User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » "ทีเซ็ป" คลื่นอาสาลูกใหม่ ปั้นเถ้าแก่ป้อนอุตฯซอฟต์แวร์
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

"ทีเซ็ป" คลื่นอาสาลูกใหม่ ปั้นเถ้าแก่ป้อนอุตฯซอฟต์แวร์

น่าดีใจแทนประเทศไทยที่วงการซอฟต์แวร์ เริ่มมีคนขันอาสา เข้ามาเอาใจใส่ แลดูมากขึ้น…

เชื่อ ว่าเมื่อการเริ่มต้นมาจากพื้นฐานความคิดที่ต้องการสร้างสรรค์ไม่ใช่บั่นทอน แล้ว คงจะพอมีความหวังเล็กๆ ขึ้นมาได้บ้างว่าอย่างน้อยๆ อนาคตข้างหน้า เส้นทางที่ชาติต้องเดินจะไม่มืดเกินไปจนหาทางออกเท่าไรก็ไม่พบสักที

สำคัญ ที่สุดแม้จะแค่ไม่กี่ราย ในพื้นที่เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ก็ทำให้ใจชื้นขึ้นมาได้ว่าถึงจะเป็นแค่โครงการนำร่อง ชิมลาง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สรรหามาเรียกกันให้สวยหรูต่างกันออกไป แต่ความหมายน่าจะเข้าใกล้เป้าหมาย จุดเปลี่ยน และสถานการณ์คงไม่ย่ำแย่ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปตามเหตุปัจจัยกับปัญหาเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมา

การเมืองเรื่องแก้ยาก
นายประยูร ดำรงชิตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทพัฒนาอุทยานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย จำกัด (Thailand Creative Economy Park: TCEP) มีมุมมองว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยไม่ได้อยู่ในสายตาของตลาดโลกเลย เหตุจากติดขัดเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สังคม และแวดวงธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวย

เขา ประเมินว่า สถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายต้องช่วยกัน และต้องดูท่าทีของรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะเข้ามาให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหน หากต้องการจะให้อยู่ในเรดาร์ของโลกจริง รัฐบาลควรมีอายุยาวอย่างน้อย 16 ปี เป็นรัฐบาลที่มีความคิดเชิงก้าวหน้า และเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง

“ศึกในบ้านต้องน้อยที่ สุด ต้องบุกไปข้างหน้าอย่างเดียว โมเดลการเมืองในเอเชียประเทศที่ก้าวหน้าต่อเนื่องเพราะรัฐบาลเขาแข็งแรง เราต้องการโปรโมเตอร์ที่ดีเป็นผู้นำทางความคิดเหมาะกับยุคสมัยในทุกมิติ จะมัวแต่มาเล่นมวยวัดย่อมเป็นไปไม่ได้”

ต่อคำถามที่ว่า เป็นไปได้ไหมว่าหากการปราบปรามคอร์รัปชั่นมีการปฏิบัติจริงจังจะทำให้สถาน การทุกอย่างดีขึ้นได้ เรื่องนี้ ประธานโครงการอุทยานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย แสดงทัศนะไว้อย่างสนใจว่า ไม่เชื่อเรื่องการปราบคอร์รัปชั่น เพราะกว่าที่คนธรรมดาจะเป็นนักการเมืองได้ ตำแหน่งไม่ได้หล่นมาจากฟ้า มันคืออุตสาหกรรมการเมือง มีการลงทุน การผลิต และผู้บริโภค

พร้อม กับชี้ว่า ในระบบทุนนิยมต้องมีผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับ และผู้เล่น บทบาทของรัฐคือผู้ควบคุมกติกาและบริหารประเทศ ในฐานะผู้สร้างในสังคมไทยที่มีการต่อรองทุกเรื่อง ไม่มีแบบไหล่ชนไหล่กัน ต้องยอมรับว่าตัวเองมีอำนาจต่อรองแค่ไหน ถ้าไม่มีก็ต้องยอมรับสภาพไป และหวังว่าการศึกษาจะช่วยให้เกิดเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่มีสติปัญญา ความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่แค่รับวัฒนธรรมคนอื่นมาใช้

ปั้น12เถ้าแก่เข้าวงการ
ล่าสุด เขาได้จัดทำโครงการ “ทีเซ็ป โค้ด แคมป์” เปิดอบรม 6 หลักสูตรนำร่องเพื่อผลักดันให้คนไทยกลายเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพ ในปลายทางที่ไม่ใช่แค่ผู้รู้ แต่มีความรู้ความเชี่ยวชาญกระทั่งสามารถมีธุรกิจเป็นของตัวเองได้

ผู้บริหารโครงการทีเซ็ป กล่าวว่า ไทยขาดนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 1.6 แสนคน ขณะที่ทั่วโลกมีโอกาสรออยู่มหาศาลซึ่งแม้แต่ระดับบุคคลก็สามารถเป็นเจ้าของ กิจการได้ ด้วยโครงการนี้จะช่วยเข้าไปอุดจุดอ่อนของการขาดความรู้ โอกาสทางการตลาด และเงินทุน หวังว่าแต่ละหลักสูตรจะมีผู้สนใจเข้ามาสมัครหลักสูตรละ 1 พันคน

