User Online ( 9 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » สมาคมธุรกิจอินเทอร์เน็ตไทยเชื่อ 4G มาสารพัดประโยชน์ มั่นใจ กสทช.ทำให้เกิดได้
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

สมาคมธุรกิจอินเทอร์เน็ตไทยเชื่อ 4G มาสารพัดประโยชน์ มั่นใจ กสทช.ทำให้เกิดได้

สมาคมธุรกิจอินเทอร์เน็ตไทย (ATII) เห็นพ้องไทยควรมี 4G เพื่อกระตุ้นภาพรวมทั้งเศรษฐกิจ และสังคม ด้าน กทค. ย้ำต้องมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน พร้อมเตรียมร่างแก้ไขฯ เสนอ สนช.แล้ว

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายในงานสัมมนาทางวิชาการ “การสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 4G เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในหัวข้อโทรคมไทยในกระแสโลก ว่า ประเทศไทยตอนนี้ถือว่ามีการให้บริการ 4G แล้ว จากคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ประมูลไปเมื่อปีกว่าๆที่ผ่านมา คลื่นความถี่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นเหมือนถนนที่จะนำรถใดมาวิ่งก็ได้ ก็เปรียบเหมือนสามารถนำเทคโนโลยีใดมาใช้บนคลื่นความถี่ก็ได้

“เทคโนโลยีที่เห็นในปัจจุบันถือเป็นจุดเริ่มต้นเพียงเท่านั้น แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีก จากปัจจุบันผู้ผลิตให้ความสำคัญต่อตัวอุปกรณ์ แต่ในอนาคตอุปกรณ์จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่กระจายไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้าง และหาซื้อได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ คอนเทนต์ หรือซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์มากกว่า”

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวเสริมว่า ด้วยการให้บริการ 3G ในประเทศไทยตอนนี้ขอให้มั่นใจว่าอัตราการให้บริการ และความเสถียรในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐานแล้ว เพียงแต่ในบางจุดก็ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง

พร้อมให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 47 ที่กำหนดว่า คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง จัดสรรคลื่น และกำกับการประกอบกิจการ เพื่อการจัดสรรคลื่นและกำกับดูแลต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทำให้ต้องมองถึงการแข่งขันในระยะยาวมากกว่าเพียงแค่การเปิดประมูลใบอนุญาต

“ด้วยกฎหมายที่กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการจัดสรรคลื่นความถี่ ถ้าสมมติเหลือโอเปอเรเตอร์รายเดียวที่ไม่มีคลื่นความถี่ และทาง กสทช.เหลือคลื่นความถี่อีก 1 ใบอนุญาต จะเกิดการประมูลได้อย่างไร เมื่อจะแก้กฎหมายให้ครอบคลุมก็โดนขวางทำให้ กสทช. ไม่มีอำนาจหน้าที่เพียงพอ”

ในขณะที่จากประกาศของ คสช. แสดงให้เห็นว่า ประกาศห้ามซิมดับ ที่ออกมากำกับดูแลผู้ให้บริการก่อนหน้านี้ของ กสทช. ถือว่าทำถูกต้องแล้ว เพราะที่ผ่านมากฎหมายไม่ได้เขียนระบุไว้ชัดเจน จึงอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องขึ้นได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรเกิดขึ้นในเร็ววันคือ การปรับปรุงกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) เพราะเมื่อมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เปรียบเหมือนเป็นเสียงสวรรค์ที่จะเข้ามาแก้ไขสิ่งที่มีปัญหา

“การแก้ไขกฏหมายแบบเร่งด่วนที่สุดคือ การแก้เล็กเฉพาะมาตรา 45 และ มาตรา 46 เพื่อให้สอดคล้องต่อจุดประสงค์หลักของรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน ระบบก็จะสามารถเดินไปได้โดยเร็ว และการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่ ก็จะไม่ติดล็อกกับวิธีการประมูลคลื่นเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งคือการรื้อ พ.ร.บ.กสทช. ที่ปัจจุบันมีอนุกรรมการปรับปรุงกฎกติกาเตรียมร่างฯ ไว้เสนอ สนช. แล้ว”

ขณะเดียวกัน ภายในงานสัมมนาดังกล่าว ได้มีการพูดถึงโอกาสทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 4G จาก ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกอาวุโสตลอดชีพ สมาคมธุรกิจอินเทอร์เน็ตไทย ที่ระบุว่า เมื่อเทคโนโลยี 4G เข้ามาให้บริการในประเทศอย่างครอบคลุมจะสร้างโอกาสทางธุรกิจในหลายๆด้าน จากความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นจากไวไฟ หรือ 3G ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน 5-7 เท่า

โดยประโยชน์หลักๆ จากการใช้งานเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ คือ จะช่วยยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมทั้งภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลของคนในสังคม และสามารถนำมาพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับระบบวิทยุสื่อสารในเหตุการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติระดับชาติได้

พร้อมยกตัวอย่างถึงการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ครั้งที่ผ่านมาว่า ช่วยสร้างรายได้ภาพรวมให้แก่ประเทศมากมาย ทั้งทางตรงจากการประมูล 4.1 หมื่นล้านบาทเข้าสู่รายได้ประเทศ และรายได้กว่า 3 พันล้านบาทต่อปีเป็นค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (ราว 5.75% ของรายได้ผู้ให้บริการเครือข่าย) และทางอ้อม ในการลงทุนเครือข่าย 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี, กว่า 6 หมื่นล้านบาทจากมูลค่าของตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2014, 1.5 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าการใช้งานผ่านมือถือ, 2 พันล้านบาท จากบริการดาต้าเซ็นเตอร์ และ 1 พันล้านบาท ที่เป็นเม็ดเงินโฆษณาผ่านมือถือ
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.