User Online ( 9 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เปิดอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ วิชั่น-มิสชั่น (3G) และไอโฟนร้อน
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เปิดอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ วิชั่น-มิสชั่น (3G) และไอโฟนร้อน

ด้วย ว่ามีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง ซึ่งมีมูลค่ารวมกันนับแสนล้านบาท มีหลายต่อหลายเรื่องคาราคาซังรอการปลดล็อกจาก "กสทช." จึงไม่แปลกที่สังคมจะจับตาและจ้องตรวจสอบการทำงานของ "กสทช." ชุดปัจจุบันแทบจะทุกย่างก้าว

4 เดือนอาจเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น หากจะถามถึง "ผลงาน" แต่นับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ประเด็นร้อน ๆ ที่กระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นมีเข้ามาไม่ขาดสาย ล่าสุดกับกรณีบิ๊ก

บริษัท มือถือชื่อดังหิ้ว "ไอโฟน" แจกบิ๊ก "กสทช." รายตัว มากกว่าคำปฏิเสธหรือการชี้แจงรายบุคคล หลายฝ่ายถามถึงมาตรฐานจริยธรรม และหลักปฏิบัติในการทำงาน

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" กรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) หลากหลายแง่มุม ดังต่อไปนี้

- มีจุดยืนกรณีไอโฟนอย่างไร

คน ที่จะมารับตำแหน่งพวกนี้ ต้องรู้อยู่แล้ว อะไรรับได้ รับไม่ได้ โดยส่วนตัว ถ้ามาเป็นกล่อง มองไม่เห็นว่าข้างในเป็นอะไร ก็จะไม่รับไว้ก่อน เพราะเสี่ยงโดนถอดถอนแน่ ๆ โต ๆ กันแล้ว น่าจะรู้ แต่ในส่วนของที่เอามาให้องค์กร โดยบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลของ กสทช. เห็นมีคนไปถามไว้ในเว็บไชต์ อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ ตอบว่า ถ้าให้องค์กรแล้ว กสทช.นำมาจับสลาก ถือเป็นเรื่องการรับบริจาคทรัพย์สินให้องค์กร ไม่ใช่ตัวบุคคล ก็จบกันไปเชื่อว่ากรรมการทุกคนรู้ ว่าต้องระวังตัวให้มากขึ้น

- จำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติทางจริยธรรมใหม่มีอยู่แล้ว เป็นของเดิมที่ กทช.เคยทำไว้ ตอนนี้ก็คงจะย้ำเพื่อให้สื่อได้ยินอีกรอบ ซึ่งที่ผ่านมา ในการปฏิบัติที่ต้องเกี่ยวข้องกับโอเปอเรเตอร์แต่ละราย เราก็มีการวางตำแหน่งวางกรอบไว้แล้ว ว่าต้องวางตัวกันอย่างไร การจะให้เข้าพบ ก็ต้องทำอย่างเปิดเผย ถือเป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่วางกันไว้เรื่องจะต้องมีแนวปฏิบัติมาแปะไว้ ต่อให้ทำเป็นป้ายใหญ่ติดโชว์ไว้ ก็คงไม่ได้

ช่วยอะไรมาก เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว ไม่ต้องถึงขั้นทำเป็นเอกสารขนาดนั้น อยู่ที่สำนึกมากกว่า

- สังคมจับจ้องตั้งแต่เรื่องรถประจำตำแหน่งจะเอาทุกอย่างมารวมกันกับเรื่อง จริยธรรมไม่ได้ เรื่องรถประจำตำแหน่ง เป็นไปตามกฎเกณฑ์ เรียกว่า มาโดยกฎระเบียบถูกต้อง เรื่องไอโฟนกับ

เรื่องรถ ก็เป็นเรื่องของกฎระเบียบ กฎหมาย ที่วางกรอบห้ามไว้ ไม่ใช่เรื่องจริยธรรม เพราะถ้าเป็นเรื่องจริยธรรม ต้องไม่ผิดกฎ แต่ไม่ควรกระทำ อย่างการกินข้าวกับโอเปอเรเตอร์ตามงานต่าง ๆ ถ้าทำอย่างเปิดเผย ไม่ได้มีนอกมีใน ก็ไม่ผิดกฎ และไม่ผิดจริยธรรม แต่ถ้าไปแอบ ๆ ซ่อน ๆ งุบงิบคุยเรื่องผลประโยชน์กัน เรียกว่า ผิดจริยธรรม กรณีไอโฟน ถ้ารับ ก็ผิดกฎหมายอยู่แล้ว

ฉะนั้น แต่ละประเด็นต้องมีสติในการคิดแยกแยะ ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะย่ำอยู่แบบนี้ มัวแต่จับผิด

- มีกรณียกขบวนไปต่างประเทศด้วย

แล้ว เคยถามกันบ้างไหม ว่าไปทำไม ไปแล้วได้อะไรมาบ้าง ต้องดูกันที่เนื้อหา ที่ไปสเปน ก็ไปหาความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ความรู้ใหม่มาบริหารจัดการเรื่องคลื่นความถี่ที่กำลังจะหมดสัมปทาน ทำให้ได้รู้ว่า คลื่นที่ทรูมูฟกับดีพีซีใช้อยู่ 12.5 MHz พอทำ LTE ไปฟังบรรยายความรู้ใหม่ ๆ ทำไมสังคมไม่ถามเรื่องนี้ แต่ทำเหมือนเป็นสังคมอิจฉาตาร้อน เมื่อตั้งให้มาดำรงตำแหน่งแล้ว ก็ควรให้ทำงานให้เต็มที่

