User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เปิดใจ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" ทิ้ง "ไอบีเอ็ม" นั่ง "ซีอีโอไทยคม"
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เปิดใจ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" ทิ้ง "ไอบีเอ็ม" นั่ง "ซีอีโอไทยคม"

ชื่อของ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" เรียกว่าติดอยู่ในทำเนียบผู้บริหารหญิงเก่งอันดับต้น ๆ ของไทยมายาวนาน หลังจากที่ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหญิงคนแรกของบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่อายุ 37 ปี และเติบโตในเส้นทางการบริหารของยักษ์สีฟ้าแห่งนี้มาโดยตลอด จนได้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วย "แซม พาลมิซาโน" ประธานของไอบีเอ็ม สำนักงานใหญ่

และล่าสุดดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจ Global Technology Services ไอบีเอ็มอาเซียน รับหน้าที่ดูแลธุรกิจบริการของไอบีเอ็มใน 10 ประเทศอาเซียนรวมทั้งไทย

หลัง ร่วมงานกับไอบีเอ็มมานานกว่า 22 ปี ตั้งแต่ 1 สิงหาคมนี้ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" จะมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม หนึ่งในธุรกิจกลุ่มชินคอร์ป (ชื่อใหม่กลุ่มอินทัช) เพื่อดึงภาพมืออาชีพจากยักษ์ข้ามชาติเข้ามาช่วยสลัดภาพธุรกิจการเมือง และสางปมปัญหาไทยคมที่ตกเป็นจำเลยสังคมมาโดยตลอด

เพราะไทยคมเป็น ธุรกิจดั้งเดิมของี "ทักษิณ ชินวัตร" แม้ว่าจะขายให้กับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ไปแล้ว แต่ก็ยังสลัดไม่หลุด แถมยังติดบ่วงเรื่องความมั่นคงของชาติกับธุรกิจดาวเทียมที่อยู่ในมือต่าง ชาติ

เมื่อคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองมีคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่พาดพิงถึงกรณีการแก้ไขสัญญาของเอไอเอสและ

ไทยคม

เหตุใด "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" ซึ่งกำลังรุ่งโรจน์ในอาณาจักรยักษ์สีฟ้า จึงตัดสินใจสละโอกาสในองค์กรข้ามชาติอย่าง "ไอบีเอ็ม" ที่ตนเองมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในระดับที่หาตัวจับยาก และเลือกมารับหน้าที่ซีอีโอไทยคมซึ่งถือว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีปมปัญหามาก มายเช่นนี้

เหตุผลที่ตัดสินใจมาร่วมงานกับไทยคม

เป็น การตัดสินใจยากมาก เพราะตัวเองทำงานกับไอบีเอ็มมา 22 ปี มีความสุข สนุกกับการทำงานมาตลอด ไอบีเอ็มดูแลเรามาอย่างดี และเราก็อยู่ในช่วงขาขึ้น ผู้ใหญ่ในองค์กรก็ให้การสนับสนุนทุกอย่าง ลูก ๆ เรียนต่างประเทศหรือที่ไหน ไอบีเอ็มก็รับผิดชอบให้หมด ค่าที่พักค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เรียกว่าเงินเดือนเข้าบัญชีไม่เคยได้ใช้เลยสักบาท

ถ้าทำเพื่อตัวเอง ก็คงตัดสินใจเลือกอยู่ที่ไอบีเอ็ม แต่การตัดสินใจครั้งนี้มองเป็นการทำงานเพื่อประเทศ เพื่อส่วนรวมจริง ๆ ขณะเดียวกันก็คือว่า ประสบการณ์ที่เรามีจะสามารถช่วยทำให้ไทยคม ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่มีศักยภาพ สามารถเติบโตในต่างประเทศได้ ในแง่ของการให้บริการดาวเทียมให้ครอบคลุมทั้งเอเชีย-แปซิฟิก, เซาท์แอฟริกา และยุโรปได้

เหตุผลอีกข้อที่สนับสนุนการตัดสินใจก็คือ จริง ๆ แล้วส่วนตัวอยากทำงานเรื่องการศึกษา สอนเด็กรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับความคิดและมุมมองการบริหาร เพื่อที่เมื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคต จะได้มีมุมมองที่เป็นมาตรฐานการบริหารระดับสากล รวมทั้งสอนให้เป็นคนดี เพราะผู้นำต้องเป็นคนดี มองผลประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งปกติก็สอนหนังสืออยู่แล้ว เป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ทำงานที่ไอบีเอ็มต้องเดินทางไปต่างประเทศตลอด ทำให้มีเวลากับการสอนไม่มาก ก็อยากทำมากขึ้น

การมาทำงานที่ไทยคมก็ จะทำให้สามารถใช้ศักยภาพของการสื่อสารดาวเทียมในการลดช่องว่างการศึกษา ระหว่างการศึกษาทางไกล และการศึกษาในเมืองได้

โจทย์ของไทยคมไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจเหมือนไอบีเอ็ม

ไม่ ว่าข้อขัดแย้งทางการเมือง ทางกฎหมาย ต้องแกะไปทีละเปลาะ ยังไม่รู้ว่าจะคลี่คลายได้ขนาดไหน แต่ก็หวังว่าจะมี หลายคนมองว่าปัญหาของไทยคมน่ากลัว ทำให้ไม่มีใครเข้ามา ก็มีผู้ใหญ่หลายคนเตือน แต่เราก็เข้าใจว่า ถ้าทุกอย่างดีอยู่แล้ว บริษัทไม่มีปัญหาก็คงไม่ต้องมาชวนให้เรามาทำ เหมือนตอนแบงก์ทหารไทยที่มาทาบทาม ตอนนั้นก็มีปัญหาอีกแบบหนึ่ง

