User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » รอไม่ไหว!! ได้เวลาประเทศไทย เดินหน้า ลุย 3.5G
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

รอไม่ไหว!! ได้เวลาประเทศไทย เดินหน้า ลุย 3.5G

กว่า หนึ่งทศวรรษ ที่เราพูดถึง 3G และนับถอยหลังรอคอยให้มี 3G เกิดขึ้น จนกระทั่งมีความพยายามที่จะประมูลไลเซนส์ 3G ให้ได้ในปีที่ผ่านมา ทำให้เราเริ่มเกิดความเชื่อมั่นว่า นั่นคือความหวัง

แต่ ท้ายที่สุด ความพยายามนั้นก็ไม่อาจสัมฤทธิ์ผล ผ่านมาจนถึงวันนี้ เราได้เห็นการเดินหน้าเปิดตัว 3G ของเอกชน ที่แม้จะเป็น 3G บนคลื่นความถี่เดิม ไม่ใช่ 3G ไลเซนส์ 2100 MHz ที่เป็นมาตรฐาน อีกทั้งคณะกรรมการ กสทช. ที่มีอำนาจในการออกไลเซนส์ กระบวนการสรรหาก็ยังไม่แล้วเสร็จ

แต่ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของเหล่าโอเปอเรเตอร์เอกชน ทำให้เรามองเห็นสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนว่า ขณะนี้ ถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศไทย จะต้องมี 3G เราไม่อาจล่าช้ามากไปกว่านี้ได้

หลัง จากการประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2100 MHz ต้องสะดุดและล้มเลิกไป จากการยื่นฟ้องของ กสท ต่อศาลปกครองว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ จนรัฐบาลประชาธิปัตย์ ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติเข้ามาเสริม พร้อมอนุมัติงบประมาณให้ TOT เดินหน้า 3G เฟส 2 ตามมาด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ในวงการโทรคมฯ ที่มี 3G เป็นจุดศูนย์กลาง

ล่า สุด โอเปอเรเตอร์ภาคเอกชนได้ทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม นำโดย เอไอเอส เมื่อวันที่ 28 กค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ ดีแทค และทรูมูฟ มีกำหนดจะเปิดให้บริการภายในเดือน ส.ค. เช่นเดียวกับ กสท ที่จะเปิดให้บริการในชื่อ มาย ในเวลาเดียวกัน

แหล่ง ข่าวรายหนึ่ง ในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า “โอเปอเรเตอร์ทุกรายต้องการลงทุนระบบโครงข่าย 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ทั้งนั้น แต่เมื่อการประมูลไลเซนส์ 3G ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ต้องยอมรับกติกา การลงทุนให้บริการคลื่นความถี่ หรือการใช้ MVNO ก็ต้องทำไปก่อน เพราะยังไม่รู้ว่า กสทช. จะเกิดเมื่อไร เมื่อ กสทช. เกิดแล้วต้องใช้เวลาจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนแม่บทวิทยุโทรทัศน์ และแผนแม่บทคลื่นความถี่ ซึ่งแผนเหล่านี้แล้วเสร็จจึงจะสามารถประมูล 3G ได้ คาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี”

เอกชน วอนรัฐสนับสนุน
ใน งานสัมมนา Super 3.5G It’s Time for Thailand มุมมองและความคิดเห็นของบรรดาผู้ประกอบการต่างก็พุ่งเป้ามายัง กสทช. และไลเซนส์ 3G 2100 MHz เนื่องจากโอเปอเรเตอร์ แม้จะเปิดให้บริการ 3G แต่การให้บริการก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากเป็นการให้บริการบนคลื่นความถี่เดิม ทำให้แบนด์วิทยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

นอก จากนี้ ตัวแทนจากโอเปอรเตอร์ ยังแสดงความเห็นว่า ภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน และไม่ควรกระทำการใดๆ เพื่อขัดขวาง หากการแข่งขัน เป็นไปอย่างยุติธรรม

ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า หากภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายชัดเจนว่าจะสนับสนุนบรอดแบนด์จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นไลเซนส์ หรือสนับสนุนให้ประกอบกิจการทางด้านนี้ ทิศทางของอุตสาหกรรมน่าจะชัดเจน ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต่างก็ให้การสนับสนุน ที่ผ่านมาเราทำได้ระดับหนึ่ง