- ประชาชนยังไม่เห็นผลงาน

ก็ ต้องดูว่า เราทำอะไรไปแล้วบ้าง เพิ่งเข้ามา 3-4 เดือน ไม่ใช่เทวดา จะได้ทำทุกอย่างให้เลิศหรูได้หมด ก็พยายามทำเต็มที่ อะไรที่กฎหมายระบุให้ต้องทำให้เสร็จตามกรอบเวลา ก็เร่งให้ทุกอย่างเร็ว อย่างร่างแผนแม่บทหลักทั้ง 3 แผน ก็เดินหน้ามาได้ถึงขั้นที่จะเอาเข้าบอร์ดใหญ่ให้พิจารณาก่อนจะประกาศใช้แล้ว แต่บางเรื่องต้องเข้าใจ ว่ากฎหมายระบุขั้นตอนให้ต้องทำตามลำดับ ก็ต้องไล่ ๆ กันไป ไม่ได้อยู่เฉย ๆ

เรื่องคุณภาพบริการแย่จริง ก็ยอมรับ

เร่งให้แต่ละค่ายไปปรับปรุงอยู่ เขาก็รับปากว่าจะเร่งปรับปรุงสถานีฐานให้ดีขึ้น หรือเรื่องขยายจุดบริการและเพิ่มโควตา

นัมเบอร์ พอร์ต (คงสิทธิเลขหมาย) ก็กำชับไปแล้ว เอกชนบอกว่ากำลังจะอัพเกรดซอฟต์แวร์ เพื่อเชื่อมต่อระบบให้มากขึ้น ก็ต้องให้เวลาเขา ทุกอย่างไม่ได้เสกได้ในนาทีเดียว

แค่ 4 เดือน คงไม่สามารถทำให้ทุกคนแฮปปี้ได้หมด ต้องเข้าใจในข้อจำกัดของเราด้วย เวลาออกประกาศ หรือจะทำอะไร เอกชนก็วิ่งไปฟ้องศาล เวลาศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว เราก็ไปทำอะไรไม่ได้ เคยมองดูกันบ้างไหม ว่าทำไม่ได้ เพราะอะไร ระบบเป็นแบบนี้ ก็ต้องยอมรับ

- ประนีประนอมกับเอกชนมากไป

ไม่ ใช่ ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการปรับปรุง โอเปอเรเตอร์ทำ เขาก็ได้ประโยชน์ด้วย อย่างเรื่องนัมเบอร์พอร์ต แต่ละค่ายรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ต้องปรับปรุง เพื่อรับการประมูล 3G รวมถึงการหมดสัมปทานของทรูมูฟและดีพีซีปีหน้า ซึ่งจะต้องมีลูกค้าย้ายค่ายมหาศาล จะปล่อยให้ระบบเป็นแบบนี้ไม่ได้ ทุกค่ายก็กระตือรือร้นที่จะพัฒนา แม้แต่เอไอเอส ที่คนมองว่าอาจเสียประโยชน์ เท่าที่คุยกัน เขาก็เชื่อว่าเขาทำ มีแต่ได้ ไม่มีเสียการกำกับให้แต่ละค่ายอัพเกรดระบบให้ดีขึ้น ผมไม่ได้นั่งรอฟังรายงานจากโอเปอเรเตอร์อย่างเดียว ได้เช็กข้อมูลจากทางเวนเดอร์แต่ละรายด้วย ว่าซื้อไปจริงไหม อัพเกรดไปถึงไหนแล้ว เท่าที่ดู ใช้เวลาอีกไม่นาน

- ยังยืนยันประมูล 3G ไตรมาส 3

ทุกอย่าง ยังเดินได้ตามกรอบเวลา 3G จะไม่เกิด ถ้าประชาชนและสื่อมวลชนไม่เข้าใจในสิ่งที่ กสทช.ทำ และจะถือเป็นวิกฤตสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกครั้งหนึ่ง

- ถ้าทำไม่ได้ไตรมาส 3 ถึงขั้นเสียคน

ไม่ ต้องบอกก็รู้ แต่ถ้ามันจะเสียคน ก็ต้องดูว่า เป็นเพราะผมหรือเปล่า มีกลไกอะไร ที่ทำให้เดินไม่ได้เหมือนคราวก่อนหรือเปล่า ต้องดูด้วย แม้จะพยายามปิดช่องไว้แล้วก็ตาม

- กสทช.แบ่งก๊กจริง

ทุก คนมีที่มาคนละทิศคนละทาง การทำงานกับคนมากเท่านี้ อย่างไรก็ต้องมีความเห็นที่แตกต่าง เป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่ใช่สิ น่ากลัว เพราะเท่ากับฮั้วกันไปหมด แต่ทั้ง 11 คนยังทำงานกันได้ต่อไป โดยส่วนตัวเคยสัญญาประชาคมไว้อย่างไร ก็ยังทำได้อยู่

แต่เป็นห่วงคือ เรื่องการทำงานแบบไม่ให้เกียรติกัน และไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นใครมากกว่า ณ เวลานี้ เมื่อเราเป็นผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมนี้ ก็ต้องสร้างกลไกที่เหมาะสมในการพัฒนา ซึ่งถ้าเสียงส่วนใหญ่ยังทำงานกันอยู่ ทุกอย่างก็ยังเดินต่อไปได้ ย้ำว่า เมื่อตั้งให้มาแล้ว ก็ควรจะให้ทำงานให้เต็มที่
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.