User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » การเมืองเปลี่ยน ธุรกิจไม่เปลี่ยน Samart ท่องคาถา "Can do" ใส่เกียร์ 5 ชิงดำ MVNO ทีโอที
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

การเมืองเปลี่ยน ธุรกิจไม่เปลี่ยน Samart ท่องคาถา "Can do" ใส่เกียร์ 5 ชิงดำ MVNO ทีโอที

กลุ่มสามารถจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในบริษัทสื่อสารที่คร่ำหวอด อยู่ในวงการมาอย่างยาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาวโชกโชน ทำให้ตัดสินใจปรับทิศธุรกิจขยับขยายการลงทุนออกนอกเส้นทางเดิม โดยมีเป้าหมายในการแสวงหาแหล่งรายได้ระยะยาวใหม่เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งพา ธุรกิจโทรคมนาคมที่ ยึดโยงอยู่กับการเข้าประมูลโครงการ ต่าง ๆ เป็นหลัก

ถึง กระนั้นโปรเจ็กต์ใหญ่ล่าสุดที่คว้าชัยชนะมาได้ก็ยังเป็นงานด้านโทรคมนาคม ในการขยายโครงข่ายบริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ของ บมจ.ทีโอที

ขณะเดียวกัน ยังเตรียมยื่นข้อเสนอเพื่อแข่งขันเป็นตัวแทนขายปลีกบริการ 3G (MVNO) ของ "ทีโอที" อีกด้วย

ต้อง ยอมรับว่าธุรกิจกับการเมืองเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล การดำเนินโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการไม่มากก็น้อยย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง

กลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่จึงมักยึดตำราเดียวกัน คือ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เข้าทำนองเป็นเพื่อนกับทุกพรรค รักทุกคน

เหมือนที่ "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" ซีอีโอ กลุ่มสามารถมักพูดเสมอว่า "เราเป็น นักธุรกิจ เป็นพ่อค้าเป็นเพื่อนกับทุกคน"

ไม่ว่าลมการเมืองเปลี่ยนทิศจะอีกสักกี่ครั้ง

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "ซีอีโอ" กลุ่มสามารถดังต่อไปนี้

- มองภาพรวมธุรกิจในครึ่งปีหลังอย่างไร

ครึ่ง ปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะเราเองมีงานประมูลรอเข้าประมูลอีกหลายโปรเจ็กต์ ทั้ง NGN (Next Generation Network), โปรเจ็กต์บรอดแบนด์ FTTX เป็นต้น ยอดรวมงานประมูลในครึ่งปีหลังก็น่าจะสัก 2-3 หมื่นล้านบาท

ในแง่ ภาพรวมของการลงทุน โดยธรรมชาติของธุรกิจมีการลงทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพก็จะยิ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนมาก ขึ้น แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการ คนไทยและต่างชาติต้องการเหมือนกัน คือความชัดเจน การแก้ไขสัญญาโทรคมนาคมต่าง ๆ จะเดินต่ออย่างไร นโยบายด้านไอซีทีของประเทศจะเป็นไปในทิศทางไหน นโยบายเรื่องบรอดแบนด์แห่งชาติที่รัฐบาลชุดที่แล้วเริ่มไว้จะ เดินหน้าต่อไหม หรือกับปัญหาเร่งด่วนอย่างการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียมก็เป็นสิ่งที่รัฐบาล ใหม่ต้องรีบทำ

- MVNO ของทีโอทีสนใจโควตา 40%

ครับ เพราะที่ผ่านมา MVNO เดิมเราก็ทำได้ถึง 2 แสนเลขหมาย จากที่ โครงข่ายรองรับได้ 5 แสน คือทำได้ประมาณ 40% อยู่แล้วทั้ง ๆ ที่พื้นที่การให้บริการยังไม่มาก

อีกอย่างสิ่งที่เราเองคิดไว้ คือต้องการเป็นพันธมิตรระยะยาวของทีโอที ถ้าได้ตรงนี้ก็ดีเพราะเราไม่เคยคิดจะเข้าประมูล 3 จี คลื่นความถี่ใหม่ 2.1 GHz แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าทีโอทีจะมีนโยบายอย่างไร ถ้าคิดระยะสั้นก็อาจดูแค่เรื่องเงิน แต่ถ้าคิดระยะยาวคงดูหลายอย่างประกอบกัน ถามว่าทีโอทีจะเลือกคนที่รอประมูลความถี่ใหม่ 2.1 หรือเปล่า

