User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ฮัลโหลชัดเจน...แม้ไร้เสียง
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ฮัลโหลชัดเจน...แม้ไร้เสียง

ซอฟต์แวร์สนทนาเพื่อผู้พิการทางเสียง เปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางการพูดที่ยังคงได้ยินเสียง สนทนาทางโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไปได้

ซอฟต์แวร์สนทนาเพื่อผู้พิการทาง เสียง จากความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางการพูดที่ยังคงมีความสามารถในการฟัง เช่น ผู้ที่ผ่าตัดกล่องเสียง ผู้ที่ปากแหว่งเพดานโหว่ สามารถสนทนาทางโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไปได้


การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ถือว่ามีความจำเป็นต่อมนุษย์อย่างมาก แต่โทรศัพท์ทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ทั่วทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการมีความบกพร่องทางการพูด ถึงแม้บุคคลกลุ่มนี้จะสื่อสารกันด้วยภาษามือ แต่ยังมีข้อจำกัดด้านระยะทางระหว่างคู่สนทนา ฉะนั้นการสนทนาด้วยโทรศัพท์จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นใช้เพื่อการแชท หรือรับส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส)


นิสิตกลุ่มหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันคิดค้นระบบถ่ายทอดการสื่อสารอัตโนมัติ หรือ สปิค-อัพ (CPEek Up) ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการทางเสียงสามารถส่งเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ โดยอาศัยเทคโนโลยีเสียงสังเคราะห์เข้ามาช่วย

ทำความรู้จักกับ สปิค-อัพ CPEek Up คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยถ่ายทอดการสื่อสาร สำหรับผู้บกพร่องทางการพูด โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูดจากข้อความ (Text to speech : TTS) และเทคโนโลยีบลูทูธ ในการติดต่อกับโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมสามารถทำงานได้ทั้งบนลีนิกซ์และวินโดว์ส


"ถือเป็นข้อจำกัดของการสื่อสารในปัจจุบัน ที่คนพิการทาง เสียงไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้เลยหากไม่มีสมาร์ทโฟน ที่รองรับการโทรแบบเห็นหน้า หรือวิดีโอคอล และการสื่อสารด้วยภาษามือ" พีรเดช บางเจริญทรัพย์ ผู้ร่วมพัฒนาโปรแกรม กล่าว


ส่วนแรงบันดาลใจในการพัฒนา สปิค-อัพ เกิดขึ้นหลังจากที่พีรเดชได้ชมภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคนพิการ และมองถึงความเป็นได้ในการพัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาช่วยด้านการสื่อสาร เพื่อลบจุดบอดที่เกิดขึ้นกับผู้บกพร่องทางการพูด ซึ่งใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่าร้อยละ 24 ตามผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)


แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นโดยร่วมกับ ฆนา จินดามัยกุล และปิติพงษ์ ปิตาวรานนท์ เพื่อนนิสิตร่วมสถาบัน ในการออกแบบฮาร์ดแวร์ช่วยสังเคราะห์เสียงพูด ตลอดจนซอฟต์แวร์สื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์


"สปิค-อัพ จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยคนพิการใน ยุคไอทีได้ เพียงมีโทรศัพท์มือถือไม่จำกัดรุ่นและยี่ห้อ ที่สามารถเชื่อมต่อบลูทูธเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์" พีรเดช กล่าวและว่า ระบบถ่ายทอดการสื่อสารอัตโนมัตินี้ ต่อยอดจากเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูดจากข้อความ ช่วยแปลงข้อความให้เป็นเสียงมนุษย์ และใช้เทคโนโลยีบลูทูธในการติดต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือกับซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียง
สปิค-อัพ สามารถสังเคราะห์เสียงพูดได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

เสียงผู้ชายและเสียงผู้หญิง รวมถึงปรับความเร็ว-ช้าในการพูดได้ ในทางกลับกันเมื่อคู่สนทนาตอบกลับเสียงจะออกทางลำโพง พร้อมกันนี้ผู้พิการยัง สามารถโต้ตอบด้วยวิธีการแชทผ่านหน้าจอ โปรแกรมยังมีระบบช่วยในการพิมพ์ของผู้ใช้ มีระบบเดาคำศัพท์ ระบบตรวจสอบและแก้คำผิด อีกทั้งส่วนติดต่อผู้ใช้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้มาก ที่สุด


ทั้งนี้ หลังจากใช้เวลาพัฒนาและทดลองใช้งานจริงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่าโปรแกรมได้อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการได้เป็นอย่างดี


"สปิค-อัพใช้งานได้จริง มีต้นทุนต่ำ โดยในส่วนของฮาร์ดแวร์สังเคราะห์เสียงราคาไม่เกินชุดละ 100 บาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก เชื่อว่าเครื่องมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บกพร่องทางการพูด ตลอดจนความพิการทางการได้ยิน ซึ่งมักเกิดขึ้นในภายหลัง" เจ้าของผลงาน กล่าวทิ้งท้าย
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.