User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » กสิกรไทยวิจัยคนกรุง เห่อสมาร์ทโฟน...แรงไม่ตก
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

กสิกรไทยวิจัยคนกรุง เห่อสมาร์ทโฟน...แรงไม่ตก

เปิดผลวิจัยกสิกรไทย โชว์ความร้อนแรงของตลาดสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะในโซนกรุงเทพฯที่ฮอตจนต้องจับตา

วิถี ชีวิตผู้คนในสังคมยุคใหม่ที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือประกอบการ ดำรงชีวิต ไลฟ์สไตล์ และความต้องการที่หลากหลาย ส่งผลให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่โตไม่หยุด และยิ่งมีโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนเข้าอยู่ในกระแสนิยมเป็นกลจักรสำคัญ ผลักดันการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม จากคุณลักษณะที่โดดเด่นในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลายๆ ด้าน ทั้งการออกแบบที่ทันสมัย การมีแอพพลิเคชั่นให้เลือกใช้หลากหลาย ตลอดจนสมรรถนะการใช้งานมัลติมีเดียที่สูงกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบปริมาณความนิยมใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นตามลำดับ จากปี 2553 ตลาดสมาร์ทโฟนมีมูลค่า 24,894 ล้านบาท หรือ 29.7% ของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมทั้งหมด และปี 2554 คาดว่า จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 32,789 - 34,544 ล้านบาท ขยายตัว 31.7-38.8% คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าของตลาดรวม 38%

พร้อมกันนี้ ได้สำรวจพฤติกรรมการถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 - 17 มิ.ย. 2554 จากกลุ่มตัวอย่าง 629 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการที่จะเปลี่ยนมาใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในอนาคต รวมถึงฟังก์ชัน จำนวนเครื่อง และประเภทของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้บริโภคถือครองและใช้งานเป็นประจำใน ปัจจุบัน ปรากฏว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ที่ครอบครองสมาร์ทโฟนมีสัดส่วนถึง 50.4% ของผู้ตอบแบบสอบถาม สะท้อนถึงความนิยมการใช้งานสมาร์ทโฟนของคนกรุงที่อยู่ระดับสูง

เมื่อพิจารณาผลการสำรวจแยกตามอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในช่วงอายุ 20 - 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เพิ่งเริ่มทำงานมีสัดส่วนใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่ สุดถึง 56% ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้งานประจำในกลุ่มช่วงอายุดังกล่าว อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 54 ปีขึ้นไปยังคงมีสัดส่วนการใช้สมาร์ทโฟนน้อยที่สุด 14%

ส่วนผู้ที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนในครอบครอง ทุกช่วงอายุมีสัดส่วนของผู้มีแผนที่จะใช้งานสมาร์ทโฟนในอนาคตมากกว่า 50% สะท้อนถึงความต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนของคนกรุงที่ยังคงมีอยู่มาก แม้จะมีสัดส่วนของผู้ที่ครอบครองสมาร์ทโฟนอยู่แล้วในระดับค่อนข้างสูง

ผู้มีแผนจะใช้สมาร์ทโฟนมีเหตุผลหลักคือ สมรรถนะที่สูงของสมาร์ทโฟน 41% ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเหตุผลต่างๆ แบ่งตามช่วงอายุ ผู้อายุต่ำกว่า 54 ปีลงมายังคงให้ความสำคัญกับสมรรถนะของสมาร์ทโฟนเป็นหลักเช่นกัน แต่ผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นให้ความสำคัญกับราคามากกว่าสมรรถนะ และให้ความสำคัญกับขนาดจอที่ใหญ่ของสมาร์ทโฟน

ถ่ายรูป-มัลติมีเดีย-เน็ตเร็วสูง
จากกระแสที่ เปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่าการเป็นแค่เครื่องมือพูดคุยสื่อ สารเช่นอดีต ทำให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องแข่งขันกันพัฒนาฟังก์ชันการทำงานบน โทรศัพท์เคลื่อนที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค จากผลสำรวจพบว่า ทุกช่วงอายุคนส่วนใหญ่มักถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับการถ่ายรูป ใช้งานมัลติมีเดีย และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในสัดส่วน 58% ขึ้นไป

ทั้งนี้ แสดงถึงความพร้อมของผู้บริโภคด้านอุปกรณ์สื่อสารที่รองรับบริการ 3จี ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมของกลุ่มผู้ใช้ในช่วง อายุต่างๆ กล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ช่วงอายุ 15 - 29 ปี นิยมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่สูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ แม้จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ จากผลสำรวจเห็นได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ 37% ถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีฟังก์ชันครบทั้งหมด

