โอวุม เผย เอเชียแปซิฟิก ผู้นำ IPv6
โอวุม เผย เอเชียแปซิฟิก ผู้นำ IPv6
ขณะที่คนส่วนใหญ่ มีความพยายามที่จะลดแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไอซีที ที่กำลังจะเข้าสู่ยุค IPv6 โดยการเพิกเฉยต่อความกระตือรือร้นที่จะใช้มาตรฐานใหม่ ในทางกลับกัน ผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลับมีความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานใหม่
ทั้งนี้ IPv6 ถูกมองจากตลาดไอซีทีทั่วโลกว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใน ยุคอนาคต เนื่องจากมาตรฐาน IPv4 เดิมที่ใช้กันอยู่ เลข IP กำลังจะหมดไป ในขณะที่การใช้งาน IPv6 เปรียบเสมือนการเปิดกรุสมบัติของเลข IP ใหม่ ที่จะใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต
ศูนย์ข้อมูลโครงข่ายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APNIC รายงานว่า ความตื่นตัวที่เกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิก เป็นเครื่องบ่งชี้ ถึงปัญหาที่เลข IP ของ IPv4 กำลังจะหมดไป อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ดี แม้ IPv4 บางส่วนจะถูกเก็บไว้เป็นเลข IP สำรอง แต่รายงานของ APNIC ก็เป็นการประกาศระดับภูมิภาคครั้งแรก และจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย สำหรับเรื่องนี้
โอวุม คาดการณ์ว่า ไม่ช้าภูมิภาคอื่น จะมีความเคลื่อนไหวถัดมาตามลำดับ โดยมองว่า เรื่องดังกล่าวยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย มิใช่แค่ปัญหาที่ IPv4 กำลังจะหมดลงเท่านั้น
เอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตด้านอุตสาหกรรมติดอันดับท็อปของโลก มีการผลิตอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์มากมาย ในขณะที่หลายบริษัทมองว่า ภูมิภาคนี้ คือทำเลทองในการขยายธุรกิจ อีกทั้งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยน เข้าสู่ยุค IPv6
อย่างไรก็ดี ในรายงานล่าสุดของโอวุม นักวิเคราะห์โทรคมฯ อิสระ กล่าวว่า เป็นที่น่าเสียดาย ที่แรงกดดันจากบรรดาผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะด้านโทรคมฯ และ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะตกไปอยู่กับ ผู้ที่ไม่รับรู้เรื่องราว และองค์กรธุรกิจจากต่างภูมิภาค ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนมาใช้ IPv6
“อาจมีพวกบัวใต้น้ำอยู่บ้าง แต่การวิจัยของเรายังยึดมั่นในแนวทางอันชัดเจน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความพยายามของอุตสาหกรรมที่จะผลักดันให้มีการเปลี่ยน แปลงเข้าสู่ยุค IPv6 ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผลวิจัยของเรา ยังเผยให้เห็นว่า มีองค์กรธุรกิจมากมาย ที่เข้าใจว่าตนเองใช้ IPv6 อยู่ ทั้งที่ความจริง มิได้เป็นเช่นนั้น”
นอกจากนี้ รายงานของโอวุม ยังนระบุว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้องค์กรธุรกิจขาดความเร่งรีบในการเปลี่ยนเป็น IPv6 คือ IPv4 ที่ยังมีเหลืออยู่ โดยที่องค์กรธุรกิจเหล่านี้ ยังมองว่า IPv4 ที่มีใช้อยู่ขณะนี้ เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งการเปลี่ยนไปสู่ IPv6 ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ขณะที่การขยายตัวของสมาร์ทโฟน และ แทบเล็ต ก็มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้เกิดการผลักดันเพราะอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ IPv6