User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ศึกค้าปลีก"สินค้าไอที"สุดร้อนแรง เชนสโตร์ดังยึดหัวหาดสนามภูธรบีบร้านค้าปรับตัว
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ศึกค้าปลีก"สินค้าไอที"สุดร้อนแรง เชนสโตร์ดังยึดหัวหาดสนามภูธรบีบร้านค้าปรับตัว

ศึกค้าปลีกไอทีระอุ เชนสโตร์เปิดศึกบุกสนามภูธร "Advice Distribution" ขยับบูมร้านค้ากึ่งแฟรนไชส์พยุง"ดีลเลอร์" รับมือแข่งดุ ตั้งเป้าขยายเครือข่ายเพิ่มอีกกว่า 150 แห่งลงถึงระดับอำเภอทั่วประเทศ ขณะที่ "คอมเซเว่น" เดินหน้าเปิด "บานาน่าไอที" 12 แห่ง พร้อมรุกเข้ามหาวิทยาลัยเปิด U-Store ประเดิม "ม.มหาสารคาม" ก่อนบุก "ม.ขอนแก่น-นเรศวร" หวังประชิด นักศึกษาถึงตัว


นับว่าสมรภูมิ ค้าปลีกสินค้าไอทีในห้วงเวลานี้คึกคักเป็นอย่างยิ่ง จากความเคลื่อนของผู้ค้าส่งระดับกลางที่เริ่มสยายปีกรุกเปิดร้านสร้างแบรนด์ ของตัวเองขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ไม่ว่าจะเป็น "JIB", บานาน่าไอที, ไอ-สตูดิโอ และล่าสุด "Advance Distribution"

โดยนายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยร่วมค้า เดอะซิสเต็มส์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้าไอที ทั้งค้าปลีกและค้าส่งภายใต้แบรนด์ "Advice Distribution" กล่าวถึงภาพรวมตลาดค้าปลีกสินค้าไอทีว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเชนสโตร์ค้าปลีกรายใหญ่จาก กทม. เช่น บานาน่าไอที ฮาร์ดแวร์เฮาส์ เจไอบี ที่เริ่มขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีกรายเล็กที่อยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ล้มหายไปจากตลาด ส่งผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งทำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีด้วย บริษัทจึงต้องปรับตัว โดยเพิ่มธุรกิจ ค้าปลีก เพื่อช่วยเหลือดีลเลอร์รายเล็กให้แข่งขันกับรายใหญ่ได้ พร้อมกับเป็นการเพิ่มยอดขายของบริษัทด้วย

บริษัทได้ขยายร้านค้าปลีก ภายใต้ แบรนด์ Advance Distribution ถือเป็นร้านค้ารูปแบบกึ่งแฟรนไชส์ ปัจจุบันมี 110 แห่ง ครอบคลุม 62 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นดีลเลอร์รายเดิมของบริษัทจึงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมซื้อแฟรนไช ส์ แต่ต้องแบ่งรายได้จากกำไรขั้นต้นประมาณ 10% ให้บริษัท โดยบริษัทจะดูแลระบบการบริหารจัดการการขายทั้งหมด และระบบบัญชีแบบเรียลไทม์ให้ แต่ดีลเลอร์ต้องปรับเปลี่ยนหน้าร้านให้สอดคล้องกับมาตรฐานของบริษัท ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยรายละ 6 แสนบาท-1 ล้านบาท คาดว่าในปีหน้าจะขยายร้านค้าลงไปในอำเภอต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก 150 แห่ง

"เรา เลือกทำธุรกิจกึ่งแฟรนไชส์ เพราะลงทุนเปิดสาขาเอง เท่ากับไปแข่งกับดีลเลอร์ และขยายสาขาเร็วกว่าการลงทุนเอง มีจุดเด่นคือเจ้าของร้านบริหารเอง มีความคุ้นเคยในพื้นที่ มี คอนเน็กชั่นกับลูกค้ามากกว่า ขณะที่ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ยากเหมือนกันที่ให้ดีลเลอร์เป็นคนลงทุน แต่ร้านค้าต้องหนีตายจากสภาพการ แข่งขัน โดยเฉพาะคู่แข่งจาก กทม. เราจึงเข้าไปช่วยนำมาร์จิ้นจากค้าปลีกไปลดราคาขายส่ง แม้ทำให้กำไรสุดท้ายบางลง แต่ถ้าดีลเลอร์ดีขึ้น เราก็อยู่ได้"

สำหรับ พื้นที่ใน กทม.และปริมณฑล บริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเปิดร้านเอง 100% ขณะนี้มีทั้งสิ้น 4 สาขา ชื่อ "ร้านคอมพิวเตอร์โอเค" ที่เซียร์ รังสิต, พันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน, พันธุ์ทิพย์พลาซ่า บางกะปิ และอิมพีเรียล สำโรง ซึ่งจะทยอยเปลี่ยนชื่อเป็น Advice Distribution พร้อมขยายสาขาเพิ่มอีก 20 แห่ง ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 3 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้รวมประมาณ 8,500 ล้านบาท จากตลาดต่างจังหวัด 90% มาจากโน้ตบุ๊ก 30% และอุปกรณ์ดีไอวายสำหรับเดสก์ท็อป 70% เพิ่มจาก ปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 5,900 ล้านบาท จากอุปกรณ์ดีไอวาย 90%

