอร์
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ส่องสหรัฐฯ สะท้อนไทยบนสมรภูมิไซเบอร์

การโจมตีบนโลกไซเบอร์ที่เปรียบได้กับ “สมรภูมิรบแห่งที่ 5” นอกเหนือจากทางบก ทะเล อากาศ และอวกาศ กำลังสร้างความหวั่นวิตกไปทั่วโลก

ใน ประเทศไทย แม้จะเป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่ได้ตกเป็นหมายหมายสำคัญเหมือนกับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา แต่หากไม่สร้างเกราะป้องกันตัวเองไว้บ้าง ไม่แน่ว่า วันหนึ่งอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ส่งผลกระทบร้ายแรงแบบไม่ทันตั้งตัวก็เป็นได้

ดังคำกล่าวของ “พล.ท.พิทักษ์ เกียรติพันธ์” เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กระทรวงกลาโหม ที่กล่าวในงานสัมนาวิชาการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 2011” (National Cyber Security Conference 2011 : NCSC 2011) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ส.ค ณ สโมสรกองทัพบก ว่า

“แม้ เราจะยังอยู่แค่ชายขอบของสงคราม แต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน อาจทำให้เพลี่ยงพล้ำ เสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากทั้งภายในและภายนอกซึ่งมันเป็นเรื่องน่ากลัว”

รู้เขารู้เรารบกี่ครั้งก็ชนะ
จาก การทำงานที่ผ่านมากว่า 2 ปี ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับกองทัพสหรัฐ "พันโทแฟลงก์ เจ สนายเดอร์" ผู้แทนกองกำลังกองทัพสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิก เข้าร่วมอภิปรายสรุปมุมมองการทำงานของรัฐบาลสหรัฐว่า เรื่องนี้ถูกยกระดับให้เป็นนโยบายระดับชาติมีการประสานงานและบูรณาการร่วม กันกับทุกหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ใต้คอนเซปต์สำคัญคือต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนค่อยบริหารจัดการต่อไป

พัน โทสนายเดอร์ บอกว่า สำหรับสหรัฐที่ดูเหมือนก้าวล้ำไปกว่าใคร แต่ในความเป็นจริงยังคงเป็นเรื่องใหม่ เหมือนกับประเทศอื่นๆ ทุกยุทธ์ศาสตร์ที่ทำขึ้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวเอง ป้องปราม และตั้งรับไว้อย่างแข่งแกร่ง เพื่อให้คู่ต่อสู้รับรู้ว่าหากทำแต้มไม่ได้ก็ไม่อาจชนะได้ และอาจได้รับการตอบโต้ที่รุนแรงกลับไปด้วย

“ดังที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง สำหรับเราไม่เคยมีเจตนาที่จะคุกคามใคร แต่ระบบเน็ตเวิร์คมักมีช่องโหว่และจุดอ่อนอยู่ตลอดเวลา จะให้นิ่งเฉยอยู่คงไม่ได้ การปิดไม่ใช้งานเลยก็ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม เราจึงทำงานเชิงรุก โดยตั้งรับและรุกอย่างดีที่สุดภายใต้ความเข้าใจที่แท้จริงถึงเบื้องลึก เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ ป้องกันไม่ให้ไปกระทบต่อประชาชน และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆในประเทศ”

พร้อมระบุว่า ในฐานะหนึ่งในสมรภูมิรบและอาวุธแห่งสงคราม อานุภาพของเทคโนโลยีมีมากมายมหาศาล เป็นทั้งวิกฤติการและมีความเปราะบางในตัวเองอยู่เสมอ

หาจุดยืนร่วมก.ไอซีที
ขณะที่ พล.ท.พิทักษ์ กล่าวถึงความคืบหน้า การดำเนินการของศูนย์รักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ หรือ โครงการ ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ ว่า วันอังคารที่ 23 ส.ค. เตรียมเข้าไปหารือกับกระทรวงไอซีทีเพื่อสร้างขอบข่ายการทำงานที่ชัดเจนร่วม กัน เพื่อในระยะยาวการวางแผนงานต่างๆ จะได้ไม่ติดขัด และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าต้องการปกป้องอาณาจักรไซเบอร์ทั้งประเทศ

นอก จากนี้ ยังได้ร่วมมือกับกองทัพสหรัฐ ที่ให้การสนับสนุนด้านการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ และส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยทำการเวิร์คช็อป และเทรนนิ่งบุคลากรร่วมกันกับอีก 14 ประเทศทั่วโลกผ่านทางระบบออนไลน์

เขา แนะว่า การดูแลข้อมูล เชื่อมโยงเครือข่ายกับเหล่าทัพต่างๆ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และระดับครัวเรือนคือหนึ่งในพันธกิจสำคัญที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น เรื่องของความมั่นคงไม่ใช่แค่ฝ่ายกลาโหมเท่านั้นที่ต้องเข้าไปจัดการ แต่เป็นทุกภาคส่วนที่ควรตระหนักถึงภัยที่เข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกขณะ

ยอมรับยังไม่ชัดเจน
ทั้ง ยอมรับว่า ณ เวลานี้แนวทางและยุทธศาสตร์ต่างๆ ยังคงไม่มีความชัดเจน ถือว่ายังนับแค่ 1 อยู่ แต่ก็ได้เริ่มร่างแผนแม่บทไปแล้ว และตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 2 ปีจะได้เห็นผลงานออกมาเป็นรูปธรรม

พล.ท.พิทักษ์ เล่าย้อนไปถึงช่วงการโจมตีที่หนักที่สุดเมื่อเดือนที่เข้ามาทุก 6 นาทีว่า สถานการณ์คลี่คลายไปแล้วเป็นเสมือนแค่การเข้ามาลองของ ปัจจุบันความพยายามเข้ามายึดครองจากต่างประเทศยังมีอยู่บ้างประปราย ไม่สามารถสร้างผลกระทบอะไรได้ เพราะมีระบบรองรับที่สามารถป้องกันไว้ได้ทันทุกครั้ง

“จากระบบการทำ งานแบบทหารที่มีระเบียบวินัยและความสัมพันธ์ที่ดีที่มีระหว่างเหล่าทัพ ทำให้การปรับตัวของการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิทัลไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ที่เหลือคือการสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ผ่านไปทางผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าโลกได้บังคับให้เราหมุนไปตามแล้ว จะมัวนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้”

ส่วนเรื่องของงบประมาณที่มักเป็นปัญหากับ การงานพัฒนาไม่จะกับโครงการใดก็ตาม เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ให้ความเห็นว่า การลงทุนระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมถึงอินฟราสตรักเจอร์ต่างๆ เมื่อเปรียบกับมูลค่าของข้อมูลย่อมเทียบกันไม่ได้ เข้าใจว่าทุกกระบวนการต้องใช้เงินแต่ก็จะพยายามหาหนทาง และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้งานเดินหน้าต่อไปจะช้าไปกว่านี้ไม่ได้
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.