User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » 'IPV6'อินเตอร์เน็ตยุคใหม่ไม่ไกลเกินฝัน
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

'IPV6'อินเตอร์เน็ตยุคใหม่ไม่ไกลเกินฝัน

รายงาน:IPV6 อินเตอร์เน็ตยุคใหม่ไม่ไกลเกินฝัน

ตามหลักอุปสงค์-อุปทาน ที่เป็นแก่นของวิชาเศรษฐศาสตร์ นั้นสามารถอธิบายตรรกะที่ทำให้โดเมนเนม (ชื่อเว็บไซต์) "Sex.com" เป็นชื่อเว็บไซต์ที่ "แพงที่สุดในโลก" โดยมีผู้ซื้อชื่อเว็บไซต์ sex.com ในปี 2549 ไปด้วยราคาสูงถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นตัวเลขเงินบาทก็ราวๆ 360 ล้านบาทเท่านั้นเอง


เหตุผลที่ทำให้ชื่อเว็บไซต์ sex.com นั้นมีราคาสูงที่สุดในโลกก็เนื่องจากเป็นคำที่ติดปาก จดจำได้ง่าย และ มีผู้ต้องการใช้ชื่อนี้สำหรับเว็บไซต์ของตนเองเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อมีอุปสงค์ (ความต้องการในการซื้อ)ระดับสูง แต่มีอุปทาน (ความต้องการในการขาย) น้อยมากถึงมากที่สุด เพราะเป็นชื่อที่มีเพียงชื่อเดียวสำหรับเว็บไซต์เพียงแห่งเดียวในโลก อินเตอร์เน็ตที่อ้างอิงระบบจัดการแอดเดรสแบบ IPV4 ที่รองรับเว็บไซต์จำนวน 4,096 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งนั่นทำให้ sex.com เป็นชื่อเว็บไซต์ที่มีราคาแพงที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่ถ้ามองถึงอนาคตข้างหน้าของอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ที่ใช้การอ้างอิงแอดเดรส (หรือพูดง่ายๆที่อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต) แบบ IPV6 (Internet Protocal Version 6) ที่จะมีจำนวนแอดเดรสซึ่งอ้างอิงระบบนี้ได้สูงสุดมากกว่า แสนล้านล้านแอดเดรส จากการขยายส่วนบิตที่ใช้อ้างอิงจาก 32 เป็น 128 บิตในระบบ IPV6

ตามหลักแล้ว คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักและเข้าใจภาษามนุษย์แม้แต่คำเดียว คอมพิวเตอร์ระบบดิจิตอลจะรู้จักแค่ ตัวเลข 0 กับ 1 และ กลุ่มของตัวเลข 0 กับ 1 ที่จัดเรียงกันเป็นรูปแบบต่างๆทำให้เกิดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลออกมา เป็นภาพ เสียง หรือ ผลการคำนวณต่างๆ ดังนั้นชื่อเว็บไซต์เช่น www.yahoo.com หรือ www.google.com และเว็บไซต์ทุกเว็บจึงต้องถูกแทนที่ด้วยตัวเลขแอดเดรส ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มตัวเลข ตั้งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 เพื่อใช้อ้างอิงเป็นแหล่งที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ต ที่โปรแกรมท่องเว็บต่างๆจะรับรู้ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งเว็บนั้นได้อย่างถูก ต้อง

อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตของเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ (และเคลื่อนที่ไม่ได้) ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ตู้เย็นอัจฉริยะที่สามารถติดต่อกับเว็บไซต์ของห้างสรรพสินค้า เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง แม้กระทั่งรถยนต์ ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต เพื่ออ้างอิงตำแหน่งบนโลก หรือติดต่อกับศุนย์บริการให้ความช่วยเหลือ (เช่นบริการ Roadside assistance ของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส ในสหรัฐอเมริกา) ทำให้ทรัพยากร หรือจำนวนแอดเดรสในระบบ IPV4 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเหลือน้อยลงเต็มที ทำให้ผู้รับผิดชอบการแบ่งปันทรัพยากรอินเตอร์เน็ตระดับโลก อย่าง ไอคานน์ (ICAAN : Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ต้องคิดค้นหาวิธีเพิ่มจำนวนแอดเดรส บนโลกอินเตอร์เน็ตเพื่อรองรับและเท่าทันกับการขยายตัวของการใช้งานทรัพยากร อินเตอร์เน็ต

ทางออกที่ดีที่สุด ในเวลานี้คือ การเปลี่ยนระบบอ้างอิงแอดเดรสสู่ระบบ IPV6 ที่ใช้การอ้างอิงที่อยู่แบบ 128 บิต ที่ในเชิงทฤษฏีแล้วจะสร้างแอดเดรสได้มากกว่า แสนล้านล้านแอดเดรส และมีการนำระบบ IPV6 มาใช้งานกันแล้วในหลายประเทศ และ ที่สำคัญเริ่มมีการจับจองทรัพยากรแอดเดรสบนอินเตอร์เน็ตในระบบ IPV6 กันอย่างคึกคักแล้วอีกด้วย

จากการศึกษาของบริษัท เมชชัวร์เม้นท์ แฟคทอรี ที่ได้ใช้ซอฟท์แวร์สุ่มตรวจสอบแอดเดรสและพบว่าจำนวนผู้ใช้ที่จดทะเบียน เว็บไซต์นามสกุล .com .net และ .org ที่สนับสนุนระบบ IPV6 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นถึง 1,900 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

โดยผู้ใช้ที่จับจองเป็นเจ้าของทรัพยากรอินเตอร์เน็ตยุคใหม่มากที่สุดได้แก่ ชาวฝรั่งเศส อเมริกัน และ เชค ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เว็บไซต์นามสกุล .com .net และ .org ขณะที่ชาวเอเชียยังไม่ค่อยให้ได้ความสนใจกับอินเตอร์เน็ตยุคใหม่นี้เท่าใด นัก

จะว่าไปแล้ว IPv6 ถูกเริ่มใช้มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในต่างประเทศ เช่น เกาหลี และญี่ปุ่น ได้มีการใช้ IPv6 ในเครือข่าย ISP หลายแห่ง ในประเทศไทยยังไม่มีการใช้ IPv6 ในเชิงพาณิชย์ มีแต่ในเครือข่ายทดสอบของหน่วยงานวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ

หากจะถามว่าเมื่อไหร่ จึงจะต้องเริ่มใช้ IPv6 คำตอบนั้น ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในด้านต่างๆ ของผู้ใช้และผู้ให้บริการเอง ความจำเป็นประการแรกคือ การขาดแคลนหมายเลข IP address สิ่งนี้น่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับประเทศในเอเชียเช่น เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่าหมายเลข IPv4 address ที่ได้รับจัดสรรมาก สำหรับประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ความจำเป็นด้านนี้ ยังไม่สูงมากเนื่องจากยังมีหมายเลข IPv4 address เหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก

ความจำเป็นประการที่สอง ได้แก่ ความต้องการบริการหรือแอพพลิเคชั่นชนิดใหม่ ที่ต้องใช้หมายเลข IPv6 address ตัวอย่างเช่น การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Phone) หรือการใช้แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ให้บริการ การรอจนกระทั่งความจำเป็นดังกล่าวมาถึง โดยไม่ได้มีการวางแผนการปรับเปลี่ยนเครือข่ายล่วงหน้า อาจทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียโอกาสการ
แข่งขันทางธุรกิจได้
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.