User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » จาก tablet / Free Wi-Fi ถึงปมเขื่องที่ค้างคา ทุกฝ่ายเชื่อ..ก้าวข้ามคำปรามาส
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

จาก tablet / Free Wi-Fi ถึงปมเขื่องที่ค้างคา ทุกฝ่ายเชื่อ..ก้าวข้ามคำปรามาส

ถึง วันนี้แม้ตัวเจ้ากระทรวงไอซีทียังไม่ชัดเจน ท่ามกลางการระบุตัวตนตามธรรมเนียมการเมืองไทย ที่ผู้ถูกพาดพิงมีตั้งแต่ นิวัฒน์ธำรง หนึ่งในทีมปั้นนายกหญิงฯคนแรก หรือ คณวัฒน์ อดีตผู้ช่วยรมว.ไอซีที ผู้วางกรอบนโยบายหาเสียงมาต่อเนื่อง หรือ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจรอบล่าสุด

แต่ ทั้งหมดไม่สำคัญเท่า การเดินหน้านโยบายหาเสียงทั้งการแจก Tablet ให้เด็กประถมหนึ่ง การขยายจุดฟรี Wi-Fi ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะการสางเรื่องที่ค้างอยู่ตั้งแต่ การรื้อแก้ไขสัมปทานมือถือ ท่าทีต่อการพิจารณาสัญญาของ กสท-ทรู ในการทำสัญญา HSPA หรือการประสานงานเพื่อเร่ง กสทช. และการประมูล 3G หรือโครงการ TOT3G ที่AISอาจต้องเอี่ยว ล้วนเป็นจุดวัดใจทั้งสิ้น

รวมไปถึงการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียมให้ทันเวลาสิ้นปี ซึ่งรัฐบาล ปชป.วางโจทย์ใหญ่ให้ตามเช็ดอยู่ด้วย

ท่าม กลางหลายๆ รายชื่อที่ถูกส่งออกมา เพื่อบอกว่าเป็นตัวเก็งที่จะเข้ามาเป็น รมว.ไอซีที มีตั้งแต่ คณวัฒน์ วศินสังวร อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีไอซีที และรองหัวหน้าพรรค ผู้เดินนโยบายหาเสียงในด้านไอซีทีของพรรคเพื่อไทยมาตลอด หรือนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตซีอีโอสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และผู้บริหารกลุ่มชิน คนนี้หลังจากได้ลาสิกขา จากสมณะเพศที่ครองมาอยู่หลายปีมาแล้วนั้น ก็ได้เห็นภาพอยู่แวดล้อมจัดตารางเวลาของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงหาเสียงมาตลอด และเขาก็เป็นผู้ที่ถูกระบุทั้งโอกาสที่จะเป็นเลขานุการนายกฯ หรือรมว.ไอซีที

อีกคนหนึ่งคือ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.รุ่น ใหญ่ที่เป็นตัวหลักในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รมต.จุติ ไกรฤกษ์ ในเรื่องโครงการประมูล 3G และการทำสัญญาระหว่างกสทกับทรู ในรอบล่าสุด

ผู้ สันทัดการเมืองคนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า จุดนี้ไม่น่าจะสำคัญมาก เพราะพรรคเพื่อไทยมีฐาน ส.ส.มากถึง 265 เสียง มั่นคงเพียงพอที่จะจัดวางคนจากพรรคที่เหมาะสมเพื่อสานนโยบายตามที่หาเสียง ไว้ เพื่อรักษาศรัทธาต่อประชาชน และไม่น่ากังวลว่าใครจะจับจ้องว่าการบริหารจัดการเอื้อประโยชน์กับกลุ่ม ธุรกิจในเครือชินคอร์ปหรือไม่ เพราะส่วนมากปัจจุบันไม่ได้ถือหุ้นโดยชินวัตร แล้ว

ที่ สำคัญเพราะหากคนตั้งใจจะตีการบริหารจัดการด้านโทรคมนาคม ก็ไม่จำเป็นต้องไปตีที่ตัวรัฐมนตรี แต่สามารถตีที่นายกฯได้โดยตรงเพราะเป็นน้องสาวแท้ๆของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร !!!!