เขา ยังกล่าวต่อด้วยว่า หาก กสทช. ประมูลไลเซนส์ 2100 MHz ได้ ก็จะเห็น 3G เกิดเป็นรูปธรรม แต่ที่ผ่านมาประมูลไม่ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากยังอยู่ในสภาพต่างคนต่างไป และภาครัฐไม่สามารถกำหนดได้ว่าทุกหน่วยงานต้องก้าวไปในทิศทางเดียวกัน ราก็ไม่สามารถขยับไปไหนได้

พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการสายงายธุรกิจ 3G และมัลติมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เข้าใจดีว่าทางภาครัฐมีข้อจำกัดเยอะ ในส่วนนี้เราเข้าใจกระบวนการของบ้านเราดี แต่ที่ผ่านมาเอกชนต้องใช้ความพยายามสูงมาก โดยบทบาทที่แท้จริงแล้ว รัฐเป็นผู้กำกับดูแลเรื่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น กสทช. หรือกระทรวงก็ตาม ควรที่จะเป็นผู้นำเอกชน

“หาก ระบบไม่สามารถทำได้ เอกชนต้องขวนขวายหาทางไปเอง ดังนั้น เมื่อเราขวนขวายแล้วเราอยากจะขอการสนับสนุนจากภาครัฐว่า อย่าให้ความพยายามของเราต้องสะดุด หรือชะงัก เพราะภาครัฐพยายามขวาง ในส่วนของการแข่งขันที่เป็นธรรม เราทุกคนต่างก็พยายามแข่งขันอย่างเต็มที่ เราพยายามวิ่งกันเอง บนสนาม บนลู่เดียวกัน เป็นการแข่งขันแบบแฟร์เกม และเรามีศักยภาพพอที่จะทำ”

พิรุณ ยังกล่าวด้วยว่า ทรูเปิดทดลองให้บริการ 3G มาได้ 2 ปีแล้ว ในเมื่อไม่มีใครช่วยเรา เราก็พยายามปรับทุกวิถีทางเพื่อให้คนไทยได้ใช้กัน เราเชื่อว่าคนไทยพร้อมเกินร้อย เนื่องจาก 3G เป็นเทคโนโลยีที่ควบคู่กับสมาร์ทโฟน หากมีสมาร์ทโฟน แล้วไม่มีโครงข่าย 3G สมาร์ทโฟนก็ใม่ต่างกับโทรศัพท์ธรรมดา


TRIDI ระบุ คลื่นความถี่ ต้องจัดสรรให้กับผู้เหมาะสม
ด้าน ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนของภาครัฐ การประมูลไลเซนส์คลื่นความถี่ ต้องมีการประเมินมูลค่าของคลื่นความถี่ และพิจารณาวิธีการดำเนินการว่า ทำอย่างไรจึงจะจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับผู้ที่เหมาะสม

เขา กล่าวว่า เอกชนมีแรงจูงใจอยู่แล้ว หากได้คลื่นความถี่ไปก็ต้องขายให้ได้ เพื่อความอยู่รอด แต่ถ้าย้อนกลับมามองในมุมของผู้กำกับดูแล ซึ่งดูแลคลื่นความถี่ที่มีความจำกัด เช่น ครั้งที่แล้วจะประมูลไลเซนส์ 3G คลื่น 2100 MHz กัน ก็ระบุว่า จะมีผู้ชนะได้เพียง 3 ราย นอกเหนือจากรายเดิม ในหลักการเรียกว่า Compettion for Market เนื่องจากมีจำกัดเพียง 3 ราย แต่ถ้ามีผู้เล่น อยากเข้ามาร่วมวงด้วยสัก 5 หรือ 10 ราย ก็ต้องจัดให้มีการประมูล

