User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » น้ำท่วมไทยทำอินเทลยอดขายหด
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

น้ำท่วมไทยทำอินเทลยอดขายหด

อินเทล (Intel) ประเมินยอดรายรับไตรมาสปัจจุบันหดเหลือ 1.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเป้าหมายเดิม 1.47 หมื่นล้านเหรียญ ยอมรับรายได้ที่หายไป 1 พันล้านเหรียญนั้นมาจากวิกฤติน้ำท่วมไทยที่ทำให้สายการผลิตฮาร์ดไดร์ ฟคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก ซึ่งส่งผลให้สายการผลิตคอมพิวเตอร์พีซีและคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก ชะลอตัวตามไปด้วย และทำให้อุปกรณ์ชิปคอมพิวเตอร์มียอดจัดส่งน้อยลงในที่สุด

อย่างไรก็ตาม อินเทลเชื่อว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจะเป็นโอกาสดีที่อินเทลจะขยายตลาด คอมพิวเตอร์พกพาขนาดบางพิเศษได้สำเร็จ โดยสเตซี เจ. สมิตธ์ (Stacy J. Smith) ประธานฝ่ายการเงินของอินเทลให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่าแม้ อินเทลจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติยอดซื้ออุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ในตลาดโลกลดลง เพราะอุทกภัยในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา แต่อินเทลเห็นช่องทางสร้างโอกาสทดแทนได้จากตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกลุ่ม อัลตราบุ๊ก (ultrabook) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กบางน้ำหนักเบาที่ไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นส่วน ประกอบ

“ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เราเปลี่ยนภาพที่อินเทลม องธุรกิจพีซีไว้ เพราะความต้องการในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์นั้น ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง"

เบื้องต้น ผู้บริหารอินเทลยอมรับว่าวิกฤตไดร์ฟขาดแคลนจะส่งผลกับตลาดคอมพิวเตอร์พีซี ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปี 2012 สอดคล้องกับบริษัทไอซัปพลาย (IHS iSuppli) บริษัทวิจัยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเชื่อว่าอัตราการเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์พี ซีในปีหน้า (2012) จะอยู่ที่ 6.8% เท่านั้น ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ดั้งเดิม 9.5%

ในส่วนของอินเทล วิกฤตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟขาดแคลนส่งผลให้สัดส่วนกำไรหรือมาร์จิ้นของอินเทลลดลง เหลือ 64.5% จาก 65% ที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ทั้งหมดนี้อินเทลคาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน และสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววัน

สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาที่จัดอยู่ในตระกูลอัลตราบุ๊กนั้นมักมีความบาง ตัวเครื่องไม่เกิน 0.8 นิ้ว ลักษณะโดยรวมไม่ต่างกับแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่มีคีย์บอร์ด ความโดดเด่นอยู่ที่การประหยัดพลังงานซึ่งทำให้เครื่องมีอายุการใช้งาน แบตเตอรี่ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการใช้หน่วยความจำ SSD หรือ solid-state drive ซึ่งมีน้ำหนักและใช้พลังงานน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ แต่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าราว 5-10 เท่าตัว โดยผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำในตลาดคือแมคบุ๊กแอร์ (MacBook Air) ของแอปเปิล ซึ่งมีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารอินเทลปฏิเสธที่จะเปิดเผยแผนการเพิ่มกำลังการผลิตหรือลงทุนในโรง งานผลิต SSD สำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่มอัลตราบุ๊กในขณะนี้

ทั้งหมดนี้ ร็อบ เอนเดิร์ล (Rob Enderle) นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมพีซีมองว่าอินเทลและผู้ผลิตอัลตราบุ๊กรายอื่นจะได้ รับประโยชน์จากวิกฤติฮาร์ดไดร์ฟขาดแคลน โดยเชื่อว่าผู้ผลิตจะหนุนการใช้ SSD ในคอมพิวเตอร์พกพาบนแพลตฟอร์มของอินเทลมากขึ้นอย่างจริงจัง ทั้งในแง่หน่วยความจำ SSD และหน่วยประมวลผลที่อินเทลผลิตขึ้น เช่นเดียวกับซัมซุงซึ่งเป็นผู้ผลิต SSD เช่นกัน

ที่สำคัญ นักวิเคราะห์เชื่อว่าอินเทลจะสามารถดันตลาดอัลตราบุ๊กให้เติบโตได้อย่างเต็ม ที่ในปีหน้า (2012) ท่ามกลางแรงหนุนจากผู้ผลิตที่เป็นพันธมิตรกับอินเทลทั้งเอเซอร์ อัสซุส โตชิบา และเลอโนโว ซึ่งคาดว่าระดับราคาอัลตราบุ๊กในปีหน้าจะต่ำกว่าระดับปัจจุบันคือ 870 เหรียญสหรัฐ (ราว 26,000 บาท) คิดเป็นสัดส่วนต่ำกว่าแม็คบุ๊กแอร์เจ้าตลาดซึ่งมีราคาเริ่มที่ 1,000 เหรียญ (ราว 30,000 บาท)

ที่ผ่านมา อินเทลและผู้ผลิตอัลตราบุ๊กรายอื่นประกาศตัวชัดเจนว่าจะเดินหน้าเทเงินทุน เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพอัลตราบุ๊กให้สามารถตีตลาดแท็บเล็ตได้ โดยล่าสุดอินเทลระบุเมื่อเดือนสิงหาคม ว่าจะพัฒนาให้อัลตราบุ๊กมีคุณสมบัติหน้าจอสัมผัสเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน ลักษณะแท็บเล็ตอย่างไร้รอยต่อ

นอกจากนี้ อินเทลยังระบุว่าได้เพิ่มเงินทุนวิจัยอัลตราบุ๊กราว 300 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตเครื่องลง รวมถึงการเป็นผู้สนับสนุนงานประชุมกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไอทีใน ไต้หวันเพื่อยกระดับการผลิตสินค้าให้ผู้ผลิตพีซีรายอื่นอย่างเอชพีและเดลล์ ด้วยในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

สำหรับช่วงปลายปีนี้ อินเทลคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดสายการผลิตชิปหน่วยประมวลผลตระกูล Ivy Bridge สำหรับใช้กับอัลตราบุ๊กโดยเฉพาะ
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.