ส่วนกลุ่มผู้อายุ 30 - 44 ปีก็นิยมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีฟังก์ชันการทำงานสูงเช่นเดียวกับกลุ่มคน รุ่นใหม่แต่อยู่ในสัดส่วนที่รองลงมา ทั้งยังน่าสังเกตว่าเป็นช่วงอายุที่ถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจอสัมผัส สูงกว่าคีย์บอร์ดแบบคิวเวอร์ตี้ค่อนข้างมาก สะท้อนถึงความไม่ค่อยนิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการแชทต่างจากกลุ่มคน รุ่นใหม่ที่มีสัดส่วนการถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีฟังก์ชันทั้ง 2 ไม่แตกต่างกันมากนัก

แต่กลุ่มอายุมากกว่า 44 ปีจะให้ความสำคัญกับฟังก์ชันที่ง่ายและไม่ซับซ้อน สังเกตได้ว่า เป็นกลุ่มที่ถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจอสัมผัสมากกว่าฟังก์ชันการเข้า ถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความสามารถในการลงแอพพลิเคชั่น

ปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีศักยภาพสามารถตอบโจทย์ครอบคลุมความต้องการฟังก์ชันการทำงานของผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุมากที่สุด คือ สมาร์ทโฟน จากสมรรถนะที่สูง ใช้งานง่าย และสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ตลาดสมาร์ทโฟน ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

26% ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1 เครื่อง
ด้านยอดผู้ถือ ครองโทรศัพท์เคลื่อนที่มีทั้งสิ้น 38.2 ล้านคน แต่มีจำนวนเลขหมาย 70.6 ล้านเลขหมาย อาจกล่าวได้ว่าคนไทยโดยเฉลี่ยถือครองเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ราว 1.8 เลขหมายต่อคน แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคบางส่วนถือครองโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 1 เครื่อง จากผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นประจำเพียง 1 เครื่องอยู่ราว 74% ผู้ใช้ 2 เครื่องเป็นประจำ 24% และ 3 เครื่อง 2%

ปัจจัยที่อาจผลักดันให้ใช้มากกว่า 1 เครื่อง คือ ความหลากหลายของโปรโมชั่นระหว่างผู้ให้บริการ การแบ่งการใช้งานระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ความหลากหลายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แม้ผู้ผลิตบางรายได้พัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถใช้งานได้ 2 ซิม แต่การออกแบบและฟังก์ชันไม่หลากหลายเมื่อเทียบกับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบซิ มเดียวที่มีอยู่ในตลาดทำให้ผู้บริโภคบางส่วนยังคงนิยมใช้งานโทรศัพท์เคลื่อน ที่มากกว่า 1 เครื่อง รวมทั้งในอดีตการที่ผู้บริโภคไม่สามารถเปลี่ยนค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่โดยใช้หมายเลขเดิมได้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถือครองโทรศัพท์ มากกว่า 1 เครื่อง

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายให้ย้ายค่ายโดยใช้เบอร์เดิม แต่ยังมีข้อจำกัดการใช้บริการบางอย่าง จึงจำกัดปริมาณการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายให้มีไม่มากนัก เช่น การให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นต้น

แอนดรอยด์ยอดนิยม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า แอนดรอยด์จากกูเกิลเริ่มกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงเกินคาด ในตลาดสมาร์ทโฟนแล้ว ขณะนี้กินส่วนแบ่งตลาดไปเกือบ 50% จากสินค้าของผู้เล่นระดับโลกไม่ว่าจะเป็นเอชทีซี แอลจี โมโตโรล่า และซัมซุง

ข้อมูลของบริษัทวิจัยคานาลิสระบุว่า ปัจจุบันแอนดรอยด์กลายเป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 จาก 35 ใน 65 ประเทศ มีส่วนแบ่งการตลาดราว 48% หากเปรียบเทียบแบบแยกแต่ละแบรนด์ ไตรมาสล่าสุดแอ๊ปเปิ้ลครองอันดับ 1 ส่วนซัมซุงที่มีทีท่าจะแซงเป็นเบอร์ 1 กลับพลาดพลั้งทำได้แค่อันดับ 2 และโนเกียหล่นจากที่ 1 มาอยู่ที่ 3

นายคริส โจน นักวิเคราะห์ จากคานาลิส กล่าวว่า ซัมซุงพลาดโอกาสสำคัญการเข้ามาทำตลาดรวมมือถือในช่วงที่ผู้นำอย่างโนเกีย กำลังตกที่นั่งลำบากที่สุด ทั้งๆ ที่เป็นหนึ่งในบริษัทที่โอกาสก้าวเข้ามาได้ใกล้ที่สุดในฐานะแบรนด์ระดับโลก ที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมแต่ก็ยังทำได้ไม่ดีพอในตลาดเกินใหม่ เพื่อชิงตำแหน่งไป
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.