“บทบาท ของ กสทช. คือ ต้องจัดหาผู้เข้าร่วมประมูล นอกจากนี้ ในแง่ของคนที่ให้คลื่นความถี่ ทาง กสทช.ก็จะลำบากแล้ว เพราะว่าคลื่นความถี่มีจำกัด หากประมูลจบแล้ว มีผู้ประกอบการได้ไลเซนส์ ไปทำธุรกิจแล้วเจ๊งไป ใครจะดูแลลูกค้า ก็เป็นความรับผิดชอบของ กสทช. เพราะตอนที่เลือก มีหลายราย แต่กลับไปเลือกรายที่สุดท้ายทำแล้วเจ๊ง กสทช. ก็ต้องรับผิดชอบ”

ดัง นั้นจึงต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ที่จะเปิดประมูลเพื่อหาผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพที่สุด กล่าวคือเป็นผู้ประกอบการที่จะมาดำเนินธุรกิจแล้ว มีต้นทุนในการบริการที่ต่ำ สร้างโอกาสจริงๆ สุดท้ายประชาชนได้ใช้บริการจริง ในราคาที่เหมาะสม ไม่ใช่เลือกผู้ประมูลแล้วสุดท้ายต้นทุนสูง แล้วไปคิดกับลูกค้า จึงต้องมีจุดยืนที่สมดุลกัน ในแง่ของเอกชน และภาครัฐผู้กำกับดูแลด้วย

จาก รูปการณ์ที่เห็น ทำให้เรามั่นใจว่า ขณะนี้ ถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ประเทศไทยต้องมี 3G เปิดให้บริการ ถึงแม้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลที่สมบูรณ์ จะยังไม่ถือกำเนิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก็ตาม แต่ความต้องการของคน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่อาจรอได้

ICT ลั่น เดินหน้าบรอดแบนด์
เมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที กล่าว ในงานสัมมนา Super 3.5G It’s Time for Thailand ว่า ในขณะนี้ วงการโทรคมนาคมหรือการสื่อสารของไทย กำลังอยู่ในยุคของการก้าวกระโดดไปสู่ยุคการให้บริการยุคใหม่ของประเทศไทย โดยมีตัวเลขสถิติยืนยันว่า ประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวในการใช้งานด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารอย่างรวด เร็ว ทั้งยังเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชน ภาครัฐบาล และความร่วมมือของภาคประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีได้ทำนโยบายบรอดแบนด์ขึ้นในช่วงเวลา 1 ปีเต็ม ซึ่งนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาตินั้น ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2553 แต่ก่อนหน้านั้นเราได้มีการ Warm Up ทำงานร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา นี้

เนื่อง จาก มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า หากไม่เปลี่ยนแปลงแล้วจะเดินไปได้ยากลำบาก สิ่งหนึ่งในนั้น คือ ประชาชนที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน หรือในชีวิตประจำวันของประชาชนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากตัวเลขสถิติ ที่ได้เห็นในการจัดเก็บของหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยที่สำนักงานสถิติแห่งชาติในการกำกับของกระทรวงไอซี ที หรือเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ

สำหรับ นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ต้องกลับไปมองว่า ผู้ที่ให้บริการเรา หรือเรียกว่าส่วน Supply Side ได้มีกิจกรรมอะไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมา

Keyword สำคัญของ Supply Side หรือผู้ให้บริการของเรานั้น จะอยู่ที่คำว่าระดับตำบล ทุกตำบล เราทราบดีว่า การที่ลงโครงข่ายความเร็วสูงไปที่ระดับตำบลนั้นเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนระยะยาว ไม่ใช่ตามอายุรัฐบาล

ไม่ ได้แปลว่า การลงทุนโครงข่ายจะลงทุนได้ในรัฐบาลเดียว หรือลงทุนได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ในเรื่องเทคโนโลยีที่มีการแข่งขันสูง มากในขณะนี้ รัฐบาลจะต้องมีความยืดหยุ่น และคล่องตัวสูง รวมถึงสามารถที่จะลงทุนต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว

นอก จากนี้ กฎระเบียบของฟาก Supply ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งน่าจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งเอกชนอาจจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนนั้น รัฐบาลนั้นก็คงจะต้องมี commitment ระยะยาวเช่นกัน ถึงจะมีโอกาสไปถึงระดับตำบลได้