อย่าง ไรก็ตามต้องยอมรับว่า สายสัมพันธ์ของผู้บริหารในกลุ่มชินกับพรรคเพื่อไทยแนบแน่น และสอดรับกันแน่นอน แต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่า หากรัฐบาลนี้ไม่เลือกวิธีที่ทำอะไรที่ “โฉ่งฉ่าง” มาก ก็อาจเรียกความศรัทธาจากการบริหารงานได้ไม่ยาก

ทอม เครือโสภณ อดีตผู้บริหารนอร์เทล เน็ตเวิร์คประเทศไทย ผู้ถูกชักชวนจาก คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้เข้าร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาของพรรคเพื่อไทย กล่าวกับ Telecom Journal ว่า พรรคน่าจะเน้นการเดินโครงการด้านสาธารณูปโภคและด้านการเกษตร ซึ่งจะเป็นจุดที่สร้างงานและผลงานให้ประชาชนยอมรับ ส่วนในเรื่องไอซีที ก็จะเดินตามการหาเสียง ซึ่งกว่าจะทำเรื่องพวกนี้ให้เป็นรูปร่างได้ก็ใช้เวลาร่วมปีแล้ว ส่วนเรื่องเปราะบางในด้านโทรคมนาคมในช่วงต้นไม่ควรลงไปยุ่งมากนัก

อย่าง ไรก็ตามแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งในกลุ่มกล่าวว่า ที่ผ่านมา นิวัฒน์ธำรง เป็นคนแสดงความสนใจอยากเข้ามาทำงานในด้านไอซีที เพราะอยากเดินหน้าในเรื่อง IPTV หรือระบบการถ่ายทอดเผยแพร่ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และเข้ามาจัดการในเรื่องปัญหาการแก้ไขสัมปทานเดิมที่เดินมาไม่ถูกต้องทั้ง ระบบด้วย

เรื่อง ของคนก็คือเรื่องที่ต้องรอคอยและรอดูการจัดการ ว่าจะเข้ามาสะกิดจุดเปราะบางให้จับจ้องอย่างไร แต่เรื่องที่หาเสียงไว้ก็คงถูกจับจ้องไม่แพ้กัน

Tablet PC และฟรี Wi-Fi สาธารณะ

พรรคเพื่อไทย วางนโยบายหลักทั้ง 31 ด้านที่ประกาศนโยบายไป มี 2 เรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบาย ICT คือ 1. ให้เด็กนักเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ One Tablet PC Per Child และ 2. Free Wi-Fi เล่น Internet ในที่สาธารณะ เช่นสถานศึกษา สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล ฯลฯ

คณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคกล่าวกับ Telecom Journal ว่า one tablet PC per child นั้นไม่ใช่โครงการใหม่ แต่เป็นการสานต่อโครงการ one notebook per child ของพรรคไทยรักไทยเดิม ในสมัยที่เขาเคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี แต่โครงการนี้ยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติก็ถูกปฏิวัติก่อนในปี 2549 และไม่มีการสานต่อจากรัฐบาลต่อมา

โครงการ tablet ไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่มีหลายคนห่วงว่าจะใช้งบมหาศาล เพราะเครื่องที่มีฐานผลิตในจีนเมื่อซื้อจำนวนมากราคาไม่น่าเกิน 5,000 บาทต่อเครื่อง และโครงการนี้จะให้กับเด็กประถม1ก่อนเท่านั้นและใช้จนเด็กกลุ่มนี้โตจนถึง ประถม6 เพื่อให้เป็น ebook และจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดหากดำเนินการจริงจะมีต้นทุนปีละ 4,000 ล้านบาท หรือตกวันละ 1.80บาทต่อคนต่อวันเท่านั้น ซึ่งคุ้มกว่าโครงการนมโรงเรียนที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท

ทั้ง นี้การแจกจ่ายให้ tablet กับเด็กประถม จะมีการใส่ข้อมูล courseware ที่จำเป็นลงไปด้วย เพื่อเป็น content ในการเรียนการสอนของเด็กและครู

“เรา ไม่ได้นับหนึ่ง เพราะทำ proposal มาตั้งแต่โครงการ Notebook เดิม และมีการ update ข้อมูลตลอด พอมาถึงวันนี้จึงเป็น tablet ซึ่ง portable และมี mobile application มากมายทั้งแบบฟรีและแบบที่เปิดโอกาสพัฒนาร่วมกัน”

อย่าง ไรก็ตามเขาระบุว่า รายะเอียดขั้นตอน implement process เป็นเรื่องที่ยังไม่ควรพูดถึงตอนนี้ เพราะเมื่อได้เข้ามาทำจริงก็จะต้องให้ ICT และกระทรวงศึกษาธิการเป็นแม่งานหลัก

ส่วน อีกโครงการคือ free Wi-Fi ในที่สาธารณะเช่นโรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธาณะต่างๆนั้น มีความมุ่งหวังในชั้นต้นที่ความเร็ว 152 Kbps ซึ่งเรื่องนี้ต้องได้รับการผลักดันในเรื่องโครงข่าย broadband (fixed and mobile) และ 3G เพื่อให้เกิดโครงข่ายความเร็วสูง

พรรค เพื่อไทยเห็นว่า การลงทุนใน free Wi-Fi ควรจะใช้เงินในส่วนที่เปอเรเตอร์ทั้งหมดต้องจ่ายค่า USO-Universal Service Obligation ให้กับกสทช.อยู่แล้วในแต่ละปีทั้งค่า ธรรมเนียมไลเซนส์และค่าธรรมเนียมเลขหมายด้วย

ส่วน เรื่อง โครงข่าย 3G ควรเดินต่อเนื่อง แม้ในช่วงสุญญากาศ 3G ความถี่ 2100MHz โดย TOT3G และ CAT 3G HSPA ควรสานต่ออย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้เอกชน เป็น service provider มาใช้โครงข่ายร่วมกัน ขณะที่ทีโอทีและกสท ก็ปรับตัวเป็น network provider ให้ชัดเจนขึ้น

อย่าง ไรก็ตามในประเด็นองค์กรกสทช.ในอนาคต อย่างกทช.ที่ผ่านมา เขาเห็นว่ามีอิสระจนเกินไป และเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้อุตสาหกรรมและการกำกับดูแลไม่สอดคล้องกัน หรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

โดย จุดที่ในอนาคตควรจะเข้าไปแก้ไขกฎหมาย กสทช.ที่มีผลบังคับใช้อยู่ ให้องค์กรมีการเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งกสทช.มีบทบาทรวมศูนย์ทั้งเขียนแผนแม่บทอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเป็นผู้กำกับดูแล และให้ใบอนุญาตทำธุรกิจกับเอกชนด้วย

นายแพทย์ บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์นโยบายเพื่อไทยว่า มีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะตำบลที่มีอยู่มากกว่า 7,400 ตำบลทั่วประเทศนั้น ไม่มีความชัดเจนว่าจะพัฒนา content ให้สามารถนำไปใช้งานกับการแจก tabletได้อย่างไร

นอก จากนี้แม้การให้ tablet เป็นเรื่องที่ดี และเด็กต้องการได้ แต่เด็กที่มีจำนวนมากอาจทำให้โครงการนี้มากเกิน 80,000ล้านบาทเงินมากมายที่ไม่การันตีความสำเร็จได้นี้ น่าจะเอามาทำสิ่งที่ทำได้จริงและมีประโยชน์โดยตรงกว่า

