User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » นโยบายแจกแท็บเล็ตบูมตลาดไอที จุดพลุแข่งขัน-แนะศึกษาบทเรียนคอมพ์เอื้ออาทร Share
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

นโยบายแจกแท็บเล็ตบูมตลาดไอที จุดพลุแข่งขัน-แนะศึกษาบทเรียนคอมพ์เอื้ออาทร Share

นโยบายแจก "แท็บเลต" บูมตลาด ไอที ขาใหญ่ "ไอที-สื่อสาร" ตื่นตัวเกาะติด "เงื่อนไขประมูล" ประเมินความคุ้มค่าก่อนลงสนามชิงดำ เชื่อจุดพลุตลาดและขยายโอกาสทางธุรกิจ กระตุ้นการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แนะภาครัฐมองครบวงจร ทั้ง "สร้างเครือข่าย-คอนเทนต์-บุคลากร" ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร


นาย จีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการแจกแท็บเลตแก่นักเรียนของรัฐบาล ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าอิสระมีโอกาสแจ้งเกิดได้ แต่อาจติดปัญหาเรื่องการรับประกันสินค้า ขณะที่ผู้ผลิต แบรนด์ดังมีข้อได้เปรียบเรื่องฟีเจอร์พิเศษ การดีไซน์ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากกว่า การบริการ รวมถึงต้นทุนการผลิต เพราะเป็นแบรนด์ที่มีสเกลระดับโลก แม้ราคาแท็บเลตในตลาดส่วนใหญ่จะยังอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท แต่แนวโน้มราคาจะลดลงจากการขยายตัวของตลาด ทำให้ต้นทุนดีขึ้น

สำหรับ เลอโนโวสนับสนุนโครงการนี้ เพราะแท็บเลตมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าโน้ตบุ๊กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะกับเด็ก หากต้องแบกไปโรงเรียน ซึ่งในแง่การผลิตสินค้าเพื่อเข้าร่วมโครงการด้วย ทำได้อยู่แล้ว แต่สุดท้ายต้องดูสเป็ก รายละเอียดโครงการก่อน

อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า นอกจากการแจกแท็บเลต ซึ่งเป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์แล้ว ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ทั้งเครือข่ายอินทราเน็ตภายในโรงเรียน และเครือข่ายจากโรงเรียนถึงบ้าน เพื่อให้การเชื่อมต่อข้อมูล เช่น การส่งการบ้านผ่านเว็บจากบ้านไปยังโรงเรียน, ครู, อาจารย์ทำได้ต่อเนื่อง 2.คอนเทนต์ที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างแท้จริง 3.บุคลากร เช่น ครู อาจารย์ เรื่องการใช้เครื่องมือ และ คอนเทนต์ให้เป็น เพื่อให้ดูแลป้องกัน ไม่ให้เด็กนำแท็บเลตใช้เล่นเกม

"สิ่งที่ต้อง ให้ความสำคัญ และอยากเสนอผู้เกี่ยวข้อง คือวิธีใช้งาน เพราะการใช้แท็บเลตจะมีประโยชน์มาก เมื่อใช้งานที่บ้าน เพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ได้ ไม่ใช่แจกแล้วเรียนรู้ได้เฉพาะที่โรงเรียน เรื่องโครงสร้างพื้นฐานก็สำคัญมาก แม้ภาครัฐจะมีนโยบายขยายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ แต่ยังไม่มีใครทราบว่าพื้นที่ครอบคลุมไปถึงไหนแล้ว หรือโรงเรียนเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้หรือยัง รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับความเหมะสมในการใช้งาน เนื่องจากเด็กอาจใช้เป็นอย่างเดียว แต่ยังขาดเรื่องการดูแลรักษา"

นาย จีรวุฒิกล่าวต่อว่า ควรคำนึงถึงการบริหารจัดการอุปกรณ์ เช่น อายุแบตเตอรี่ของแท็บเลตซึ่งมีอายุประมาณปีครึ่ง และความเสี่ยงในการพกพา เช่น การตกหล่น สูญหาย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาด้วย

"ใน มุมธุรกิจ การแจกแท็บเลต ช่วยให้ผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์คึกคักขึ้น เพราะการใช้ของเด็กเกือบ 1 ล้านคน จะสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้แท็บเลตให้ผู้ปกครองสนใจสินค้ามากขึ้น เรียกว่าช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ทั้งกระตุ้นให้ตลาดแอปพลิเคชั่นตื่นตัว จากจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการขายแอปพลิเคชั่น ด้วย"

นายถกล นิยมไทย ผู้จัดการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจไอที บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า คอนเทนต์บนแท็บเลต เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เพราะทำให้เกิด "อีเลิรน์นิ่ง" อย่างแท้จริง รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ ๆ ให้สามารถอัพเดต หรือต่อยอดได้ทันที โดยไม่ต้องรอโปรแกรมเมอร์จากส่วนกลาง