ใน แง่ของนโยบายบรอดแบนด์ มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้เสมอว่า เราจะทำอย่างไรถึงจะมีโครงสร้างพื้นฐานไปถึงระดับตำบล แล้วไม่กระทบต่อการแข่งขันเสรีภายใต้กติกาที่ กสทช. กำหนดไว้ด้วย โดยรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงตลาดในระดับที่เรารับไม่ได้

ใน ส่วนของผู้ประกอบการเอกชนนั้น ทำอย่างไรจึงจะใช้โครงข่ายได้เต็มประสิทธิภาพและเป็นธรรม เราพบว่าในโอกาสดีที่สัมปทานจะมีการสิ้นสุดและเข้าสู่กลไกการแข่งขันเสรี นั้น น่าจะเป็นโอกาสสำคัญที่เป็นจุดเด่น ซึ่งในนโยบายไอซีทีแห่งชาติ แผนแม่บทไอซีทีฉบับที่ 2 ที่อยู่ในกรอบระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 – 2556 ปีนี้ พ.ศ. 2554 เรียกว่าครึ่งทางแล้ว

ประโยค แรกที่นโยบายนั้น ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ก็มีคำถามมาจากภาคประชาชน ในภาคผู้แทนของสื่อมวลชนที่ได้ถามกระทรวงไอซีทีทันที รวมถึงกรรมาธิการของ ส.ว. และกรรมาธิการของ ส.ส. ก็ได้ให้กระทรวงไอซีทีชี้แจงถึงประโยคนี้ ซึ่งประโยคดังกล่าวเขียนว่า เราจะมีการทำให้สัมปทานโครงข่ายมือถือสิ้นสุดลงในช่วงเวลาของแผนแม่บทหรือ ก่อนแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพ

คำ พูดนี้อาจฟังดูเป็นไปไม่ได้ในมิติทางฝ่ายกฎหมาย แต่ในมิติทางภาคหารือกับการดำเนินการ เราเชื่อว่าเราขับเคลื่อนไปถึงจุดนั้น และมีรายละเอียดที่ต้องคุยกันอีกมาก ในเรื่องของกลไกและโอกาส ในการก้าวกระโดดไปสู่ยุคที่หมดสัมปทานในช่วงถัดไป รวมถึงเป็นรายละเอียดที่กระทรวงไอซีทีเซ็น MOU กับ กทช. ก่อนที่นโยบายบรอดแบนด์จะ Implement

ทั้ง นี้ ในการเซ็น MOU กับ กทช. มีรายละเอียดอยู่ภายในว่า เราจะขับเคลื่อนร่วมกันในเรื่องต่างๆ เพื่อยกระดับการบริหารโครงข่ายของประเทศร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ

Supply Side กลุ่มที่ 3 คือ ภาครัฐ ที่สนับสนุนการลงทุนโครงข่ายในส่วนของ Back Bone กับ Back Haul ให้ครอบคลุม และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เราทุกคนคงยอมรับว่า คนไทย 65 ล้านคนนั้น 85% ของประชากรจะเข้าถึงบรอดแบนด์ภายใน 5 ปี แล้ว 90% ของคนไทยจะเข้าถึงบรอดแบนด์ภายใน 10 ปี

เรา เชื่อว่า 5-10% ในตอนท้ายนั้น เป็นโอกาสที่ยากที่สุดและแพงที่สุด ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมิติการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐโดยรัฐบาลกลาง หรือหน่วยงานส่วนท้องถิ่น

ดัง นั้น นโยบายบรอดแบนด์ที่มีความหวังไว้ว่า จะให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนนั้น เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐ ธรรมนูญ เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการ ดำรงชีวิตอย่างมาก

“งาน ชิ้นแรกที่กระทรวงฯ ตั้งใจที่นำเสนอ รมว. ไอซีที ท่านใหม่ คือ แผนการดำเนินงานภายใต้นโยบายบรอดแบนด์ หากเราได้นำเสนอแผนที่เราเตรียมไว้ เรามีความมั่นใจมากว่าจะได้รับการสนับสนุน โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ ใน 10 ปี ของกระทรวงไอซีทีว่าความต่อเนื่องของนโยบายกับการปฏิบัตินี้เป็นเรื่อง สำคัญ”
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.