User Online ( 12 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ETDA เผยคนไทยติดเน็ต 7 ชั่วโมงต่อวัน 80% หลงโซเชียลมีเดีย
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ETDA เผยคนไทยติดเน็ต 7 ชั่วโมงต่อวัน 80% หลงโซเชียลมีเดีย

ETDA เผยพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 57 คนไทยติดโลกออนไลน์วันละกว่า 7 ชั่วโมง เน้นใช้คุยออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียเกือบ 80% ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเช็ก แชร์ และโชว์ ระบุอาจส่งผลเสี่ยงต่อความปลอดภัยสูง เหตุอุปกรณ์มากกว่าครึ่งไม่ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส ชี้เพศที่สามมาแรงใช้เน็ตกระจาย

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 ที่จัดทำโดย ETDA ล่าสุดพบว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานโดยเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมงต่อวัน ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ย 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรือคนใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังพบว่า “กลุ่มเพศที่สาม” มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูงเกือบทั้งวัน เฉลี่ยสูงถึง 6.6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนการใช้งาน “สมาร์ททีวี” ในยุคทีวีดิจิตอลระยะเริ่มต้น พบว่า 8.4% ของผู้ตอบมีการใช้อุปกรณ์นี้ และกลุ่มผู้ใช้งานมีการใช้งานเฉลี่ย 3.4 ชั่วโมงต่อวัน

ขณะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยวัตถุประสงค์ด้านความบันเทิง และการติดต่อสื่อสาร โดยกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ใช้เพื่อการพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 78.2% อันดับ 2 ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 57.6% และอันดับ 3 ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 56.5% ด้านผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ หรือใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1 ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล 82.6% อันดับ 2 ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล และอ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 73.3% และอันดับ 3 ใช้เพื่ออ่านข่าว/อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 63.8%

ข้อสังเกตจากการสำรวจครั้งนี้คือ กลุ่มเพศที่สาม เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในหลายกิจกรรม ได้แก่ การใช้งานสังคมเครือข่ายออนไลน์ 85.6% การอ่านติดตามข่าวสารและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 64.7% การซื้อขายสินค้าและบริการ 39.1% ในขณะที่ กลุ่มเพศหญิง เล่นเกมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ 52.6%

นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจข้อมูลด้าน “พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่สุ่มเสี่ยง” และ “พฤติกรรมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สุ่มเสี่ยง” อีกด้วย ด้วยกระแสสังคมออนไลน์ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงจากการพูดคุยกันมาเป็นการเช็ก แชร์ และโชว์ โดย “เช็ก” คือ การเช็กอินผ่าน Facebook เพื่อบอกให้คนในกลุ่มสนทนาออนไลน์รู้ว่า ตอนนี้ตนทำอะไรอยู่ที่ไหน ส่วน “แชร์” คือ การโพสต์ หรือแชร์ภาพที่เป็นส่วนตัวในสถานะสาธารณะ เพื่อให้มีคนติดตาม หรือเพื่อดึงดูดความสนใจจากโลกสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะตอนนี้ที่วัยรุ่นไทยชอบถ่ายรูปตัวเอง หรือที่ฮิตติดปากกันในขณะนี้ว่า เซลฟี่ (Selfie) ส่วน “โชว์” คือ การเซตสถานภาพของตนเองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นสาธารณะ เพื่อที่ว่าใครที่สนใจจะเข้ามาเป็นเพื่อนกับตน ก็สามารถเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ทุกคน

จากผลการสำรวจ พบว่า กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น เป็น 3 กิจกรรมสุดฮิตในตอนนี้ โดยเฉพาะเพศที่สามจะมีสัดส่วนการทำกิจกรรมดังกล่าวสูงกว่าเพศชายและหญิง ในขณะที่คนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จะมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของการแชร์ภาพ/ข้อความที่อาจจะไม่เหมาะสม โดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลและแหล่งที่มาก่อน

ส่วนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จากผลการสำรวจ พบว่า มีคนซื้อของผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตพีซี เพียง 38.8% และมีคนทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพียง 29.8% เท่านั้น

พฤติกรรมที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงคือ คนซื้อของแพง ชอบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ส่วนคนซื้อของถูก ชอบโอนเงินผ่านธนาคารมากกว่า ในขณะที่คนชอบโอนเงินมูลค่ามากกว่า 50,000 บาท จะทำธุรกรรมผ่านมือถือ โดยเข้าผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคารมากกว่าการเข้าแอปพลิเคชัน พฤติกรรมเช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้บอกเลขที่บัตรเครดิต หรือเลขที่บัญชีธนาคารผ่านเว็บไซต์ที่ทำเลียนแบบ หรือที่เรียกว่า Phishing

ส่วนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น การละเลยไม่ติดตั้งโปรแกรม Anti-virus มีคนตอบว่าไม่ทำ สูงถึง 51.1% ส่วนคนที่เลิกใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ไม่ล้างข้อมูลออกจากเครื่อง มีผู้ตอบ 37.1% และละเลยไม่กำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานเครื่องมีเพียง 25% เท่านั้น
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.