"เรา เองก็สนใจโปรเจ็กต์นี้ กำลังรอดูรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในภาพรวม โครงการนี้จะสร้างกระแสให้คนรู้จักแท็บเลตมากขึ้น ทำให้เด็กคุ้นเคยการใช้เทคโนโลยี การบอกต่อ ทำให้เกิดการซื้อใช้ เมื่อดีมานต์มากขึ้น ต้นทุนจะถูกลง ส่งผลต่อราคาขาย จากนั้นนักพัฒนาเกมและคอนเทนต์ต่าง ๆ จะเห็นโอกาสในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เพราะปัจจุบันแอปพลิเคชั่นไทยยังมีสัดส่วนน้อย"

ด้านนายปราโมทย์ สุดจิตพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นว่า โดยส่วนตัวไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลจะแจกแท็บเลตหรือไม่ แต่คิดว่าภาครัฐควรพัฒนาไอทีทั้งประเทศแบบภาพรวม การแจกแท็บเลตเป็นเพียงกลยุทธ์หนึ่ง เหมือนการพัฒนาอินเทอร์เน็ต, เครือข่าย 3 จี และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นรัฐบาลควรผลักดันเรื่องไอซีทีในไทยให้เป็นรูปธรรม และมีความจริงจังในการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาช่วยเพิ่มผลผลิตในกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ โดยมองทุกมุม

"การแจกแท็บเลตในระยะสั้น ทำให้เยาวชนเข้าถึงไอซีทีง่าย และสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้น แต่ตนมองว่าแท็บเลตเป็นเทคโนโลยีล่าสุด เหมือนส่วนต่อยอดสำหรับประเทศที่มีเทคโนโลยีไอทีพื้นฐานพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งประเทศไทยยังไปไม่ถึงจุดนั้น และแท็บเลตยังไม่เหมาะกับการใช้เรียนรู้อย่างจริงจัง เพราะไม่เหมาะกับการพิมพ์งาน"

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการแท็บเลตเพื่อการศึกษาของกระทรวงไอซีทีและกระทรวง ศึกษาธิการ แต่ต้องรอศึกษารายละเอียดโครงการ รวมถึงประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการแข่งขันสูงและมีภาระแฝงอีกมาก แต่คาดว่าจะเป็นการจัดซื้อแท็บเลตมากกว่า 800,000 เครื่อง และไม่ใช่แค่ซื้อ มาขายไป ยังต้องเตรียมการพัฒนา คอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ให้นักเรียนใช้ หากแจกให้เด็กระดับประถม ยิ่งต้องเตรียมพร้อมทั้งการอบรมการใช้งาน, การจัดหาเครื่องสำรอง, ระบบการประกันภัย และศูนย์บริการ

"เราอาจได้เปรียบทั้งเรื่องต้นทุน และศูนย์บริการที่มีกว่า 250 แห่งทั่วประเทศ เรียกว่ามีครบทุกจังหวัด แต่ต้องดูสเป็กภาครัฐว่าจะกำหนดไว้แค่ไหน หากสเป็กทั่วไป แล้วให้งบฯแค่ 5,000 บาทต่อหัว อาจไม่ไหว เพราะรัฐบาลคงไม่ได้จัดซื้อแล้วให้ใช้ได้แค่ 1 ปี ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ไม่ได้หวังกำไร แต่ต้องการได้ประโยชน์จากการสั่งซื้อในปริมาณมาก ถ้ารัฐต้องการแท็บเลต 800,000 บริษัทอาจสั่งซื้อ 1 ล้านเครื่อง เพื่อนำ 2 แสนเครื่องมาขายให้ผู้บริโภคทั่วไป"

นายวัฒน์ชัยกล่าวต่อว่า สุดท้าย แล้วไม่ว่าใครจะได้ไป โครงการนี้ทำให้ราคาแท็บเลตในตลาดปรับตัวลดลง แต่อาจไม่มากนัก หากสเป็กเจาะกลุ่มคนละตลาด ถ้ารัฐบาลต้องการแจกแท็บเลตให้ได้ภายในปีการศึกษาหน้า ต้องสรุปสเป็กพร้อมสั่งซื้อภายในสิ้นปีนี้ เพราะต้องใช้กำลังการผลิตสูงจากปกติผลิตได้ 2-3 หมื่นเครื่องต่อเดือน

ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ นักวิชาการด้านเทคโนโลยี กล่าวว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จได้ อยู่ที่การเตรียมเนื้อหาให้นักเรียนใช้งานและการเตรียมความพร้อมของครู รวมถึงเด็กนักเรียนที่ต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าว เพราะแนวคิดหลักของโครงการ คือให้เด็กเรียนรู้ด้วย ตัวเอง ฉะนั้น ครู นักเรียน และเนื้อหาต้องปรับให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในรูปแบบนี้

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า รัฐบาลและรัฐมนตรีไอซีทีควรนำบทเรียนจากนโยบายที่เคยแจกคอมพิวเตอร์ให้นัก เรียนก่อนหน้านี้มาศึกษาจุดอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ไม่ใช่แค่แจกคอมพิวเตอร์ตูมเดียวจบ แต่สิ่งที่ต้องการคือการพัฒนาคุณภาพนักเรียน จึงอยากให้นึกย้อนไปถึงโครงการแจกคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน 4,000 แห่ง เมื่อ 15 ปีก่อน รวมถึงคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ที่ให้ซื้อได้ในราคาถูก แต่ไม่ได้ใช้เต็มศักยภาพ
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.