 |
 |
 |
 |
ข่าว |
 |
 |
|
 |
 |
บล็อกจ๋าลาก่อน"ไมโคร มีเดีย" มาแล้ว
โลกเปลี่ยนไป แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่โลกของการสื่อสารในแวดวงการตลาดจะไม่เปลี่ยน แปลงตาม โดยผลสำรวจฉบับล่าสุดจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
"แมสซาชูเซตส์" ชี้ให้เห็นว่าบริษัทเอกชนเติบโตเร็วที่สุด 500 อันดับแรกในสหรัฐ เริ่มบอกลาการสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยการทำบล็อกแบบเดิมๆ และหันไปหาช่องทางใหม่ๆ อย่าง "ไมโครมีเดีย" เช่น เฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ และลิงค์อินแทน
หมดยุคบล็อกรุ่งเรือง
การสำรวจดังกล่าวเริ่ม เก็บข้อมูลการใช้โซเชียล มีเดียขององค์กรที่เติบโตเร็วที่สุด 500 อันดับแรกของสหรัฐเป็นเวลา 5 ปี โดยเป็นบริษัทที่กระจายอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ 24 ประเภทใน 36 รัฐของอเมริกา และแต่ละแห่งมีพนักงานตั้งแต่ 1-50 คน มีรายได้ต่อปีราว 3-10 ล้านดอลลาร์
ผล ปรากฏว่า การสื่อสารด้วย "บล็อก" เริ่มมีสถิติลดลงในกลุ่มบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศมหาอำนาจแห่งนี้ โดยปี 2553 อัตราการลดลงของบล็อกเพิ่มเป็น 50% จาก 45% เมื่อปี 2552 และ 39% ปี 2551
ขณะที่ผลสำรวจปี 2554 พบว่า บล็อกขององค์กรเริ่มลดจำนวนต่ำกว่าที่มีในปี 2551 ซึ่งอัตราการลดลงดังกล่าว "กำลังสะท้อนให้เห็นแนวโน้มภาคธุรกิจอื่นๆ ด้วยเช่นกันว่าการสื่อสารทางการตลาดด้วยบล็อกเริ่มถึงจุดอิ่มตัว และกำลังเปลี่ยนแปลงไปหารูปแบบอื่นๆ แทน"
โซเชียลฯ มาแรง
ดังนั้นเป็นคำถามต่อไปว่า แล้วองค์กรต่างๆ ควรจะเลือกวิธีการสื่อสารกับลูกค้าของตัวเองอย่างไรในยุคนี้ ซึ่งดูเหมือนว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลครั้งนี้จะเทคะแนนให้ "โซเชียล มีเดีย" ขณะที่ 88% มองว่า โซเชียล มีเดียเป็นเครื่องมือที่สร้างทราฟฟิกให้แก่เว็บที่สำคัญที่สุด
นอกจากนี้ 73% ของผู้ถูกสำรวจยังเชื่อว่า โซเชียล มีเดียเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการดูแลลูกค้าของบริษัท
แนว โน้มดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือใหม่ๆ ขององค์กรประกอบด้วยโซเชียล มีเดีย เช่น เฟซบุ๊ค, ลิงค์อิน, ทวิตเตอร์, ยูทูบ, การส่งข้อความเพื่อให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนมือถือ และโฟร์สแควร์ สวนทางกับการสื่อสารด้วยบล็อก, เว็บบอร์ด และมาย สเปซ ที่มีอัตราการใช้งานต่ำลงเรื่อยๆ
โดย "เฟซบุ๊ค" เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่องค์กรนิยมใช้สูงถึง 74% ตามมาด้วย "ลิงค์อิน" 73% และ "ทวิตเตอร์" 64%
พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน
ผลสำรวจดังกล่าวยังอาจ ส่งสัญญาณเป็นนัยๆ ว่า โลกเดินทางมาถึงยุคที่ความนิยมใช้บล็อกด้านเทคโนโลยีเริ่มลดความสำคัญลง โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ความต้องการของผู้รับสารเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่พึงพอใจกับข้อมูลที่สั้น กระชับ เพื่อลดปริมาณคอนเทนท์ที่มีอยู่มหาศาลและตรงกับความสนใจที่แท้จริง
นอก จากนี้ผู้บริหารที่ให้ข้อมูลครั้งนี้จำนวนไม่น้อยเชื่อว่า หนึ่งในปัจจัยที่สร้างความน่าสนใจให้แก่โซเชียล มีเดียคือ เวลาที่ใช้สร้างคอนเทนท์ลดน้อยลง ซึ่งรวมถึงการใช้เวลาอัพเดท หรือโพสต์ข้อมูลบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน
โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของ การใช้โซเชียล มีเดียขององค์กรต่างๆ ก็เพื่อการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์, การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และการสร้างความรับรู้ในแบรนด์ ซึ่งบริษัทจำนวนไม่น้อยอีกเช่นกันที่มักจะวัดประสิทธิภาพของการใช้โซเชียล มีเดียจากจำนวนเพื่อน, สมาชิกที่ติดตาม (followers), กระแสความนิยม และการแสดงความคิดเห็นต่างๆ (คอมเมนท์บนเฟซบุ๊ค)
คุณลักษณะของสื่อ ใหม่ดังกล่าวช่วยจัดการกับข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยเครื่องมือแบบเดิมๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อองค์กรโพสต์ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ค หรือกูเกิล พลัส จะได้รับฟีดแบ็คผ่านคอมเมนท์ต่างๆ ได้ทันที ต่างกับการทำบล็อกแบบเดิมที่อาจติดปัญหาบางอย่างที่การคอมเมนท์หรือโต้ตอบ กันระหว่างอาจไม่รวดเร็วเท่ากับไมโคร มีเดีย แบบใหม่ๆ
มุมต่าง "ไมโคร มีเดีย"
อย่างไรก็ตาม แม้ผลสำรวจดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือการตลาดใหม่บนโลกไซเบอร์กำลังเข้ามาแทนที่เครื่องมือเดิมๆ ที่มีอยู่ แต่สำหรับมุมมองของ "แฟรงค์ รีด" จากมาร์เก็ตติ้ง พิลกริม เชื่อว่า "ทวิตเตอร์" และ "เฟซบุ๊ค" อาจไม่ใช้เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในระดับที่ลึกซึ้งได้อย่างแท้จริง แต่เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ "เรียกความสนใจ" เท่านั้น
โดยรีดอธิบายว่า ไมโคร มีเดียเหล่า นี้อาจเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ได้ดีสำหรับการเรียกความสนใจ, ละลายพฤติกรรม และดูอารมณ์ของลูกค้าเสมือนกับเป็นศูนย์บริการลูกค้าอีกแห่ง
แต่ การทำบล็อกก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรเพื่อให้ข้อมูลในระดับที่ลึกลงไป อีกขั้น และให้ข้อมูลได้ดีกว่าในแบบที่ไมโคร มีเดียทำไม่ได้
|
 |
 |
 |
 |