ดาว เทียมเป็นสมบัติของชาติ ถ้าเราเข้ามาแล้วสามารถทำให้ข้อขัดแย้งต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี เรามีความตั้งใจทำให้ดีขึ้น โดยยึดเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และจากประสบการณ์ทำงานกับต่างประเทศก็หวังว่าจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อน บริษัทไทยคม ให้เติบโตเป็นบริษัทข้ามชาติที่แข็งแกร่งได้

เชื่อมั่นว่าจะทำได้

ที่ตัดสินใจเข้ามาก็เพราะคิดว่าจะทำให้ดีขึ้นได้ และเชื่อว่ายังไงก็ต้องทำให้ดีกว่าเดิม เพราะคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้แล้ว

ปัญหาต้องค่อย ๆ แก้ไปทีละเปลาะ ต้องดูว่าต้องทำอะไรในอนาคตบ้าง เพราะมีปัญหาที่สะสมไว้พอสมควร แต่ยังไงก็ต้องมีคนเข้ามาแก้ไข

มีแรงกดดันอะไรบ้างมั้ย

ตอน ที่มีข่าวออกมาช่วงต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ศุภจี สุธรรมพันธุ์ จะมานั่งเป็นซีอีโอไทยคม ก็มีเพื่อน ๆ น้อง ๆ มาถามว่า พี่เป็นพวกเสื้อแดงเหรอ ก็อยากจะบอกว่า ไม่เกี่ยวกับสีอะไร แต่จากเหตุและผล เพื่อประโยชน์ของบริษัทและประเทศ และหนึ่งภารกิจสำคัญก็คือ ทำให้ออกมาชัดเจนว่า ไทยคมเป็นดาวเทียมของคนไทย ไม่ใช่ของเหลืองหรือแดง

คิดว่าคุณสมบัติอะไรของตัวเองที่เป็นตัวเลือกที่ดี

คิด ว่าตัวเองมีส่วนผสมที่ลงตัว มีประสบการณ์ทำงานที่สิงคโปร์มาหลายปี รู้จักวิธีการทำงานกับคนสิงคโปร์ วัฒนธรรมแบบสิงคโปร์ ดังนั้นการที่จะต้องทำงานกับผู้ถือหุ้นใหญ่ (41%) อย่างเทมาเส็กน่าจะเป็นไปได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญธุรกิจในกลุ่มเทมาเส็กเป็นลูกค้าของไอบีเอ็มทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ แอร์ไลน์ หรือโทรคมนาคมอย่างสิงเทล ก็เป็นลูกค้า

ไอบีเอ็มทั้งนั้น ทำให้ช่วงที่ทำงานอยู่สิงคโปร์ก็ได้พบปะกับ

ผู้ บริหารกลุ่มเทมาเส็กอยู่แล้วก็ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เพราะเราก็มีเน็ตเวิร์กคอนเน็กชั่นในเทมาเส็กอยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่คิดว่าจะมีใครมีคอมบิเนชั่นแบบนี้

โจทย์ของเทมาเส็กคืออะไร

ตัว เองมีหน้าที่ทำให้บริษัทนี้ไม่เป็นธุรกิจการเมือง เพราะความจริงดาวเทียมไทยคมเป็นสมบัติของชาติ ซึ่งตนก็ได้ถามทางเทมาเส็กแล้ว ว่า ต้องการอะไรจากการลงทุนในไทยคม ต้องการความเป็นเจ้าของ หรือต้องการอะไร ซึ่งคำตอบของ

เทมาเส็กคือ รีเทิร์น ออน อินเวสเมนต์

เทมาเส็กมีเป้าหมายขายหุ้นไทยคมรึเปล่า

คิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าบิสซิเนสเคสดี ได้ผลตอบแทนที่ดี ในฐานะผู้ลงทุนก็เป็นไปได้

ได้พบกับมาดามโฮชิงแห่งเทมาเส็กรึไม่

ได้ พบกันตอนที่ตกลงมารับตำแหน่งนี้ ท่านเป็นคนน่ารัก สมถะ เรียบง่าย ติดดินมาก ๆ ไม่ถือตัว ให้เกียรติคน ความรู้เยอะมาก มีความเข้าใจธุรกิจในมุมกว้าง

คุณศุภจีมาเป็นซีอีโอไทยคม พร้อม ๆ กับนายกฯหญิง จากพรรคเพื่อไทย น่าจะทำให้การทำงานง่ายขึ้น

(หัวเราะ) ก็ดี ขอให้เป็นอย่างนั้นละกัน เพื่อที่จะทำทุกอย่างตามเป้าหมายให้สำเร็จ เพราะถ้าสำเร็จเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ซึ่งถ้า 3 ปีแล้วยังไม่สำเร็จก็คงลำบาก

หมายความว่า 3 ปี ถ้าไม่สำเร็จจะถอย

คิดว่า 3 ปีก็เต็มที่แล้ว ควรจะสำเร็จ

ความสำเร็จที่ว่าคืออย่างไร

บริษัท ต้องแข็งแรง ต้องมีภาพใหม่ไม่ติดกับภาพธุรกิจของพรรคการเมืองไหน ทำให้เป็นบริษัทของคนไทย ซึ่งถ้าสำเร็จก็คิดว่าคงไม่มีอะไรต้องทำอีก
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.