นอก จากนี้ ปีนี้บริษัทมีงบประมาณการตลาด 25 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 60 ล้านบาท ในปีหน้า เพราะจะรุกจัดกิจกรรมมากขึ้น เช่น เปิดเว็บไซต์ทีวีออนไลน์สื่อสารกับลูกค้าและร้านค้าในเครือข่าย, จัดเทรนนิ่ง, โรดโชว์เปิดตัวแบรนด์ เป็นต้น

นายณัฏฐ์กล่าวว่า การขยายสาขาของ Advice Distribution เพื่อวางรากฐานให้ร้านค้ารายย่อยในต่างอำเภอรับมือการแข่งขันกับรายใหญ่ที่ กำลังขยายสาขาไปนอกอำเภอเมืองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าความต้องการในต่างจังหวัดมีเยอะมาก ขณะที่คู่แข่งน้อย

ด้าน นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้จำหน่าย สินค้าไอทีภายใต้แบรนด์บานาน่าไอที กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดไอทีครึ่งปีหลังน่าจะมีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นอีก จากครึ่งปีแรกเติบโตได้ตามที่คาดไว้ ทั้งปีบริษัทตั้งเป้า ยอดขายไว้ที่ 8,000 ล้านบาท จากร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์บานาน่าไอที 60%, iStuio 30% และธุรกิจค้าส่ง 10% โดยในครึ่งปีหลัง บานาน่าไอทีจะขยายสาขาเพิ่มอีก 12 แห่ง ในต่างจังหวัดทั้งหมด ลงทุนแห่งละ 5-8 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีสาขาทั้งหมด 130-140 สาขา

นอกจากนี้ กำลังทยอยลงทุนขยายพื้นที่หน้าร้าน จาก 250 ตร.ม. เป็น 450 ตร.ม. เพื่อรองรับสินค้าแก็ดเจต และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากขึ้น มีการเพิ่มหมวดสินค้าแอปเปิลให้ครบ 20 สาขา จากปัจจุบันมีในบานาน่าไอทีเพียง 8 แห่ง

สำหรับร้าน iStudio บริษัทจะเปิดสาขาใหม่อีก 5 สาขา ลงทุนแห่งละ 10 ล้านบาท และ iBeat (ร้านแบบเดียวกับไอ-สตูดิโอ แต่ขนาดเล็กกว่า) อีก 12 สาขา ลงทุนแห่งละ 6-7 ล้านบาท ถือเป็นการเปิดสาขามากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเน้นต่างจังหวัด ทั้งหัวเมืองหลักและหัวเมืองรอง เช่น นครปฐม กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ ศรีสะเกษ เป็นต้น เนื่องจากสินค้าแอปเปิลกำลังมาแรง โดยเฉพาะไอโฟนและไอแพด จากเดิมลูกค้าไม่คุ้นเคยกับสินค้าแอปเปิล และมองระบบปฏิบัติการใช้ยาก ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังมีร้านขายสินค้าแอปเปิลน้อย

"ปีนี้เป็นปี แรกที่คอมเซเว่นเปิด U-Store ร้านค้าแอปเปิลในมหาวิทยาลัย เพราะเข้าถึงตัวผู้ซื้อ คือนักศึกษาได้ก่อน ทำให้มีโอกาสการขายมาก โดยเพิ่งเปิด U-Store ที่ ม.มหาสารคามเป็นแห่งแรก และกำลังจะไปที่ ม.ขอนแก่น และ ม.นเรศวร เร็ว ๆ นี้"

นายสุระกล่าวต่อว่า สภาพการแข่งขันของเชนสโตร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง แต่แต่ละรายหันมาเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ลูกค้า เช่น บริการหลังการขาย เพราะสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น รายใดมีแวลูเพิ่มให้ลูกค้า และสถานที่สะดวก ทำให้ดึงดูดลูกค้าได้

"เชนโสตร์ทุกรายต่างมองเห็น โอกาสในต่างจังหวัดว่าพอไปได้ ยังมีช่องว่างอยู่ และร้านโลคอลบางรายยังปรับตัวช้า ความจริง ร้านท้องถิ่นเดิมมีจุดขายอยู่แล้ว เราเข้าไปแล้วเป็นผู้เสียเปรียบด้วยซ้ำ จึงต้องอาศัยมูลค่าเพิ่มเป็นตัวเสริมเข้าไป ไม่ได้ไปแข่งราคา เพราะตราบใดเราเข้าไปแล้ว ไม่มีการแข่งราคาเกิดขึ้น ก็จะไม่มีประเด็น"
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.