User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เทคโนโลยี...ช่วยได้
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เทคโนโลยี...ช่วยได้

โลกแห่งความเงียบในวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าคนหูหนวกใน พื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานครกว่า 1,200 คน ไม่ได้เผชิญอุทกภัยเพียงลำพัง เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) ปิ๊งไอเดียตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัย (TTRS-R)

TTRS-R เริ่มต้นปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ออฟฟิศชั่วคราวอยู่ที่ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด อาคารไทยซัมมิท ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บริการข้อมูลข่าวสารให้กับผู้พิการทางการได้ยิน พร้อมทั้งรับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ

ศูนย์ TTRS-R เริ่มต้นภารกิจด้วยการส่งข้อความสั้น หรือ SMS ไปยังผู้พิการทางการได้ยิน 1,200 คนในพื้นที่ประสบภัย ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ถึงการทำงานและช่องทางการติดต่อขอความช่วยเหลือ

หลังจากที่ข้อความถูกส่งออกไป มีผู้พิการเป้าหมายส่ง SMS ตอบกลับมา 442 ข้อความ ตลอดจน MMS แสดงคลิปภาษามือสั้นๆ 77 ข้อความ เพื่อบอกเล่าสถานการณ์น้ำท่วมที่ กำลังเผชิญ รวมถึงติดต่อสอบถามสถานการณ์น้ำ การเดินทาง ขั้นตอนขอรับเงินชดเชย ตลอดจนประสานขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) หรือศูนย์ช่วยเหลือในพื้นที่



โลกเงียบสู้ภัยน้ำท่วม

"คนหูหนวกที่ประสบภัยน้ำท่วมตก อยู่ในภาวะขาดข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยล่ามภาษามือ ที่นอกจากจะขาดแคลนแล้ว ปัญหาการสื่อสารด้วยการเขียนยังเป็นอุปสรรค เนื่องจากความแตกต่างของไวยากรณ์ระหว่างภาษามือกับภาษาเขียน ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างยากลำบาก" ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้คนพิการควร ได้รับสิทธิการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป แต่ต้องยอมรับว่าการสื่อสารผ่านล่ามภาษามือมีส่วนสำคัญมาก แต่ก็มีจำนวนจำกัด ฉะนั้น ล่ามที่ให้บริการในรูปแบบวีดิโอคอลล์เซ็นเตอร์ จึงช่วยลดข้อจำกัดได้มาก โดยล่ามภาษามือวีดิโอคอลล์เซ็นเตอร์ 1 คนสามารถให้บริการผู้พิการได้ถึง 18 คน

อีกทั้งอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ที่ออกแบบพิเศษเพื่อผู้พิการให้ใช้งานง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ช่วยให้การเข้าถึงล่ามทางไกลไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

พิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ความตั้งใจของศูนย์ TTRS-R คือ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับผู้พิการทางการได้ยินในรูปแบบหน่วยงานรับเรื่อง ร้องทุกข์ โดยนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยเสริม ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งเตือนผ่าน SMS โต้ตอบด้วยภาษามือ ผ่านข้อความภาพ หรือ MMS ผ่านหมายเลข 08-8504-4258 ตลอดจนวีดิโอคอลล์ และการสนทนาโต้ตอบหรือ Chat ผ่านเว็บไซต์ www.ttrs.or.th และโทรศัพท์หมายเลข 02-105-6600

ไม่พลาดทุกการติดต่อ

พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) กล่าวเสริมว่า นอกจากอุปกรณ์สื่อสารที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้พิการแล้ว สำหรับสถานการณ์เฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบภัยน้ำท่วม เนคเทคเข้า มามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจงเป็นรายบุคคล กระชับเฉพาะพื้นที่ โดยดูจากตำแหน่ง GPS เป็นหลัก

"ระบบ TTRS-R พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในคอลล์เซ็นเตอร์เพื่อคนหูหนวกนี้ ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารแบบรีเรย์ข้อมูลสำหรับผู้พิการ ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบหลังบ้านเพื่อจัดการข้อมูล เชื่อมต่อประสานงานไปยังศูนย์อื่น ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลให้ความช่วยเหลือได้ตรงความต้องการ ที่สำคัญต้องตอบกลับได้ทันที" พันธ์ศักดิ์อธิบาย

ทีมวิจัยเนคเทคยัง ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟน เพื่อใช้ระบุตำแหน่ง ความต้องการช่วยเหลือ ส่งตรงเข้ามายังฐานข้อมูลอัตโนมัติ ด้วยระบบแผนที่อัพเดท สามารถระบุพิกัดที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำ

ผู้อำนวยการเนคเทค ยังมองถึง การใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่เฉพาะกิจใช้ในการแจ้งเตือนภัยในภาวะฉุกเฉิน มีระบบเตือนภัยได้อย่างแม่นยำ บนข้อมูลที่เป็นจริง สามารถแจ้งเตือนได้ในระดับหนึ่ง

เนคเทคยัง พร้อมที่จะเดินหน้าปรับทิศทางการวิจัย เพื่อช่วยให้ผู้พิการสามารถดำรงชีวิตภายใต้สภาวะฉุกเฉิน ได้เท่าเทียมกับคนปกติให้ได้มากที่สุด
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.