 |
 |
 |
 |
ข่าว |
 |
 |
|
 |
 |
“การแพทย์สีเขียว” เทรนด์ ร.พ. ยุคใหม่ ผสานเทคโนโลยี-ซีเอสอาร์เพื่อสิ่งแวดล้อม
แนว คิดเรื่องโรงพยาบาลสีเขียว (Green Hospital) กำลังทวีบทบาทสูงขึ้นตามความเข้มข้นของการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน ซึ่งความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จากแวดวงการแพทย์เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หลังสภาอาคารสีเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่มาตรฐานของระบบการวัดระดับความเป็นอาคารสีเขียว หรือ Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) สำหรับการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ช่วยประหยัดการใช้พลังงาน
“โรง พยาบาลสีเขียว” ได้รับการกำหนดให้เป็นเสมือนการตอบแทนภาคสังคมของบุคลากรที่อยู่ในวงการ แพทย์ (Physicians for Social Responsibility) โดยโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่จะเข้ามาร่วมด้วย ต้องดำเนินการตามหลักการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ ได้แก่ เลือกสถานที่ตั้งซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เน้นการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ และใข้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน, ใช้วัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การก่อสร้างต้องคำนึงถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และเดินหน้ากระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปเรื่อยๆ โดยในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ โดยรอบต้องคำนึงถึง การนำมาใช้ซ้ำ, วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้, ลดของเสีย และก่อให้เกิดอากาศบริสุทธิ์
ทั้ง นี้ แม้การก่อสร้างตามหลักการข้างต้น เริ่มแรกจะมีต้นทุนก่อสร้างสูงกว่าการก่อสร้างทั่วไป แต่โรงพยาบาลภายใต้คอนเซ็ปต์สีเขียว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยออกมาดียิ่งขึ้น และช่วยรักษาบุคลากรด้วย
ขณะ เดียวกัน ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพด้านสาธารณสุข ก็เห็นพ้องกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ภาคส่วนนี้ต้องช่วยกันลดมลภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการให้บริการทางการ แพทย์
“ซีเมนส์” จัดเทคโนฯนำร่องคลินิกสีเขียว
“ซี เมนส์” ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับโลก ก็เดินหน้าขับเคลื่อนแนวคิดเกี่ยวกับโรงพยาบาลสีเขียวเช่นกัน โดยเข้าไปสนับสนุนคลินิแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เพื่อนำร่องในโครงการพัฒนา “คลินิคสีเขียว” ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้ามา ใช้บริการได้รับสิทธิของผู้ป่วยได้อย่างพอเพียง ด้วยวิธีคิดที่ครอบคุลมทั้ง ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานด้านการรักษาพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้ป่วย
ทั้ง นี้ ซีเมนส์ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับคลินิกศ้ลยกรรมตกแต่ง, ศัลยกรรมความงาม และเวชศาสตร์ป้องกัน ที่ชื่อว่า Ethianum ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผน โดยหลายๆ ระบบงานของคลินิกแห่งนี้ ได้แก่ แนวคิดด้านการจัดการพลังงาน, มีอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัยที่สุด และโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร ที่มาจากโปรแกรม “กรีนพลัสฮอสพิทอล (Green+ Hospitals)” ของซีเมนส์
แนว คิดของโรงพยาบาลที่ใช้หลักการบริหารงานแบบพอเพียงนั้น จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้บริการด้านเวชศาสตร์ที่ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หากยังต้องมีการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ทั้งมีความเป็นไปได้ว่าจะต้องเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้สภาพแวดล้อมของ อุปกรณ์การแพทย์ และระบบอาคารประหยัดพลังงาน, การรักษาและการตรวจวินิจฉัยที่ได้รับการวางโครงสร้างมาเป็นอย่างดีสำหรับการ ให้บริการทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์สูงสุด และห้องผู้ป่วยมีความสะดวกสบายสูงสุดเท่าที่จะเป็นได้
“ใน คลินิก Ethianum เทคโนโลยีเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่ามีที่มาจากเพียงแหล่งเดียว (single source) ซึ่งนี่คือสาเหตุว่า คลินิกนี้สร้างความประทับใจตามหลักเกณฑ์ทั้งหมดนี้ได้อย่างไร”
ระบบจัดการพลังงาน-ความไฮเทค
ทั้งนี้ การจัดการด้านพลังงาน ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่สุดสำหรับแนวคิดแบบพอเพียง ปัจจัยที่ทำให้เรื่องนี้มีความพิเศษ ก็คือ การเชื่อมโยงด้านการสื่อสารหลายๆ รูปแบบระหว่างระบบต่างๆ ซึ่งรวมถึง ระบบทำความร้อน, การระบายอากาศ และระบบแสงสว่าง
ตัวอย่าง เช่น ทุกครั้งที่ผู้ป่วยเปิดเครื่องปรับอากาศในห้อง ม่านบังตาก็จะลดต่ำลงมาโดยอัตโนมัติ ก่อนที่ระบบให้ความเย็นจะเริ่มทำงาน นอกจากนี้ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดจะถูกอ่านตลอดเวลาโดยศูนย์ควบคุม และนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในเดือน หรือปีก่อนหน้านั้น พร้อมมีการแจ้งเตือนหากพบว่ามีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ที่จะประหยัดได้อีก
นอก จากนี้ ยังมีระบบงานส่วนอื่นๆ ที่ซีเมนส์เตรียมพร้อมไว้สำหรับคลินิกสีเขียวนำร่องแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสื่อสาร และอุปกรณ์การแพทย์หลายอย่าง ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ปลายทางที่รองรับมัลติมีเดียซึ่งติดตั้งไว้ข้างเตียง จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถโทรเรียกเพื่อนัดหมายเรื่องตรวจวินิจฉัยอาการได้ , ทีวีนาฬิกาข้อมือ, วิดีโอ หรือจัดหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไว้ให้กับผู้ป่วย ขณะที่ บุคลากรทางการแพทย์ สามารถชื้ชิพการ์ดเพื่อเรียกดูข้อมูลในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลได้จาก อุปกรณ์ปลายทาง เป็นต้น
พร้อม กันนี้ ยังมีการจัดหาเครื่องสแกนเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ และระบบเอ็กซเรย์ดิจิทัล ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยลดโอกาสการสัมผัสกับรังสีให้เหลือน้อยที่สุด
|
 |
 |
 |
 |