โดย ยกตัวอย่างว่า สิ่งที่เด็กและชุมชนควรได้ก่อนคือ hi-speed network ที่เชื่อมต่อกว่า 20 ล้านครัวเรือน และ schoolNet หรืออินเทอร์เน็ตชุมชนที่ความเร็ว 2 Mbps อย่างทั่วถึง

“เงิน มหาศาล น่าจะไปทำ network เชื่อมต่อทั้งหมด มีเน็ตความเร็วสูงในจุดที่บริการสาธารณะ มีครูอาจารย์หรือผู้ปกครองดูแล จะดีกว่าหรือไม่ นอกจากนี้เมื่อมี network ที่เชื่อมต่อกันหมด ก็เอาไปใช้ในด้านสังคมเช่น การเชื่อมกับระบบCCTV บริการสังคมก็ได้” โฆษกประชาธิปัตย์วิจารณ์
เร่งกสทช.ประมูล 3G แก้ปัญหาฟ้องร้อง

คณวัฒ น์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยนั้น หากจะแก้ให้สำเร็จนั้นต้องเร่งให้มีการออกใบอนุญาต 3G โดยเร่งกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียม ซึ่งเชื่อว่าหากมีการออกใบอนุญาต 3G บริษัทที่มีการฟ้องร้องทั้งหลายก็จะถอนฟ้องไปเอง

อย่าง ไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.ก็ยังงงๆ อยู่ว่าตนมีอำนาจในการออกใบอนุญาตหรือไม่ รวมไปถึงการนำเข้าอุปกรณ์ได้หรือเปล่า ซึ่งประชาชนก็ไม่มีทางเลือกเพราะปัจจุบันรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการ 3G ก็เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ทราบว่าจะทำให้พร้อมได้แค่ไหน เนื่องจากข้อจำกัดมีเยอะ

นอก จากนี้ในส่วนของสัญญาการดำเนินธุรกิจระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE นั้น ก็ไม่มีความชัดเจน ทั้งในส่วนของ กสทฯ กระทรวงไอซีที ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ครบทั้ง 10 คำถาม ทั้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จนกระทั่งถึง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งสิ่งที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ดีที่สุดในโทรคมนาคม คือ ต้องเร่งการออกใบอนุญาต 3G ที่จะทำให้การแข่งขันเท่าเทียมแล้วยังจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์คือค่า บริการที่ถูกลง ซึ่งหากจะรอให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที เดินหน้า 3G สุดท้ายก็หนีไม่พ้นความไม่มีประสิทธิภาพ

“กรณี สัญญา TRUE-กสท โดย กสท ให้ TRUE ติดตั้งอุปกรณ์บนโครงข่ายของ กสท และให้ TRUE ดำเนินธุรกิจถึง 80% นั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม คดีความของเอกชนที่มีการฟ้องร้องกันไปมา ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องว่ากันไป แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของเรื่อง 3G ซึ่งทั้ง 2 บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการฟ้องร้องกันเวลานี้ เป็นคู่สัญญาสัมปทานของกสท ทั้งคู่ ซึ่งสะท้อนว่าระบบสัมปทานล้มเหลว” คณวัฒน์ กล่าว

ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ให้ความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมกว่าพรรคอื่น แต่เป็นรูปธรรมที่มีอาจพบอุปสรรคและปัญหามาก ในขณะที่ทั้ง 2 พรรคที่มีแนวทางดัน 3G หรือ hi- speed network ไปสู่ชุมชนทั่วประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ดี และเห็นด้วย แต่อยู่ที่ความจริงใจในการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง


ปัญหา ของ one tablet per child policy คือ เด็กนักเรียนมีจำนวนหลายล้านคน อาจใช้เงินมากมายหลายหมื่นล้านบาท และไม่การันตีความสำเร็จ ซึ่งอาจถูกตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบในการบริหารงบประมาณแผ่นดิน


