User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » "ชวพล จริยาวิโรจน์" จากโทรคมสู่โลกแห่ง...เวอร์ชวล
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

"ชวพล จริยาวิโรจน์" จากโทรคมสู่โลกแห่ง...เวอร์ชวล

เจาะแนวคิด "วีเอ็มแวร์" ผ่านผู้บริหารหนุ่ม "ชวพล จริยาวิโรจน์" กับแทรนด์ไอทีในแบบ "เวอร์ชวล"

"เทคโนโลยี เวอร์ชวลไลเซชั่นตอนนี้ผมว่า มันสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไอทีที่ผ่านมา เพราะการทำเวอร์ชวลเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อไปสู่คลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่เรียกว่าเป็นการบิสสิเนส ทรานสฟอร์เมชั่น ที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี แต่มันเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงานด้านไอทีขององค์กรครั้งใหญ่" ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า

เทรนด์ใหม่มาแรง
ในฐานะที่เป็นองค์กรที่อาจจัดอยู่ ในกลุ่มน้องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมไอทีโลก แต่เมื่อพูดถึงศักยภาพของธุรกิจ และผลที่กำลังเกิดขึ้นกับแวดวงไอที ความน่าสนใจของตลาดเวอร์ชวล แมชชีน เช่น วีเอ็มแวร์ ก็เริ่มมีมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ "คลาวด์ คอมพิวติ้ง" กำลังเป็นหลักชัยของการลงทุนไอทีในองค์กรส่วนใหญ่ ชื่อของ "วีเอ็มแวร์" ยิ่งจะถูกกล่าวถึงถี่ขึ้นมากกว่าปกติ ด้วยเหตุที่ว่า ปัจจุบันยังไม่มีบริษัทใดที่มีเทคโนโลยีเพื่อรองรับการทำคลาวด์ คอมพิวติ้งที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะเทคโนโลยีการทำให้องค์ประกอบของศูนย์ข้อมูลกลายเป็นเวอร์ชวลไลเซ ชั่นที่ครองส่วนแบ่งทั้งตลาดโลกและไทยได้มากกว่า 84%

ชวพล บอกว่า 17-18 ปีที่ผ่านมาเห็นการพัฒนาการไอทีเปลี่ยนแปลงเยอะมาก จากจุดเริ่มต้นของอนาลอคพัฒนามาเป็นดิจิทัล สู่เทคโนโลยีเซอร์กิต, ซอฟต์แวร์ เบส, ไอพี จนกระทั่งคอนเซปท์การทำระบบไอทีแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่องค์กรสามารถประหยัดงบการลงทุนได้มหาศาลจากความสามารถในการแชร์ใช้ ทรัพยากรไอทีขององค์กรได้โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ทั้งหมดทำให้ยิ่งมั่นใจว่า ในปีนี้ตลาดไทยจะตอบรับกับการลงทุนเพื่อทำไอทีให้เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้ง

"ความ ท้าทายของไอทีปัจจุบันคือ งบประมาณส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งถูกใช้ไปกับการทำให้ระบบเก่าสามารถรันต่อไปได้ แต่เป็นเงินที่ใช้เพื่อการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆแค่ 28-30% ซึ่งบทบาทของเราคือ เราต้องเปลี่ยนสมการนี้ โดยที่เวอร์ชวลไลเซชั่นจะเป็นตัวช่วยสำคัญ" ชวพลว่า

จากโทรคมสู่วงการไอที
อย่างไรก็ตาม แม้ตลอดเส้นทางการทำงานที่ผ่านมาเกือบ 20 ปีของผู้บริหารวีเอ็มแวร์ จะคลุกคลีอยู่กับตลาดในฝั่งโทรคมเป็นหลัก แต่เทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และมีพัฒนาการทั้งแบบที่ต่อยอดกันเรื่อยมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเก่า อย่างสิ้นเชิง การตัดสินใจข้ามห้วยมาในฝั่งไอทีจึงไม่ถือเป็นอุปสรรคสำคัญ

"ไอ ทีเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวเร็วกว่าธุรกิจโทรคมมาก เพราะในไทยปริมาณลูกค้าเมื่อเทียบระหว่าง 2 กลุ่มนี้ กลุ่มโทรคมไม่เยอะ ซึ่งโดยธรรมชาติคือ สเกลใหญ่ มีความซับซ้อนมาก แต่ฝั่งไอทีจะเคลื่อนไหวเร็วกว่า และลักษณะลูกค้าจะหลากหลายกว่า และที่สำคัญคือ ต้องมาสู้กับคู่แข่ง"

