User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ทึ้งแท็บเลต8แสนเครื่องเริ่มต้นป.1 ทั่วประเทศ
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ทึ้งแท็บเลต8แสนเครื่องเริ่มต้นป.1 ทั่วประเทศ

ผู้ค้าไอทีวิ่งฝุ่นตลบ ขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แจกแท็บเลตเด็ก ป 1. ทั่วประเทศ 800,000 เครื่อง มูลค่า 5,000 ล้านบาท "อินเทล" แบะท่าประกาศชัดสนใจพร้อมเปิดโต๊ะคุยรัฐบาลเข็นโปรเจ็กต์คอมพิวเตอร์เพื่อ การศึกษา ชูมีประสบการณ์ทำโครงการขนาดล้านเครื่องในโปรตุเกส-อเมริกาใต้ ขณะที่ "โตชิบา-อัสซุส" รับสนใจแต่ขอดูความชัดเจน ด้าน "ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น" เผยคนไทยสามารถผลิตแท็บเลตได้เอง

นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่านโยบายแจกแท็บเลตพีซี ให้กับเด็กนักเรียกตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1-6 ที่มีนักเรียนทั่วประเทศจำนวน 10 ล้านคน ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะโฟกัสไปที่เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ก่อน จำนวน 800,000 คนทั่วประเทศ จะใช้วงเงินงบประมาณไม่เกิน 5,000 ล้านบาท โดยแท็บเลตพีซีดังกล่าวจะเป็นเหมือนกับอีบุ๊ก มาพร้อมกับโปรแกรมการเรียนการสอน หรือคอร์สแวร์ และสามารถใช้เครือข่ายไร้สาย ไว-ไฟฟรี โดยการลงทุนแจกแท็บเลตให้กับเด็กนั้นหากคิดค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1.82 บาท ซึ่งถือเป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรที่คุ้มค่าเป็นการเพิ่มศักยภาพคนเพื่อ รองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ปี 2558

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้ลงรายละเอียดของสเปกเครื่อง โดยอาจต้องรอการรับรองผลจากคณะกรรมการการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาล โดยโครงการดังกล่าวจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ดูแล แต่โดยหลักแล้วน่าจะเป็นแท็บเลตหน้าจอขนาด 7 นิ้ว ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เนื่องจากใช้งานโปรแกรมได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีความคงทนสูง กันน้ำ และกันกระแทก โดยมีราคาไม่เกิน 5,000 บาท/เครื่อง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากับผู้ผลิตรายใด

+อินเทลจ้องคว้าโครงการ
ด้านนายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสนใจกับโครงการคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (One Tablet per Child) แต่จะต้องขอศึกษารายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ สำหรับโครงการดังกล่าวแน่นอน โดยขณะนี้มีหลายทางเลือกในการนำเสนออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน สำหรับเด็กหลายทางเลือก
ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีประสบการณ์ในการนำเสนอคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการ สอนสำหรับเด็ก ที่มีขนาดระดับ 1 ล้านเครื่อง ในโปรตุเกส บราซิล และกลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ โดยที่นำเสนอในต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องคลาสเมต พีซี ที่มีลักษณะเป็นเน็ตบุ๊ก หน้าจอ 9 นิ้ว มีคีย์บอร์ด แต่ในรูปแบบของแท็บเลต ยังไม่เคยมีประสบการณ์นำเสนอมาก่อน แต่ก็เป็นโครงการที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามมองว่าราคาที่กำหนดไว้อยู่ที่ 5,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งรวมทั้งซอฟต์แวร์การเรียนการสอน หรือ คอร์สแวร์ เป็นเรื่องท้าทาย โดยถือเป็นราคาค่อนข้างต่ำ
นายเอกรัศมิ์ กล่าวว่าแนวทางการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน สำหรับเด็กนั้น ในแง่บริษัทคงไม่ได้มุ่งนำเสนอเพียงแค่ ฮาร์ดแวร์ คือ แท็บเลต อย่างเดียว แต่จะนำเสนอเป็นโทเทิล โซลูชัน ที่ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ,ซอฟต์แวร์การเรียนการสอน ซอฟต์แวร์จัดการการเรียนการสอน การควบคุม การกระจายสื่อ หรือเนื้อหาการเรียนการสอน รวมถึงบริการดูแล และบำรุงรักษาเครื่อง
"การใช้แท็บเลต ที่เป็นอุปกรณ์สั่งการด้วยทัชสกรีน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กเล็กมากกว่าคีย์บอร์ด โดยเด็กเล็ก ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างคอนเทนต์ แต่ใช้สำหรับดู และอ่านมากกว่า"

+อัสซุสสนแต่รอดูทีโออาร์
ด้านนายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัทอัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจโครงการแท็บเลตเด็กนักเรียนของรัฐบาลใหม่ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่มียอดการซื้อสูง ซึ่งเชื่อว่าไม่มีผู้ผลิตรายใหญ่สามารถผลิตสินค้าเพียงรายเดียวรองรับ โครงการดังกล่าวทั้งหมด น่าจะเปิดให้ผู้ผลิตหลายรายเข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดโครงการออกมา ถ้าทีโออาร์ออกมาก็สนใจเข้าไปศึกษา และอยู่ในช่วงสอบถามไปยังบริษัทแม่ว่าสามารถผลิตสินค้าตามทีโออาร์ที่กำหนด ได้หรือไม่

