User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ถอดรหัสปฏิวัติเขียว
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ถอดรหัสปฏิวัติเขียว

เมื่อเทรนด์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยังไม่อ่อนแรง ฉลากเขียวหรือ "คาร์บอนฟุตพริ้นต์" จึงได้เกิดในโลกอุตสาหกรรม

เมื่อความแรงของเทรนด์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยังไม่อ่อนแรง ตราสัญลักษณ์ GMP (Good Manufacturing Practice : หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร) กับเครื่องหมาย อย. จึงไม่เพียงพอสำหรับการครองใจผู้บริโภค ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมองหาตัวช่วยใหม่ที่แสดงถึงการลดใช้พลังงาน ซึ่งคำตอบก็คือฉลากเขียวหรือ "คาร์บอนฟุตพริ้นต์"

: ฉลากเขียวการันตี

รุ่งโรจน์ บุญฤทธิ์ลักขณา กรรมการบริษัท ไทยริชฟูดส์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตอาหารแช่แข็ง กล่าวว่า การประเมินรอยเท้าคาร์บอน หรือ Carbon Foot Print ของสินค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอาหารในเริ่มให้ความสนใจ เพราะประโยชน์ของฉลากคาร์บอนจะช่วยบอกกับลูกค้าได้ว่า สินค้าที่ผลิตเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งกลายเป็นคำถามที่พบบ่อยมาก ณ ปัจจุบัน

ไทยริชฟูดส์ เป็น 1 ใน 20 โรงงานที่ได้รับฉลากคาร์บอนปิดผนึกลงบนสินค้า และกำลังส่งอาหารแช่แข็งแบรนด์ไทยไปวางในซูเปอร์มาร์เก็ตในตลาดยุโรป และอเมริกา
"แม้ แต่ลูกตาลลอยแก้ว ตอนนี้ผู้ผลิตต้องบอกให้ได้ว่า กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ 1 กล่อง ต้องใช้ปุ๋ยและน้ำในการผลิตเท่าไร ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่รู้เลยว่าจะหาคำตอบสำหรับคำถามนี้จากไหน"

แต่ ณ ปัจจุบัน แนวทางการประเมินรอยเท้าคาร์บอนเริ่มชัดเจนมากขึ้น มีการศึกษาและสร้างแนวทาง จนสามารถประเมินได้ทั้งระบบการผลิตจนถึงการจัดการของเสีย แม้กระทั่งค่าพลังงานการขนส่ง ข้อดีอีกประการของการทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์ คือสามารถบริหารต้นทุนการผลิตสินค้า โดยคิดต้นทุนการผลิต และจัดการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ

ฉลากบนผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้สินค้าส่งออกไม่ถูกตีกลับ

: เก็บเล็กผสมน้อย

ขณะที่ วีอาร์ฟู้ดส์ บริษัทผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องและอาหารแช่แข็ง ให้ความสำคัญกับการทำ GMP มาโดยตลอด เริ่มพบว่า GMP อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เป็นโจทย์ที่ประเทศคู่ค้าเริ่มถามถึงมากขึ้น จึงต้องมองหาเทคนิคการประหยัดและลดใช้พลังงานสำหรับการผลิตด้วย

นิรมิตร บุญช่วย ผู้จัดการฝ่ายผลิตวีอาร์ฟู้ดส์ กล่าวว่า โรงงานใช้เวลากว่า 2 เดือนลองผิดลองถูกกับการจัดการเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต เช่น ตรวจสอบการเสื่อมสภาพของเตาแก๊สที่สิ้นเปลืองพลังงาน และเปลี่ยนมาใช้หัวเตาแก๊สประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยให้การเผาไหม้ดีขึ้น และประหยัดพลังงานลงได้ 20-30% หรือเทียบเป็นรายปีแล้วสามารถประหยัดค่าพลังงานได้ถึง 3.5 แสนบาท

เขายังปรับปรุงระบบละลายน้ำแข็งในห้องเย็น ทำให้ประหยัดค่าไฟลงไปได้อีกถึง 2 หมื่นบาทต่อเดือน อีกทั้งได้ระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคิดเป็นตัวเลขรายปีหมายความความโรงงานจะประหยัดค่าไฟได้ถึง 1.5 แสนบาท

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันในโรงงาน จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งหากหันกลับมามองและพิจารณาให้ดี การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยได้สร้างมูลค่ามหาศาล โดยปัจจุบันโรงงานวีอาร์ฟู้ดส์ อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวผลประโยชน์

: มองหาความได้เปรียบ

สุพร คุตตะเทพ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Green Productivity กล่าวว่า สถาบันอาหารใช้เวลา 2 ปีที่ผ่านมา เสริมเขี้ยวเล็บให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยมาตรการลดใช้พลังงานอย่างจริงจังกับโรงงานนำร่อง 84 แห่งทั่วประเทศ และ Green Productivity (GP, การเพิ่มผลผลิตสีเขียว) ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดและการลดปริมาณของเสีย เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่นำมาใช้

ทั้งนี้ แนวคิดการทำ Best Practice ด้าน Green Productivity เริ่มต้นขึ้นในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา และได้โปรโมทแนวคิดออกไปยัง 20 ประเทศทั่วเอเชีย ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศแรกเริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์สีเขียวอย่างจริง จัง ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันอาหาร

"ท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มีผู้บริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนการผลิต การใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้อุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดังนั้น การลดวัตถุดิบ พลังงานและน้ำ จึงยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายอุตสาหกรรม ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ทุกวันนี้อุตสาหกรรมได้นำเอาเทคโนโลยีรวมถึงเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างระบบการจัดการที่ดีกว่าในยุคก่อน"

อุตสาหกรรมอาหารของ ไทยมีมูลค่าส่งออกถึง 9.5 แสนล้านบาท กำลังไต่อันดับขึ้นไปอยู่ที่ 5 ของโลก ฉะนั้น การจัดการด้านพลังงาน น้ำเสีย สารพิษตกค้างอย่างมีระบบ จะทำให้สินค้าไทยมีความได้เปรียบมากขึ้นในอนาคต
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.