“ผม ตั้งเป้าไว้ว่าจาก 6 พันคนที่คัดเลือกมาแล้วอย่างเข้มข้น สามารถคัดเลือกนักคิดออกมาได้ 600 คน จากนั้นจะคัดหัวกระทิออกมา 60 คน และหาผู้ชนะเลิศ 6 คน โดยผู้ที่เป็นแชมป์กับผู้ได้รับรางวัลที่ 2 จำนวน 12 คน หากต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง รับรองว่าจะได้เป็นเถ้าแก่แน่นอน บริษัทจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนและร่วมลงทุนด้วยงบประมาณรายละ 1 ล้านบาท”

พร้อม กับเสนอแนวทางการสนับสนุนด้านการตลาดว่า จะให้วิทยากรผู้คว่ำหวอดในวงการ รวมทั้งพันธมิตรที่มีเป็นผู้แนะนำช่องทาง เทคนิค วิธีการ และเทรนด์ในตลาดว่าควรนำเสนอสินค้าแบบไหนไปนำเสนอ และเวลาใดที่เหมาะสมในการเข้าไป

“ก่อนที่จะได้มาต้องผ่านการทดลอง และมองหาจุดแข็งของตัวเอง ประเทศไไทยจะต้องทำให้ตัวเองเก่งพอที่จะเข้าไปแข่งขันให้ได้เสียก่อน ค่อยพูดถึงเรื่องการลดสัดส่วนซอฟต์แวร์ต่างประเทศให้น้อยลง”

มีน้อยดีกว่าไม่มีเลย
ส่วนประเด็นที่ว่าแค่สุดยอด หัวกระทิที่คัดออกมา 12 คน จะเพียงพอต่อการเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกหรือไม่ เขาบอกว่า ถึงมีน้อยก็ดีกว่าไม่มีเลย และเชื่อว่าเมื่อเริ่มต้นด้วยความพื้นฐานความคิดที่ดี ถึงจำนวนจะน้อยก็เพียงพอ เพราะถือว่าเป็นการเปิดทางเข้าสู่ตลาดในอนาคต ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

อย่างไรก็ดี สำหรับคนที่อาจยังไม่พบแนวทางของตัวเองอย่างน้อยที่สุดหลังผ่านการอบรมหวัง ว่าจะมีพัฒนาการทีดีขึ้น กลายเป็นทรัพยากรสำคัญ ที่เป็นกำลังเสริมให้วงการได้

“ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าผู้เชี่ยวชาญคน หนุ่มสาวที่มีความพร้อมและศักยภาพจะก้าวไปข้างหน้าได้ยังมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เห็นแต่แก่ๆ แล้วทั้งนั้น ผมเองจึงหวังว่าจะทำให้พวกเขามีความทะเยอทะยานมากพอที่จะทำให้ตัวเองกลาย เป็นสตีฟ จ็อบส์ หรือบิล เกตส์ให้ได้”

นายประยูร กล่าวเสริมว่า ความแตกต่างของโครงการนี้กับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์เช่น กันคือ หน่วยงานเหล่านั้นค่อนข้างทำงานกระจัดกระจาย บางแห่งสนับสนุนในลักษณะของบริษัทมากกว่ารายบุคคล และหลายๆ แห่งก็เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับภาครัฐไม่เหมือนทีเซ็ปที่เป็นเอกชน สามารถบริหารจัดการได้เองเต็มรูปแบบ


6 หลักสูตรนำร่อง
ทีเซ็ป เปิดอบรม 6 หลักสูตร เริ่มวันที่ 1 ต.ค.2554 ประกอบด้วยเนื้อหาเข้ากับยุคสมัยตามพิมพ์นิยม โดยวิทยากรมือเก๋าวงการ 6 คนคือ
1. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ โดย “สุพจน์ พันธ์สกุล” อาจารย์พิเศษและนักพัฒนาอิสระ
2. การพัฒนาเกมส์บนแพลตฟอร์มพีซี วินโดวส์โฟน 7 เอ็กซ์บ็อกซ์ 360 โดย ”เนนิน อนันต์บัญชาชัย” กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กซ์เท็นอินเตอร์แอคทีฟ จำกัด
3.การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมืออาชีพ โดย “ประกอบ พงศ์ปฏิเมธ” ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโครงสร้างระบบบนวินโดวส์ และเว็บแอพพลิเคชัน
4.การพัฒนาซอฟต์แวร์ไอโอเอส สำหรับไอโฟนและไอแพด โดย ”รวิทัต ภู่หลำ” ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5 การพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบแอนดรอยด์ โดย ”สว่างพงศ์ หมวดเพชร” ซีอีโอ บริษัท ไอที เบเคอรี่ จำกัด
6.การพัฒนาซอฟต์แวร์บน ไมโครซอฟต์ แชร์พอยต์ โดย “ภานุพันธ์ วิบูลย์วุฒิวงศ์” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบคอมพิวเตอร์เบื้องลึก ไมโครซอฟต์แอพพลิเคชันและโซลูชัน
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.