+โตชิบาเชื่อกระตุ้นตลาด
ส่วนนายถกล นิยมไทย ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฝ่ายสินค้าไอที บริษัทโตชิบา (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดแท็บเลตคึกคักขึ้น อย่างไรก็ตามต้องขอศึกษารายละเอียดก่อน โดยเชื่อว่าผู้ผลิตทุกรายสนใจโครงการดังกล่าว แต่ราคาที่กำหนดไม่เกิน 5,000 บาท น่าจะเป็นโอกาสของโลคัลแบรนด์ หรือ ผู้ผลิตโออีเอ็ม ที่สั่งจากโรงงานผลิตในไต้หวันที่มี 50-60 โรงงานมาติดแบรนด์ตัวเอง แต่สำหรับผู้ผลิตแบรนด์เนมราคาดังกล่าวนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะปัจจุบันขายแท็บเลตกันอยู่ที่ราคาหมื่นกว่าบาท ซึ่งหากต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวอาจต้องจัดทำเป็นสินค้ารุ่นพิเศษ สำหรับนักเรียนขึ้นมา

+แนะรัฐลงทุนอุปกรณ์เรียนรู้
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการไอทีรายหนึ่ง กล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดี ถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรของประเทศ อย่างไรก็ตามในการลงทุนไม่ควรมองเป็นแค่อุปกรณ์ หรือดีไวซ์ แต่ควรมองว่าเป็นการลงทุนอุปกรณ์การเรียนรู้ ที่ประกอบด้วยตัวฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การศึกษา และการดูแลรักษา ซึ่งการตั้งราคาอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ต่ำเกินไป อาจทำให้โครงการดังกล่าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
"การมองเฉพาะฮาร์ดแวร์อย่างเดียว โครงการมีโอกาสสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งถ้าจะให้โครงการดังกล่าวทำงานได้และเป็นไปตามเป้าหมายรัฐบาล จะต้องมองเป็นโซลูชันสำหรับการศึกษา ที่มีทั้งแท็บเลต ซอฟต์แวร์การเรียนการสอน และการบำรุงรักษา ซึ่งการเอาแท็บเลตไปให้เด็กใช้นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องของเครื่องหายและ ชำรุด ซึ่งจะต้องมีแผนรองรับส่วนนี้ด้วย"

+คนไทยทำแท็บเลตได้
ขณะที่นายสวัสดิ์ เอิบโชคชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัทฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่ผ่านมาได้พัฒนาต้นแบบคอมพิวเตอร์พกพาแบบแท็บเลตขึ้นมาภายใน บริษัทประมาณ 1 ปีแล้ว โดยที่ผ่านมายังไม่มีใครรู้ว่าบริษัทไทยสามารถพัฒนาแท็บเลตขึ้นมาเองได้ ซึ่งจากการที่รัฐบาลใหม่มีนโยบาย One Tablet per Child จึงสนใจและพร้อมร่วมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อสร้างแท็บเลต สำหรับการศึกษาของเด็กไทยขึ้นมา โดยจะมีการออกแบบสินค้าให้สามารถใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพและแข็งแรงทน ทาน และเหมาะกับการใช้งานของคนไทย อาทิ สามารถใส่แบตเตอรี่แบบ AAA ได้ ขณะที่โปรแกรมสำหรับการศึกษา และอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งในการลงโปรแกรมจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราคาเครื่องนั้นสามารถผลิตได้ในราคาประมาณ 3,000-5,000 บาท แต่มีเสถียรภาพ และความคงทนกว่าสินค้าจากจีน
"ที่ผ่านมาบริษัทเป็นผู้ผลิตแผงวงจรฮาร์ดดิสก์ให้กับเวสเทิร์นดิจิตอลเดือน ละ 2 ล้านชิ้น ดังนั้นเชื่อว่าสามารถผลิตแท็บเลต 800,000 เครื่องได้โดยไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันก็จะรวบรวมนักพัฒนาโปรแกรมคนไทย เข้ามาร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งก็จะช่วยให้เงินหมุนเวียนในประเทศ ดีกว่าไปสั่งสินค้าราคาถูกจากจีน ที่ไม่มีความเสถียร มีอายุการใช้งานไม่แน่นอนเข้ามาให้เด็ก "
อนึ่งในอินเดีย มีโครงการแท็บเลตเพื่อการศึกษา โดยบริษัท Sakshat ในอินเดีย ได้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพา แท็บเลตราคาถูก หน้าจอขนาด 7 นิ้ว ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
โดยสเปกของ Sakshat Tablet มีหน่วยความจำ หรือ แรม ขนาด 2 กิกะไบต์ และมีหน่วยความจำภายในสำหรับจัดเก็บข้อมูลขนาดความจุ 32 กิกะไบต์ มีด้านกล้องหน้า ออกมาขายให้กับประชาชน ราคา 35 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,085 บาท ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาอุดหนุนให้กับนักเรียนซื้อไปใช้เพื่อการศึกษาใน ราคา 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 775 บาท ขณะที่เกาหลีใต้ ประกาศแจกแท็บเลตให้เด็กนักเรียนทุกคนภายในปี 2015
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.