 |
 |
 |
 |
ข่าว |
 |
 |
|
 |
 |
อี-คอมเมิร์ซพุ่ง1.4หมื่นล้าน
เพย์พาล เผยถึงผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตและ ผ่านโทรศัพท์มือถือของไทย พบปี 2553 ตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์มูลค่า 14,700 ล้านบาท นักช็อปนิยมซื้อสินค้าจากต่างประเทศและในประเทศใกล้เคียงกัน พร้อมชี้เทรนด์ซื้อผ่านมือถือมาแรง
นายเอเลียส กาห์เน็ม กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ บริษัทเพย์พาลฯ (Paypal) ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินออนไลน์ระดับโลก เปิดเผยว่าตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีมูลค่า ตลาด 14,700 ล้านบาท ในปี 2553 นั้นบ่งบอกว่าคนไทยมองเห็นประโยชน์มากมายจากการซื้อสินค้าและบริการผ่านออ นไลน์ โดยผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ในประเทศมากพอ ๆ กับเว็บไซต์ต่างประเทศ และใช้สื่อออนไลน์เพื่อหาซื้อสินค้าที่แตกต่างและหลากหลาย และไม่ใช่เพื่อมองหาสินค้าราคาถูกที่สุดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้ค้าปลีกภายในประเทศมีโอกาสที่จะแข่งขันกับเว็บไซต์ต่างประเทศและ ควรจะเร่งสร้างร้านค้าออนไลน์ในทันทีเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มี มูลค่าสูงถึง 14,700 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้บริโภคคนไทย ใช้จ่ายเงินเกือบเท่ากันในการซื้อสินค้าปลีกออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ในประเทศคิด เป็นมูลค่า 6,100 ล้านบาท หรือประมาณ 41% เทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ 6,400 ล้านบาท หรือประมาณ 44% ส่วนที่เหลือ 2,200 ล้านบาท หรือ ประมาณ 15% เป็นการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุประเทศ
นอกจากนี้ผลการศึกษายังระบุถึงเหตุจูงใจของนักช็อปไทยในการซื้อสินค้าจาก เว็บไซต์ต่างประเทศคือ "สินค้านี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย" คิดเป็นสัดส่วน 45% "ผลิตภัณฑ์/บริการมีราคาถูกกว่า" คิดเป็นสัดส่วน 36% และ "มีความสะดวกในการซื้อเทียบเท่ากับการซื้อผ่านระบบออนไลน์ในประเทศ" คิดเป็นสัดส่วน 30% ดังนั้นผู้ขายสินค้าชาวไทยมีโอกาสกำชัยชนะจากการเติบโตของตลาดการซื้อสินค้า ออนไลน์ในประเทศไทย ได้ไม่ยากเพียงจัดเตรียมสินค้าบนร้านค้าออนไลน์ของตนเองให้มีความหลายหลาย เพิ่มมากขึ้น
สำหรับประเภทสินค้าที่นักช็อปไทยเลือกซื้อออนไลน์มีความหลากหลาย แสดงให้เห็นว่าการซื้อสินค้าออนไลน์กำลังกลายเป็นกระแสนิยมและกลายเป็นส่วน หนึ่งของชีวิตประจำวันของคนไทย ประกอบด้วย 1.สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องแต่งตัว สุขภาพ ความงาม เครื่องประดับ นาฬิกา) คิดเป็นมูลค่า 3,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 21% 2.สาระบันเทิง (หนังสือ ภาพยนตร์ เพลง เกม การแสดง) คิดเป็นมูลค่า 3,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 21% 3.ผลิตภัณฑ์ไอที (ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว/ในบ้าน) คิดเป็นมูลค่า 2,400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% 4.การเดินทาง (ตั๋วเครื่องบิน เรือสำราญ รถไฟ และแพ็กเกจท่องเที่ยว) คิดเป็นมูลค่า 1,800 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% และ 5. การประกันภัยทั่วไป คิดเป็นมูลค่า 1,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 11%
|
 |
 |
 |
 |