เขา ยกตัวอย่างว่าปัญหาใหญ่คือสังคมไทยไม่มีความพร้อมในบุคลากรครู ที่เชื่อมโยงกับ ICT และที่สำคัญที่สุดคือการขาด content ในการเรียนการสอน การบ้าน หรือเนื้อหาสำหรับระบบออนไลน์เพื่อมอบหมายงานให้นักเรียน เรื่องเหล่านี้หากยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะมีเครื่องมือ แต่ขาดสิ่งสำคัญคือเนื้อหา
อุตฯ โทรคมนาคมขอรัฐบาลเร่งกสทช


วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่เร่งผลักดันการจัดตั้ง กสทช.ให้เสร็จ เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ภายใต้การออกใบอนุญาตบริการ หรือ ไลเซ่นส์ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์

ทั้ง นี้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคใด เอไอเอสยืนยันว่าไม่ได้รับสิทธิพิเศษในการดำเนินธุรกิจ เพราะบริษัทมีความเข้มแข็งมากพอที่จะแข่งขันกับรายอื่นได้เอง หากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะทำให้ 3 จีเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสำเร็จได้เร็วขึ้น ด้วย

ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลปรับระบบสัมปทานให้เข้าสู่การแข่งขันที่เป็นธรรมภายใต้ไล เซ่นส์ เพื่อให้อุตสาหกรรมและธุรกิจโทรคมนาคมเติบโตมากกว่านี้ เพราะการที่ยังอยู่ในระบบสัมปทานทำให้การกระจายโครงสร้างพื้นฐานต้องล่าช้า ออกไปในบางพื้นที่ที่เอกชนไม่สามารถดำเนินการได้และหน่วยงานของรัฐเองก็ไม่ ได้ทำเช่นกัน

จุดวัดใจ 3G กสท-ทรู

ประเด็น หนึ่งที่รัฐบาลชุดนี้ต้องเข้าสู่การจับจ้อง คือเรื่องราวของการทำสัญญากสทกับทรู ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ทรูเข้าไปซื้อกิจการของ HUTCH และ BFKT และได้สิทธิในการซื้อ capacity ของกสท ในสัดส่วน 80% เพื่อทำตลาด3G HSPAในสัญญาใหม่ที่ยาวออกไป 14 ปี โดยผ่านบริษัทลูกของทรู จากเดิมสัมปทานมือถือของทรู มูฟความถี่1800MHzจะหมดลงในไม่ถึง 2 ปีนี้

สัญญาและการดำเนินธุรกิจนี้มีการตรวจสอบจากหลายหน่วยงานรัฐ ขณะเดียวกันการลงทุนเพิ่มของกสท ก็ต้องรอให้ไอซีทีพิจารณาด้วย

อนุรักษ์ นิยมเวช ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ 3G เอชเอสพีเอ ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม และ กลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยเฉพาะโครงการขยายโครงข่ายของกสท มูลค่า 1.25 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ เพราะขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งการที่รัฐบาลเปลี่ยนจากประชาธิปัตย์เป็นเพื่อไทยนั้น กระทรวงไอซีทีอาจสั่งให้ทบทวนโครงการนี้ใหม่ หากเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

นอก จากนี้ สัญญาการให้บริการเอชเอสพีเอที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้ ไอซีทีอาจนำเสนอ ครม.ให้พิจารณาใหม่ว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน หรือไม่ จากการที่ถูกตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก

ใน ส่วนของการตรวจสอบของกมธ. เกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คือ กระทรวงไอซีที รักษาการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. สภาพัฒน์ กสท และ กรมศุลกากรเข้าชี้แจงข้อมูลทั้งหมดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา

ประเด็น ที่ทางกมธ. ชุดนี้เป็นห่วง คือ การให้บริการ 3G ครั้งนี้ ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ .องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ. กสทช.หรือไม่ เพราะมาตราดังกล่าวระบุห้ามกสท และ ทีโอที ขายต่อการให้บริการในลักษณะเอ็มวีเอ็นโอกับเอกชน ดังนั้น หากพบว่า กสท ทำไม่ได้ ทีโอทีก็ไม่สามารถให้บริการได้เช่นกัน
อย่าสะดุดขาตัวเอง ซ้ำรอยปชป.