เขาบอกว่า ในมุมของการบริหารงานก็แตกต่างกันด้วย โดยตลาดไอทีในฝั่งที่เป็นไอทีด้านเทคโนโลยีเป็นธุรกิจที่มีขอบเขตตลาดกว้าง ดังนั้นก็จำเป็นต้องมีมุมมองที่หลากหลาย และทำตลาดให้ครอบคลุม ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพราะบริษัทคงไม่สามารถดูแลลูกค้าทุกรายได้ทั้งหมดด้วยตัวเอง

แต่โชคดีที่ว่าสถานะของวีเอ็มแวร์ใน ปัจจุบันนี้ยังไม่มีคู่แข่งที่อยู่ในระดับจะไล่ตามได้ทันง่ายๆ แต่สิ่งสำคัญคือ การหาพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และหาวิธีที่ทำให้พันธมิตรเข้าใจแนวคิดใหม่ทางธุรกิจ เพราะไม่ใช่การขายฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เป็นหลักเหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นการขายคอนเซปท์ที่เป็นโซลูชั่นให้กับลูกค้า

ปรับรับตลาดเติบโต
ในปีนี้นอกจากการเพิ่มบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดตั้งแต่ต้นปีแล้ว วีเอ็มแวร์ประเทศไทยยังได้รับการมอบหมายให้ดูแลตลาดลาว และกัมพูชาเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพของการเติบโตที่ยังไปต่อได้อีก

"3 ปีที่ผ่านมาเราขายไฮเปอร์วี ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับทำเวอร์ชวลไลเซชั่นเป็นหลัก แต่สเตปถัดไปคือ ต้องเข้าไปให้ความรู้กับตลาดว่าการทำเวอร์ชวลไลเซชั่นเพื่อไปสู่คลาวด์ฯไม่ ใช่เพราะราคาถูก แต่เพราะมันดีกว่า" ชวพลว่า

นอกจากนี้ ล่าสุดบริษัทยังได้ปรับกลุ่มสินค้าออกเป็น 3 เลเยอร์หลัก เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น โดยแบ่งเป็นออโตเมท คลาวด์ อินฟราสตรัคเจอร์, แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และเอ็นด์ยูสเซอร์ คอมพิวติ้ง ที่จะทำให้ภาพการเป็นผู้ให้บริการด้านไอทีคือ "ไอที แอส อะ เซอร์วิส" ชัดเจนมากขึ้น

รวมทั้งการจัดกลุ่มสินค้าให้เป็นสวีท พร้อมกับการอัพเกรดเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ให้มีลูกเล่น และความสามารถในการจัดการระบบเวอร์ชวลไลเซชั่นให้ทำงานได้เป็นระบบอัตโนมัติ และลูกค้าองค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อปรับระบบไอทีให้เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้งได้ง่ายขึ้น

ปลายทางบนก้อนเมฆ
อย่างไรก็ตามเขาก็ยอมรับว่า แม้จะทำให้เป็นสวีทพร้อมใช้งาน แต่การทำคลาวด์ คอมพิวติ้งของแต่ละองค์กรก็ยังต่างกัน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่นิยมทำ "ไพรเวท คลาวด์" เพื่อใช้กับหน่วยงานภายในเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลสูง

เขาระบุว่า ในปีนี้ในไทยจะเริ่มมีผู้ลงทุนกับคลาวด์ คอมพิวติ้งมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงกลุ่มพับลิก คลาวด์ โพรไวเดอร์ที่กำลังจะเริ่มมีให้บริการกับลูกค้าในไทยในปีนี้อีก 3 ราย

"เป้าหมายของวีเอ็มแวร์ใน ไทยคือการดันองค์กรที่ทำระบบเป็นเวอร์ชวลแล้วให้ขยับไปสู่คลาวด์ฯ ซึ่งดูสถานการณ์ไอทีตอนนี้บ้านเราจะเหมือนสิงคโปร์เมื่อ 18 เดือนก่อนที่ไม่มีใครกล้าตัดสินใจกระโดดไปลงทุนกับคอนเซปท์ไอทีใหม่อย่าง คลาวด์ฯ แต่เมื่อมันมีองค์กรใหญ่ๆ หรือมีคนโดดไปทำให้เห็น และพิสูจน์ว่ามันเวิร์คแล้ว มันจะเกิดอาการอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้งมันคือ เทรนด์ของโลกไอทีตอนนี้" ผู้บริหารวีเอ็มแวร์ว่า
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.