ทีโอที เองก็ต้องมองถึงความอยู่รอด แต่จะจัดสรรแบ่งสรรอย่างไร ถามว่าถ้ามีการโยกย้ายลูกค้าจากสัมปทานไป MVNO ได้ล่ะจะทำอย่างไร เพราะทีโอทีต้องพึ่งรายได้ตรงนี้ ถ้าเอไอเอส ดีแทค หรือทรูมาทำก็มีโอกาสทำให้ค่าส่วนแบ่งรายได้ที่เคยส่งให้รัฐหายไปด้วย เป็นเรื่องที่ต้องคิดพิจารณา

ทีโอทีเป็นรัฐวิสาหกิจ ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้องก็จะโดนร้องเรียน MVNO 5 รายเดิมที่เคยทำธุรกิจร่วมกันมาก่อนก็ควรนำมาพิจารณาบ้างเพราะทำมาตั้งแต่ ต้น

- คิดว่าจะแข่งสู้กับค่ายมือถือได้ไหม

จะพยายามเต็มที่ การเลือกต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง เราก็เป็นนักธุรกิจ รู้จักใครไปใครมา เคยผ่านวงจรพวกนี้มาเยอะ ก็จะทำให้ดีที่สุด

- มองรัฐบาลใหม่อย่างไร

รัฐบาล ใหม่มา ผมว่างานประมูลอะไรทุกอย่างจะเดินหน้าไปเรื่อย ๆ เหมือนเดิมอยู่แล้ว เราจะเข้าไปประมูลได้ตามปกติ เพราะต้องดำเนินการต่อในหลายกระทรวง ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนรัฐบาลแล้วจะหยุด แม้หลายนโยบายอาจเปลี่ยนไปบ้าง

สำหรับ กระทรวงไอซีทีถ้ามีนโยบายที่ชัดเจนออกมาแล้วก็น่าจะทำให้มีงานต่าง ๆ มากขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะมีหลายอย่างที่ต้องปรับปรุง ที่เคยช้าอาจเร็วขึ้น รัฐบาลเองก็ต้องรีบแสดงผลงานให้เร็วเพราะมีสัญญากับประชาชนไว้

- อยู่กับโปรเจ็กต์ประมูลก็วนเวียนกับการเมือง

ก็ พยายามหารายได้ระยะยาว ต้องหาโครงการที่จะทำรายได้ยาว ๆ ลงทุนในโครงการใหม่ที่จะทำรายได้ระยะยาว เพราะงานประมูลมีความไม่แน่นอน MVNO ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้ระยะยาวได้ ถ้ามีฐานลูกค้าเยอะก็จะเก็บกินไปได้เรื่อย ๆ หรืองานอย่างแอร์ทราฟฟิกคอนโทรล (ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ) หรือ โรงไฟฟ้าที่ทำอยู่ เป็นต้น

การหาโครงการระยะยาวเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับบริษัทจะได้ไม่ต้องมากังวลกับการเปลี่ยนแปลง

เราผ่านวิกฤตในปี 2540 มาเจ็บตัวและเรียนรู้มาเยอะพอแล้ว

- รายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ประจำกี่เปอร์เซ็นต์

ตอน นี้ในภาพรวมของกลุ่มมีรายได้ประจำ 20-30% อยากมีสัก 40-50% ภายใน 3 ปีข้างหน้า แซมเทลได้งานติดตั้งโครงข่าย 3 จีของทีโอทีมาก็กำลังติดตั้งขยายพื้นที่บริการ หรือโปรเจ็กต์กับกรมที่ดินก็เป็นอะไรที่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ไม่ได้จบแล้วเลิกทีเดียว

- สามารถไอ-โมบายจะมุ่งไปทางไหน

จะ มุ่งไปทางคอนเทนต์มากขึ้น เช่น บริการแชต เปิดมา 1 เดือนมีลูกค้า 5-6 พันรายเข้ามาเล่น ถือว่าเพิ่งเริ่มต้นรายได้ยังไม่เยอะเพราะฐานลูกค้ายังแค่หลักพัน คิดค่าบริการอาทิตย์ละ 20 บาท แต่ปลายปีน่าจะมี 2-3 แสนราย อย่างที่บอกเราไม่ได้มองมุมเดิมที่คิดแต่จะประมูลงานกับขายของ การขายมือถือก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อย ๆ

วันนี้ไอ-โมบายอยู่ได้ ด้วยคอนเทนต์นะ ปีที่แล้วมีรายได้เกือบ 1,000 ล้าน กำไร 200 ล้าน ทั้งบริการบั๊ก ทั้งเว็บไซต์กินดื่มเที่ยว หมอดู กีฬา ต่อไป 3 จีเกิด ซึ่งจะเกิดแน่ปลายปีนี้ยิ่งทำให้การดาวน์โหลดคอนเทนต์เติบโตขึ้น เพราะคนต้องการการสื่อสารข้อมูล
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.