รัฐบาล นี้ยังต้องมีภาระจากการบ้านที่พรรคประชาธิปัตย์ทิ้งไว้ให้คือ สิทธิวงโคจรดาวเทียม 120-50.5 องศาตะวันออก ที่จะหมดอายุการรักษาสิทธิในปลายปีนี้และกลางปีหน้าตามลำดับ

ปัจจุบัน ไทยมีตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมอยู่ 6 จุด คือตำแหน่ง 119.5 องศา (เป็นตำแหน่งของไอพีสตาร์) ตำแหน่ง 78.5 องศา (ไทยคม 5 อยู่ระหว่างจะยิงดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นไปแทนจะสามารถยิงได้ในปี 2556) โดยทั้ง 2 ตำแหน่งดังกล่าวนี้ บมจ.ไทยคม หรือ THCOM เหลืออายุสัญญาสัมปทานกับกระทรวงไอซีทีอีก 8 ปี ในขณะที่กระทรวงไอซีทีจะยังคงมีถือสิทธิในการรักษาตำแหน่งวงโคจรไว้เท่าไรก็ ได้จนกว่ากระทรวงไอซีทีจะแสดงความจำนงที่จะไม่รักษาสิทธิดังกล่าว ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกจะสิ้นสุดในการรักษาตำแหน่งวงโคจรในเดือน พ.ย.2554 ตำแหน่ง 50.5 องศาจะหมดอายุกลางปี 2555 ขณะที่ตำแหน่ง 126 และ 142 องศา ยังเหลืออายุการรักษาสิทธิอีก 2 ปี


ก่อน หน้านี้ จุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที กล่าวว่า การขอขยายเวลาการรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาออก ที่กำลังจะหมดอายุลงในเดือน พ.ย.2554 และตำแหน่ง 50.5 องศา ที่จะหมดอายุในช่วงกลางปีหน้า ทั้งนี้ ตนได้รายงานความคืบหน้าให้ ครม. รับทราบถึงระยะเวลาที่ใกล้จะหมดสิทธิในการจองวงโคจรทั้งหมดแล้ว โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อทักท้วงว่าทำไมสิทธิในการรักษาวงโคจรใกล้จะหมดลงแล้วแต่กระทรวงไอซี ทีถึงได้ปล่อยให้ระยะเวลามันกระชั้นชิดมากนัก และไม่อยากให้เกิดสุญญากาศ

กระทรวง ไอซีทีต้องเร่งดำเนินการเพื่อรักษาวงโคจร ต้องสร้างความเข้าใจกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) และสร้างดาวเทียมบนวงโคจรดังกล่าวให้ได้ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม โดยกระทรวงไอซีทีได้ตั้งคณะทำงานโดยมี จีรวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธานดำเนินงาน และให้ บมจ.กสท โทรคมนาคมร่างแผนงานในการยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรดังกล่าวให้เร็วที่สุด

ทั้งหมดทั้งมวลรัฐบาลเพื่อไทยและไอซีที ต้องเผชิญหน้า ทั้งงานราษฏร์ งานหลวง เพื่อรักษาสมดุลโดยมีโครงการเปราะบางที่อาจโดนโฟกัสคือ TOT3G ที่เอไอเอสจะเข้ามาเอี่ยวเป็น MVNO และการบริหารตรวจสอบ สัญญากสท-ทรู หรือเลือกที่จะไปยุ่งกับการสางสัมปทานเดิม

ขณะ ที่โครงการเอา”กล่อง”ก็คือการประสานเร่งตั้ง กสทช. เปิดประมูล 3G และการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม ที่น่าจะเรียกคะแนนนิยมได้จมหู ที่สำคัญอย่าพลาดเหมือนปชป.ที่กำลังจะลุกพ้นเก้าอี้ ไปพร้อมโครงการที่จับต้องแทบไม่ได้....
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.