User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ไอเดีย "เทคโนโลยี" เพื่อชีวีแสนสุข
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ไอเดีย "เทคโนโลยี" เพื่อชีวีแสนสุข

นอกจากพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนทั่วไปแล้ว การยกระดับชีวิตให้กับกลุ่มคนพิเศษ ก็จำเป็นเช่นกันนอกเหนือจากเป้าหมายที่ จะพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วไปแล้ว การยกระดับชีวิตให้กับกลุ่มคนพิเศษ เช่น ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ก็จำเป็นต้องมี "เทคโนโลยี" เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน

"ความยากจริงๆ ของเทคโนโลยี คือ การทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้งาน ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ช่วยกันทำ หรือผลักดันให้เกิดการยอมรับ และทำเป็นมาตรฐาน เทคโนโลยีที่เราพัฒนาได้ก็คงไม่ช่วยอะไร และแม้ว่าจะมีทางเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีจากเมืองนอก แต่หลายครั้งก็จะพบว่ามันแพง และไม่เข้ากับวิถีชีวิตจริงๆ ของคนไทย เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นโจทย์สำคัญของเนคเทคในเวลานี้" นาย พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าว

โดยเป็นเหตุผลให้เกิดที่มาของความร่วมมือระหว่าง "เนคเทค", "เทศบาลเมืองแสนสุข" และ "คณะพยาบาลศาสตร์- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา" ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อ สนับสนุนการดำรงชีวิตอิสระในผู้พิการและผู้สูงอายุโดยการบริหารจัดการด้วย ชุมชน

พร้อมนำร่องติดตั้งชุดอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้าโดยใช้คลื่นวิทยุและ ชุดแจ้งเหตุฉุกเฉินภายในบริเวณบ้าน โดยเป้าหมายคือ ช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้ง่ายขึ้น

เทคโนโลยียกระดับชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น หลักการทำงานของระบบโทรศัพท์สำหรับผู้พิการคือ ใช้ไฟโชว์ที่ปุ่ม 2 ปุ่ม คือ สีแดง และสีเขียว ซึ่งถ้าผู้พิการกดที่ปุ่มสีเขียวไฟจะเริ่มสแกนว่าโทรเบอร์ด่วน หรือโทรซ้ำ หรือโทรใหม่

ส่วนปุ่มสีแดงจะหมายถึงส่งเอสเอ็มเอส แจ้งไปยังศูนย์ชุมชน หรือเบอร์ที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนไม่มาก แต่ให้ผลลัพธ์กับผู้ที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตสูง

"เทคโนโลยีไม่มีอะไรที่ซับซ้อน แต่ที่ยากคือ ทำอย่างไรให้ผู้ที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น ผู้พิการ สามารถใช้งานได้ง่ายๆ และชุมชนสามารถช่วยกันดูแลตัวเองได้ โดยที่เราจะมีหน้าที่เพียงเข้าไปแนะ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในช่วงเริ่มต้นให้" นายพันธ์ศักดิ์กล่าว

นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข กล่าวว่า แผนการดำเนินการงานในเบื้องต้นได้กำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยนำร่องในบางชุมชนก่อน ซึ่งในปีนี้ได้ตั้งงบไว้ 3 แสนบาท สามารถติดตั้งได้ราว 30 ครัวเรือน ปัจจุบันมีครัวเรือนมาแจ้งความ ประสงค์แล้วราว 15 ครัวเรือน จากประชากรทั้งหมด 19 ชุมชน หรือราว 4.3 หมื่นคนตามทะเบียนบ้าน เพื่อตอบสนองเป้าหมายคือ ให้ทุกครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุหรือผู้พิการได้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือไว้ประจำ บ้าน

"เทศบาลเราไม่มีโนว์ฮาวก็ต้องพึ่งสถาบันการศึกษา และหน่วยงานรัฐ เช่น เนคเทค เข้ามาช่วยกันพัฒนาชุมชน ซึ่งเรามีเป้าหมายจะให้เป็นชุมชนตัวอย่างที่มีศักยภาพ และเป็นโครงการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็นำมาปรับใช้ได้เรื่อยๆ เพราะแม้เราจะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตลำบาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ"

สร้างไวไฟซิตี้ทั่วเมือง

นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้พิการและผู้สูงอายุ แล้ว "เทศบาลแสนสุข" ยังมีแผนผลักดันเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกหลายรายการ เช่น โครงการฟรีไวไฟ "แสนสุขไวไฟ ซิตี้" เพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว และประชาชนโดยรอบเมือง

เขาเผยว่า ได้เริ่มทำข้อตกลงร่วมกับ "ทีโอที" แล้วตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งในเบื้องต้นใช้งบจากเทศบาลประมาณ 9 หมื่นบาท ติดตั้งไวไฟ ความเร็ว 4 เมกะบิต ครอบคลุมพื้นที่ชายหาด 5 กิโลเมตร และพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยบูรพา

นอกจากนี้ยังมีแผนติดตั้งกล้องวงจรปิดระบบไฮเดฟ ตามชายหาด และบริเวณจุดเสี่ยง เพื่อลดการเกิดอาชญากรรมและเพิ่มความปลอดภัยให้กับเมืองแสนสุข ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ

"โครงการกล้องวงจรปิดเพิ่งผ่านสภา และคงเริ่มติดตั้งได้เร็วๆ นี้ แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก โดยคาดว่าปีแรกต้องใช้ถึง 12 ล้านบาท เพื่อทำเป็นศูนย์กลางระบบ จากนั้นก็ค่อยๆ ติดตัวกล้องตามที่ต่างๆ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม เพราะเราเป็นเมืองท่องเที่ยว" นายณรงค์ชัย กล่าว
ต่อยอดสู่มหาวิทยาลัย

ศ.นพ.สมพล พงศ์ไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า หลังจากเริ่มนำร่องโครงการดังกล่าวแล้วระยะหนึ่ง มหาวิทยาลัยก็มีแผนจะต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับจังหวัดอื่นๆ โดยเริ่มต้นกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายคือ วิทยาเขตจันทบุรี และสระแก้ว

ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย นอกเหนือจากการสร้างบัณฑิตและการทำงานวิจัย แต่ยังครอบคลุมถึงพันธกิจที่มีต่อชุมชนโดยรอบด้วย
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.