User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » องค์กรขนาดใหญ่ไม่พร้อมรับมือกับ 'ข้อมูลมหาศาล'
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

องค์กรขนาดใหญ่ไม่พร้อมรับมือกับ 'ข้อมูลมหาศาล'

เอชดีเอสสำรวจพบ การขยายตัวของข้อมูลเกินการจัดการข้อมูลขององค์กรเหล่านั้นมีอยู่ ชี้การผสานรวมที่มากขึ้นและเทคโนโลยีอัจฉริยะเป็นสิ่งจำเป็น ในการพลิกปัญหาดังกล่าวให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ...

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลใน ปัจจุบัน กำลังตอบสนองความต้องการทางธุรกิจทั่วไป ขณะที่การขยายตัวของข้อมูลได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดและระบบไอทียังไม่ สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่ต้องการมุมมองเชิงลึกมากกว่าเดิมและ การจัดการข้อมูลที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของข้อมูล โดยกว่า 50% ขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ที่เข้าร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ไม่ได้มีการวางแผนหรือคาดการณ์ไว้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของ “ข้อมูลขนาดมหึมา” (Big Data) ผลการสำรวจระบุอย่างชัดเจนว่า องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำโซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงมาใช้เพื่อจัดการกับการขยาย ตัวของข้อมูล เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ในเชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การสร้าง นวัตกรรมและมุมมองใหม่ๆ ทางธุรกิจ

ผลสำรวจครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ ในรายงานของบริษัท ไอดีซี ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในชื่อ “The Changing Face of Storage: A Rethink of Strategy that Goes Beyond the Data” โดยบริษัท ไอดีซี ได้ทำการสำรวจผู้บริหารด้านไอทีจำนวน 150 ราย จากองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2554 การที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้มอบหมายให้มีการสำรวจในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยว กับกลยุทธ์และปัญหาต่างๆ ในด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล




“ผล สำรวจในระดับภูมิภาคครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความเข้าใจในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มี อยู่อย่างหลากหลาย โดยความเกี่ยวเนื่องกันของข้อมูลและการจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลนั้น ติดอันดับปัญหาทั่วไปห้าอันดับแรก ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จำเป็นที่จะต้องมีเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับข้อมูลขนาดมหึมา” ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานร่วมฝ่ายวิจัยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ประจำภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก บริษัท ไอดีซี กล่าว

“บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลและสารสนเทศจะต้องได้รับการจัดเก็บ ควบคุม และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มุมมอง และนวัตกรรมที่จะนำไปสู่มูลค่าเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน” เควิน เอกเกิลสตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวและว่า “การนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้งาน เช่น บริการคลาวด์ ไม่เพียงแต่ทำให้องค์กรขนาดใหญ่สามารถจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลได้เท่า นั้น แต่ยังช่วยในด้านการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศที่มีค่า อย่างยิ่งได้ โดยกลยุทธ์สามระดับชั้น ได้แก่ ระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา และระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไดนามิก และช่วยให้เนื้อหามีความคล่องตัวอย่างมาก ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การสร้างมุมมองที่รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเก็บไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้นอีกด้วย”

จากการสำรวจตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดพบว่า ผู้บริหารด้านไอทีส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของข้อมูล โดย 56% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ อย่างไรก็ตาม 39% ระบุว่ามีระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพิ่มขึ้น และ 36% ระบุว่าการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ เสมือนเป็นปัญหาสำคัญ แม้ว่าข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจะกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าองค์กรหลายแห่งยังคงใช้ประโยชน์ข้อมูลดังกล่าวในระดับที่ต่ำ มาก

ผู้ตอบแบบสำรวจ 67% เชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันของตนมีศักยภาพเพียงพอสำหรับ การใช้งานในอีก 12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจในจำนวนที่มากถึง 72% กลับไม่มี กลยุทธ์ที่จะจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ มัลติมีเดียขนาดใหญ่ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือ “ข้อมูลขนาดมหึมา” ในระดับหลายกิกะไบต์ชนิดอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะที่เป็นทรัพยากรด้านการ แข่งขันสำหรับทำเหมืองข้อมูลและการใช้งานอื่นๆ ทางด้านธุรกิจ นอกจากนี้ 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ยังระบุด้วยว่าองค์กรธุรกิจต้องการการวิเคราะห์เชิงลึกที่เกินกว่าขีดความ สามารถของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่พวกเขามีนั้นมีความเกี่ยวโยงกัน สามารถปรับใช้ได้อย่างทันท่วงทีและเป็นประโยชน์ จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของข้อมูลกำลังแซงหน้าความสามารถด้านการจัดการข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ

“ข้อมูลจำเป็นต้องได้รับการแบ่งปัน เปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสร้างให้เห็นภาพรวมที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะต้องสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อใช้สร้างมุมมอง ดูแนวโน้ม และใช้คาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเชิงรุก” เอกเกิลสตัน กล่าวและว่า “ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศมีศักยภาพอย่างมาก เนื่องจากสามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้อย่างอิสระ โดยไม่ยึดติดกับแอพพลิเคชั่น หรือสื่อข้อมูลใดๆ อีกทั้งยังช่วยให้การวิเคราะห์ “ข้อมูลขนาดมหึมา” สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะนำไปสู่มุมมองเชิงลึกที่มีความเกี่ยวข้องกันยิ่งกว่าเดิม ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม การวิจัยขั้นสูง ช่วยให้การทำงานร่วมกันดียิ่งขึ้น และสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้ในท้ายที่สุด”

องค์กรหลายแห่งที่ทำแบบ สำรวจระบุว่า พวกเขาได้ใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อปรับสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอยู่ให้มี ความเหมาะสมสูงสุด (48%) หรือได้เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตน (52%) ตามแนวทางที่ต้องการเพื่อจัดการกับข้อกังวลสูงสุดที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดที่แท้จริงของการตอบสนองต่อเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบจัดเก็บ ข้อมูลนั้นได้ชี้ให้เห็นว่า นี่คือสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่กำลังต้องการดำเนินการ แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ

ระบบเสมือนจริงเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำ มาใช้งานในระดับสูงสุด (ประมาณ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) ตามมาด้วยการกู้คืนระบบจากความเสียหาย (44% ) และการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย (37%) โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าได้มีการนำระบบเสมือนจริงมาใช้งานแล้วกว่า 50% สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การบีบอัดข้อมูล การจัดลำดับชั้นข้อมูล และการจัดสรรพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ (Thin Provisioning) ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย

จากการสำรวจยัง พบด้วยว่า 12% ของผู้ตอบแบบสอบถาม กำลังใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ และยังมีอีก 23% ที่ระบุว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเลือกบริการดังกล่าวเข้ามาใช้งาน ทั้งนี้ คาดว่าการนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้งานนั้นยังอยู่ในระดับเริ่มต้นและอาจมีการ ขยายตัวมากขึ้นในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า

สำหรับความกังวลสูงสุด เกี่ยวกับการนำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์เข้ามาใช้คือ เรื่องของความปลอดภัย (48%) ตามมาด้วยการสูญเสียความสามารถในการควบคุม ระดับราคา และการลาจัดการข้อมูลได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจ 34% กลับไม่มีปัญหา หรือไม่มีความกังวลเกี่ยวกับบริการคลาวด์ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่องค์กรหลายแห่งมีแผนพิจารณานำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ คลาวด์มาใช้งานในอนาคต และอาจเร็วกว่านั้นหากองค์กรในภูมิภาคแห่งนี้ตระหนักถึงข้อดีที่มีอยู่เป็น จำนวนมากของระบบคลาวด์.
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.